เมนู

อนุรักขนาภัพพบุคคลเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีความสามารถกว่า กว่า
เจตนาภัพพบุคคลในการทำสมาบัติให้มั่นคง ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล

[25]

ปุถุชนบุคคล

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ 3 อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น
บุคคลนี้เรียกว่า ปุถุชน.

อรรถกถาปุถุชนบุคคล


วินิจฉัย ในนิเทศแห่งปุถุชนบุคคล. คำว่า "ตีณิ สญฺโญชนานิ"
ได้แก่ ทิฏฐิสัญโญชน์ 1 สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ 1 และวิจิกิจฉาสัญโญชน์
1 ก็สัญโญชน์เหล่านั้นชื่อว่า ท่านละได้แล้วในขณะแห่งผลจิต. พระองค์ย่อม
แสดงว่า ก็ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งผลจิต. คำว่า "เตสญฺจ ธมฺมานํ"
ได้แก่ สัญโญชนธรรมเหล่านั้น. ก็ปุถุชน ชื่อว่าผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์
เหล่านั้น ในขณะแห่งมรรคจิต. แต่ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งมรรคจิต
ถูลพาลปุถุชนผู้โง่หยาบนั่นแหละ ผู้สละกรรมฐานแล้ว บัณฑิตทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปุถุชนนิเทศนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
จบอรรถกถาปุถุชนบุคคล