เมนู

อรรถกถาฐิตกัปปีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ฐิตกัปปีบุคคล. 1กัปตั้งอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ฐิตกปฺโป. กัปตั้งอยู่ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า
ฐิตกปฺโป แปลว่า ผู้มีกัปอันตั้งอยู่. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เพื่อจะให้กัป
ดำรงอยู่ได้.
คำว่า ฑยฺหนเวลา อสฺสาติ ฌายนกาโล ภเวยย เวลาเป็นที่.
ไหม้ของกัปนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงชื่อว่า ฌายนกาโล แปลว่า มีกาล
เป็นที่ไหม้. คำว่า "เนว ตาว" ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนี้
(มคฺคสมงฺคีปุคฺคโล) ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผลเพียงใด กัปก็ยัง
ไม่ถูกไฟไหม้เพียงนั้น แม้กัปกำลังไหม้อยู่ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนั้น
ไม่ไหม้เลย พึงดำรงอยู่ได้. จริงอยู่ขึ้นชื่อว่ากัปวินาศเป็นวิกาลใหญ่ เป็น
มหาปโยคะ เป็นมหาโลกวินาศ ด้วยสามารถแห่งการไหม้ตลอดแสนโกฏิจักรวาล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาวินาศนี้ พึงปรากฏอยู่อย่างนี้ทีเดียว แต่เมื่อพระ
ศาสนายังทรงอยู่ ชื่อว่า กัปวินาศก็ยังไม่มี ทั้งศาสนาก็ย่อมไม่มีในเวลาที่กัปพินาศ.
แต่ชื่อว่ากัปวินาศ ย่อมมีในเวลาอันถึงที่สุดแล้ว. แม้เมื่อความเป็นอย่างนั้น

1. มหากัปหนึ่ง มีอายุเท่ากับ 256 อันตรกัป
อสังขัยกัปหนึ่ง เท่ากับ 1 ใน 4 ของมหากัป. ท่านแบ่งมหากัปออกเป็น 4 ภาค คือ
ก. สังวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังถูกทำลาย ข. สังวัฏฏฐายีอสังชัยกัป ได้แก่ โลกที่ถูก
ทำลายเสร็จแล้ว ค. วิวัฏฏอสังขัยกัป ได้แก่ โลกที่กำลังก่อสร้าง ฆ. วิรัฏฎฐายีอสังขัยกัป ได้
แก่ โลกที่สร้างเสร็จแล้ว
อันตรกัป ได้แก่ ระยะเวลาที่ท่านประมาณไว้ดังนี้ คือ เมื่อมนุษย์มีอายุอยู่ถึง 1 อสังขัยปี
แล้วก็ลดลงนา คือ ร้อยปีลดหนึ่งปี จนถึง 10 ปี และกลับทับทวีเพิ่มขึ้นไปทุกชั่วระยะชีวิต จนถึง
1 อสังขัยปีอีก จึงนับเป็นอันตรกัปหนึ่ง 64 อันตรกัปจึงเป็นอสังขัยกัปหนึ่ง. อนึ่ง ขัยอายุของ
มนุษย์ที่ลดลงและเพิ่มขึ้นระยะนั้น เรียกว่า อายุกัป.

พระศาสดาทรงนำเหตุนี้มาเพื่อจะแสดงความไม่มีอันตราย. แม้เหตุนี้จะพึงมี
แต่อันตรายทั้งหลายแห่งผลจิตของมรรคบุคคล อันอะไร ๆ ก็ไม่อาจจะกระทำ
ได้ดังนี้. ถามว่า ก็บุคคลนี้แม้ให้กัปตั้งอยู่ได้ พึงตั้งอยู่ตลอดกาลมีประมาณ
เท่าไร. ตอบว่า การออกจากมรรคย่อมมีในวาระใด ท่านก็พึงตั้งอยู่ตลอดกาล
มีประมาณเท่านั้น.
คำว่า "อถ ภวงฺคํ อาวชฺเชนฺตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ อุปฺปชฺชติ
ตโต ตีณิ อนุโลมานิ เอกํ โคตฺรภูจิตฺตํ เอกํ มคฺคจิตฺตํ เทฺว ผล-
จิตฺตานิ ปญฺจ ปจฺจเวกฺขณญาณานิ"
อธิบายว่า เมื่อภวังคจิตดับแล้ว
มโนทวาราวัชชนจิตก็พิจารณา ต่อจากนั้น อนุโลมญาณก็เกิดขึ้น 3 ขณะ
โคตรภูจิตเกิดขึ้น 1 ขณะ มรรคจิตเกิดขึ้น 1 ขณะ ผลจิตเกิดขึ้น 2 ขณะ
ปัจจเวกขณญาณเกิดขึ้น 5 ครั้ง บุคคลนี้ พึงตั้งอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.
อนึ่ง เพื่อจะแสดงเนื้อความนี้ด้วยข้ออุปมาที่มีในภายนอก พระ-
อาจารย์ทั้งหลาย ท่านแสดงเรื่องนี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ก็ถ้าบุคคลพึงเอาเชือก 3 เกลียว ผูกแท่งศิลาหนาทึบเป็นอันเดียวกัน
มีประมาณโยชน์หนึ่ง ห้อยไว้บนศีรษะของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติ-
มรรค เมื่อเชือกเกลียวหนึ่งขาดแล้ว แท่งศิลาก็ยังห้อยอยู่ด้วยเชือก 2 เกลียว
เมื่อเกลียวที่สองขาดแล้ว ก็ยังห้อยอยู่ด้วยเชือกเพียงเกลียวเดียว ครั้นเชือกเกลียว
เดียวนั้นขาแล้ว แท่งศิลานั้นก็ลอยอยู่บนอากาศเหมือนความหลอกลวงของ
ก้อนเมฆลอยอยู่ ศิลานั้นหาได้ทำอันตรายแก่บุคคลผู้มีมัคคานันตระ คือ ผู้ไม่
มีอะไรคั่นระหว่างมรรคกับผลนั้นไม่. การแสดงนี้เป็นการแสดงเพียงเล็กน้อย
การแสดงครั้งก่อนนั่นแหละเป็นการแสดงใหญ่. ก็บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-

มรรคเท่านั้น ชื่อว่า ตั้งอยู่ตลอดกัปอย่างเดียวก็หาไม่ แม้ผู้ถึงพร้องด้วยมรรค
นอกจากนี้ก็ตั้งอยู่ตลอดกัปเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ทรงชักเอาบุคคลที่พระองค์ทรงถือเอาและไม่ทรงถือเอาหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่
แบบแผนนี้ พร้อมกับปิฏฐิวัฏฏกบุคคลทั้งหลาย. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรค
แม้ทั้งหมด ชื่อว่า ฐิิิิตกัปปี ผู้ตั้งอยู่ตลอดกัป ดังนี้.
จบอรรถกถาฐิตกัปปีบุคคล

[34]

อริยบุคคล

บุคคลผู้เป็นอริยะ เป็นไฉน ?

พระอริยบุคคล 8 เป็นอริยะ. บุคคลนอกนั้น ไม่ใช่อริยะ.

อรรถกถาอริยบุคคล


วินิจฉัย ในนิเทศแห่งพระอริยบุคคล. ชื่อว่า อริยะ เพราะเป็น
ผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า อริยะ เพราะประเสริฐกว่าโลกพร้อมทั้งเทว-
โลก. บุคคลผู้มีความบริสุทธิ์เป็นอรรถ ชื่อว่า อรรถแห่งอริยะ เพราะฉะนั้น
แม้เพราะอรรถว่า เป็นผู้บริสุทธิ์จึงชื่อว่า อริยะ. เหล่าชนทั้งหลายที่เหลือไม่
ชื่อว่า อริยะ เพราะความเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์.
จบอรรถกถาอริยบุคคล