เมนู

[26]

โคตรภูบุคคล

บุคคลผู้มีโคตรภูญาณ เป็นไฉน ?

ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า โคตรภูบุคคล.

อรรถกถาโคตรภูบุคคล


วินิจฉัย ในนิเทศแห่งโคตรภูบุคคล. ของบทว่า "เยสํ ธมฺมานํ"
ได้แก่กุศลธรรมเกิน 50 ที่เกิดขึ้นพร้อมกับโคตรภูญาณเหล่าใด. บทว่า
"อริยธมฺมสฺส" ได้แก่ โลกุตตรมรรค. สองบทว่า "อวกฺกนฺติ โหติ"
ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือบังเกิด ปรากฏ. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า
บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า โคตรภูบุคคล เพราะก้าวล่วงญาณ
ของปุถุชน โคตรของปุถุชน มณฑลของปุถุชน และบัญญัติของปุถุชนทั้งปวง
แล้วจึงก้าวลงสู่ญาณของพระอริยะ โคตรของพระอริยะ มณฑลของพระอริยะ
บัญญัติของพระอริยะได้ ด้วยญาณอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาโคตรภูบุคคล

[27]

ภยูปรตบุคคล

บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน ?

พระเสขะ 7 จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่า ภยูปรตบุคคล
บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว
พระอรหันต์ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล บุคคล
มิใช่ผู้งดเว้นเพราะกลัว.

อรรถกถาภยูปรตบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งภยูปรตบุคคล. บุคคลใดงดเว้นความชั่วเพราะ
ความกลัว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ภยูปรโต ผู้งดเว้นความชั่ว
เพราะความกลัว.
อธิบายว่า ก็พระเสกขบุคคล 7 พวก กับ ปุถุชนทั้งหลาย
ผู้มีศีล กลัวแล้วย่อมงดเว้นจากบาป คือ ไม่กระทำบาป.
บรรดาพระอริยะและปุถุชนทั้งหลาย ย่อมกลัวภัย 4 อย่างคือ
1. ทุคคติภัย
2. วัฏฏภัย
3. กิเลสภัย
4. อุปวาทภัย

ในภัยเหล่านั้น ภัย คือ การไปสู่คติชั่ว ชื่อว่า ทุคคติภัย เพราะอรรถ
ว่า อันบุคคลพึงกลัว. แม้ในภัยทั้ง 3 ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในท่านเหล่า
นั้นปุถุชนกลัวทุคคติภัยด้วยคิดว่า ถ้าท่านจักทำบาปไซร้ อบายทั้ง 4 จักเป็น
เช่นกับงูเหลือม กำลังหิวกระหายอ้าปากคอยท่าอยู่ ท่านเมื่อเสวยทุกข์อยู่
ในอบายเหล่านั้นจักทำอย่างไร ? จึงไม่ทำบาป. ก็สังสารวัฏมีเบื้องต้นและที่สุด
อันรู้มิได้นั่นแหละ ชื่อว่า วัฏฏภัย. อกุศลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า กิเลสภัย.
การติเตียน ชื่อว่า อุปวาทภัย.
ปุถุชนกลัวภัยเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำบาป แต่พระเสกขะ 3 จำพวก
คือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ทั้ง 3 นี้ล่วงพ้นจากทุคคติภัย
ได้แล้ว จึงยังกลัวภัยทั้ง 3 ที่เหลืออยู่ ย่อมไม่การทำบาป. พระเสกขะผู้ตั้งอยู่
ในมรรค ชื่อว่า ผู้งดเว้นจากภัย ด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ หรือเพราะความ
เป็นผู้ตัดภัยยังไม่ขาด.