เมนู

[24]

อนุรักขนาภัพพบุคลคล

บุคคลผู้ควรโดยการตาม
รักษา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติ อันสหรคตด้วยรูปฌาน
หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน และบุคคลนั้นแล มิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่
เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออก
สมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยรักษา
อยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากว่าไม่คอยรักษาก็เสื่อมจากสมาบัติ
เหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า อนุรักขนาภัพพบุคคล บุคคลผู้ควรโดยการ
ตามรักษา.


อรรกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งอนุรักขนาภัพพบุคคล. คำว่า " อนุรกฺขนา-
ภพฺโพ"
ได้แก่ ควรเพื่อจะพึงถึงความไม่เสื่อมรอบแห่งการตามรักษา. คำว่า
"สเจ อนุรกฺขติ" ความว่า ถ้าพระโยคีสละธรรมที่ไม่มีอุปการะ เสพธรรมที่
มีอุปการะเข้าสมาบัติ. ก็เมื่อท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ตามรักษา ท่านจึง
ไม่เสื่อม พระโยคีนอกจากนี้ ย่อมเสื่อม พระโยคีแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น เป็นผู้
สามารถเพื่อตั้งสมาบัติกระทำให้ถาวร แต่พระโยคีที่ชื่อว่าอนุรักขนาภัพพบุคคล
เท่านั้น มีความสามารถมากกว่า พระโยคีผู้ชื่อว่า เจตนาภัพพบุคคล เพราะ
ว่า เจตนาภัพพบุคคล ไม่รู้ธรรมที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะ เมื่อไม่รู้จึง
บรรเทา คือ ย่อมนำธรรมที่มีอุปการะออกไปแล้วเสพธรรมอันไม่มีอุปการะ เมื่อ
เสพธรรมอันไม่มีอุปการะเหล่านั้น ท่านย่อมเสื่อมจากสมาบัติ. แต่อนุรักขนา-
ภัพพบุคคลย่อมรู้ธรรมอันมีอุปการะและไม่มีอุปการะ เมื่อรู้ก็ย่อมบรรเทา

คือนำธรรมอันไม่มีอุปการะออกไป เสพธรรมอันมีอุปการะทั้งหลาย เมื่อท่าน
เสพธรรมอันมีอุปการะเหล่านั้นจึงไม่เสื่อมจากสมาบัติ. เปรียบเหมือนชาวนา
ผู้รักษานา 2 คน เป็นอุทาหรณ์ ดังนี้.
คนหนึ่ง มีโรคผอมเหลือง ทนต่อความหนาวเป็นต้นไม่ได้ คนหนึ่ง
ไม่มีโรคอดทนต่อความหนาวเย็นเป็นต้นได้ คนที่มีโรคไม่ลงจากกระท่อมไป
ข้างล่าง เขาละทิ้งการรักษานา ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน พวกนกแขกเต้า นก
พิลาป และนกยูงเป็นต้น พากันมาสู่นาของเขาในเวลากลางวัน จิกกินรวง
ข้าวลาลี ในเวลากลางคืน พวกเนื้อและสุกรเป็นต้น เข้าไปสู่ลานนาคุ้ยเขี่ย
ราวกะที่อันตนทำไว้เอง ครั้นคุ้ยเขี่ยแล้วก็ไป เขาย่อมไม่ได้แม้สักว่าข้าวปลูก
อีก เพราะเหตุแห่งความประมาทของตน ส่วนบุคคลผู้ไม่มีโรคไม่ละทิ้งการ
รักษานาตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เขาย่อมได้ข้าวประมาณ 4 เกวียนบ้าง
8 เกวียนบ้าง จากที่ประมาณกรีสหนึ่ง เพราะความไม่ประมาทของตน. ใน
พระโยคี 2 รูปนั้น บัณฑิตพึงเห็นพระโยคีผู้เจตนาภัพพบุคคล เหมือนคน
ขี้โรครักษานา พึงเห็นพระโยคีผู้อนุรักขนาภัพพบุคคล เหมือนคนไม่มีโรค.
บัณฑิตพึงทราบความเสื่อมจากสมาบัติของเจตนาภัพพบุคคลผู้ไม่รู้
ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันมีอุปการะ เสพธรรมอัน
ไม่มีอุปการะอยู่ เหมือนกับการไม่ได้เมล็ดพืชที่จะปลูกอีกของคนมีโรค เพราะ
ความประมาทของตน พึงทราบความไม่เสื่อมจากสมาบัติของอนุรักขนาภัพพ-
บุคคลผู้รู้ธรรมมีอุปการะและไม่มีอุปการะ แล้วละธรรมอันไม่มีอุปการะ เสพ
อยู่ซึ่งธรรมมีอุปการะ เปรียบเหมือนกับการได้ข้าว 4 เกวียน 8 เกวียน จาก
ที่ประมาณกรีสหนึ่ง ของบุคคลผู้ไม่มีโรคเพราะความไม่ประมาทของตน

อนุรักขนาภัพพบุคคลเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีความสามารถกว่า กว่า
เจตนาภัพพบุคคลในการทำสมาบัติให้มั่นคง ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล

[25]

ปุถุชนบุคคล

บุคคลผู้เป็นปุถุชน เป็นไฉน ?

สัญโญชน์ 3 อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น
บุคคลนี้เรียกว่า ปุถุชน.

อรรถกถาปุถุชนบุคคล


วินิจฉัย ในนิเทศแห่งปุถุชนบุคคล. คำว่า "ตีณิ สญฺโญชนานิ"
ได้แก่ ทิฏฐิสัญโญชน์ 1 สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ 1 และวิจิกิจฉาสัญโญชน์
1 ก็สัญโญชน์เหล่านั้นชื่อว่า ท่านละได้แล้วในขณะแห่งผลจิต. พระองค์ย่อม
แสดงว่า ก็ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งผลจิต. คำว่า "เตสญฺจ ธมฺมานํ"
ได้แก่ สัญโญชนธรรมเหล่านั้น. ก็ปุถุชน ชื่อว่าผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์
เหล่านั้น ในขณะแห่งมรรคจิต. แต่ปุถุชนนี้ย่อมไม่มีแม้ในขณะแห่งมรรคจิต
ถูลพาลปุถุชนผู้โง่หยาบนั่นแหละ ผู้สละกรรมฐานแล้ว บัณฑิตทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปุถุชนนิเทศนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
จบอรรถกถาปุถุชนบุคคล