เมนู

อนุรักขนาภัพพบุคคลเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีความสามารถกว่า กว่า
เจตนาภัพพบุคคลในการทำสมาบัติให้มั่นคง ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล

[25]

ปุถุชนบุคคล

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ 3 อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น
บุคคลนี้เรียกว่า ปุถุชน.

อรรถกถาปุถุชนบุคคล


วินิจฉัย ในนิเทศแห่งปุถุชนบุคคล. คำว่า "ตีณิ สญฺโญชนานิ"
ได้แก่ ทิฏฐิสัญโญชน์ 1 สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ 1 และวิจิกิจฉาสัญโญชน์
1 ก็สัญโญชน์เหล่านั้นชื่อว่า ท่านละได้แล้วในขณะแห่งผลจิต. พระองค์ย่อม
แสดงว่า ก็ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งผลจิต. คำว่า "เตสญฺจ ธมฺมานํ"
ได้แก่ สัญโญชนธรรมเหล่านั้น. ก็ปุถุชน ชื่อว่าผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์
เหล่านั้น ในขณะแห่งมรรคจิต. แต่ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งมรรคจิต
ถูลพาลปุถุชนผู้โง่หยาบนั่นแหละ ผู้สละกรรมฐานแล้ว บัณฑิตทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปุถุชนนิเทศนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
จบอรรถกถาปุถุชนบุคคล

[26]

โคตรภูบุคคล

บุคคลผู้มีโคตรภูญาณ เป็นไฉน ?

ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า โคตรภูบุคคล.

อรรถกถาโคตรภูบุคคล


วินิจฉัย ในนิเทศแห่งโคตรภูบุคคล. ของบทว่า "เยสํ ธมฺมานํ"
ได้แก่กุศลธรรมเกิน 50 ที่เกิดขึ้นพร้อมกับโคตรภูญาณเหล่าใด. บทว่า
"อริยธมฺมสฺส" ได้แก่ โลกุตตรมรรค. สองบทว่า "อวกฺกนฺติ โหติ"
ได้แก่ ย่อมก้าวลง คือบังเกิด ปรากฏ. สองบทว่า "อยํ วุจฺจติ" ความว่า
บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า โคตรภูบุคคล เพราะก้าวล่วงญาณ
ของปุถุชน โคตรของปุถุชน มณฑลของปุถุชน และบัญญัติของปุถุชนทั้งปวง
แล้วจึงก้าวลงสู่ญาณของพระอริยะ โคตรของพระอริยะ มณฑลของพระอริยะ
บัญญัติของพระอริยะได้ ด้วยญาณอันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาโคตรภูบุคคล

[27]

ภยูปรตบุคคล

บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน ?

พระเสขะ 7 จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่า ภยูปรตบุคคล
บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว
พระอรหันต์ ชื่อว่า อภยูปรตบุคคล บุคคล
มิใช่ผู้งดเว้นเพราะกลัว.