เมนู

อรรถกถาภยูปรตบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งภยูปรตบุคคล. บุคคลใดงดเว้นความชั่วเพราะ
ความกลัว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ภยูปรโต ผู้งดเว้นความชั่ว
เพราะความกลัว.
อธิบายว่า ก็พระเสกขบุคคล 7 พวก กับ ปุถุชนทั้งหลาย
ผู้มีศีล กลัวแล้วย่อมงดเว้นจากบาป คือ ไม่กระทำบาป.
บรรดาพระอริยะและปุถุชนทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย 4 อย่างคือ
1. ทุคคติภัย
2. วัฏฏภัย
3. กิเลสภัย
4. อุปวาทภัย

ในภัยเหล่านั้น ภัย คือ การไปสู่คติชั่ว ชื่อว่า ทุคคติภัย เพราะอรรถ
ว่า อันบุคคลพึงกลัว. แม้ในภัยทั้ง 3 ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในท่านเหล่า
นั้นปุถุชนกลัวทุคคติภัยด้วยคิดว่า ถ้าท่านจักทำบาปไซร้ อบายทั้ง 4 จักเป็น
เช่นกับงูเหลือม กำลังหิวกระหายอ้าปากคอยท่าอยู่ ท่านเมื่อเสวยทุกข์อยู่
ในอบายเหล่านั้นจักทำอย่างไร ? จึงไม่ทำบาป. ก็สังสารวัฏมีเบื้องต้นและที่สุด
อันรู้มิได้นั่นแหละ ชื่อว่า วัฏฏภัย. อกุศลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า กิเลสภัย.
การติเตียน ชื่อว่า อุปวาทภัย.
ปุถุชนกลัวภัยเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำบาป แต่พระเสกขะ 3 จำพวก
คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ทั้ง 3 นี้ล่วงพ้นจากทุคคติภัย
ได้แล้ว จึงยังกลัวภัยทั้ง 3 ที่เหลืออยู่ ย่อมไม่การทำบาป. พระเสกขะผู้ตั้งอยู่
ในมรรค ชื่อว่า ผู้งดเว้นจากภัย ด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ หรือเพราะความ
เป็นผู้ตัดภัยยังไม่ขาด.

พระขีณาสพ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล ท่านไม่กลัวภัยแม้สักอย่างหนึ่ง
ในภัยทั้ง 4 เหล่านั้น. จริงอยู่ พระขีณาสพ ท่านตัดภัยได้ขาดแล้ว เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อภยูปรโต" ผู้งดเว้นความชั่วมิใช่
เพราะความกลัวภัย.

ถามว่า ท่านก็ย่อมไม่กลัวแม้แต่ อุปวาทภัย ภัยคือการติเตียนหรือ ?
ตอบว่า ไม่กลัว แต่ไม่ควรกล่าวว่า ท่านรักษาอุปวาทภัย ข้อนี้
บัณฑิตพึงเห็นเหมือนพระขีณาสพเถระในบ้านโทณุปปลวาปี เป็นตัวอย่าง.
จบอรรถกถาภยูปรตบุคคล และ อภยูปรตบุคคล

[28]

อภัพพาคมนบุคคล

บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรค
ผลเป็นไฉน ?

บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบ
ด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่
ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า
อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.
[29]

ภัพพาคมนบุคคล

บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล
เป็นไฉน ?

บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่
ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็น
ผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า
ภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล.