เมนู

แห่งธรรมทั้งหลาย เพราะอาศัยความประมาทของบุคคล ท่านประสงค์เอา
อย่างเดียว จึงเป็นอันว่าแตกต่างกันเพียงแต่ปริยายเทศนาเท่านั้น ธรรมที่เหลือ
ทั้งหมด เหมือนกันนั่นแหละ.
จบอรรถกถาปริหานธรรมบุคคล และ อปริหานธรรมบุคคล

[23]

เจตนาภัพพบุคคล

บุคคลผู้ควรโดยเจตนา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นมิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้
โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด
ในที่ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยใส่ใจอยู่ ย่อมไม่
เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า เจตนาภัพพบุคคล บุคคลผู้ควร
โดยเจตนา.


อรรถกถาเจตนาภัพพบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งเจตนาภัพพบุคคล. คำว่า "เจตนาภพฺโพ"
ได้แก่ควรเพื่อจะถึงความไม่เสื่อมรอบแห่งเจตนา. คำว่า "สเจ อนุสญฺเจติ"
ได้แก่ ถ้าเข้าสมาบัติ อธิบายว่า ก็พระโยคีเมื่อเข้าสมาบัติ ชื่อว่า ย่อมเอาใจใส่
ท่านจึงไม่เสื่อม พระโยคีนอกจากนี้ย่อมเสื่อม.
จบอรรถกถาเจตนาภัพพบุคคล

[24]

อนุรักขนาภัพพบุคลคล

บุคคลผู้ควรโดยการตาม
รักษา เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติ อันสหรคตด้วยรูปฌาน
หรือสหรคตด้วยอรูปฌาน และบุคคลนั้นแล มิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่
เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออก
สมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา หากว่าคอยรักษา
อยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น หากว่าไม่คอยรักษาก็เสื่อมจากสมาบัติ
เหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า อนุรักขนาภัพพบุคคล บุคคลผู้ควรโดยการ
ตามรักษา.


อรรกถาอนุรักขนาภัพพบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งอนุรักขนาภัพพบุคคล. คำว่า " อนุรกฺขนา-
ภพฺโพ"
ได้แก่ ควรเพื่อจะพึงถึงความไม่เสื่อมรอบแห่งการตามรักษา. คำว่า
"สเจ อนุรกฺขติ" ความว่า ถ้าพระโยคีสละธรรมที่ไม่มีอุปการะ เสพธรรมที่
มีอุปการะเข้าสมาบัติ. ก็เมื่อท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ตามรักษา ท่านจึง
ไม่เสื่อม พระโยคีนอกจากนี้ ย่อมเสื่อม พระโยคีแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น เป็นผู้
สามารถเพื่อตั้งสมาบัติกระทำให้ถาวร แต่พระโยคีที่ชื่อว่าอนุรักขนาภัพพบุคคล
เท่านั้น มีความสามารถมากกว่า พระโยคีผู้ชื่อว่า เจตนาภัพพบุคคล เพราะ
ว่า เจตนาภัพพบุคคล ไม่รู้ธรรมที่มีอุปการะและไม่มีอุปการะ เมื่อไม่รู้จึง
บรรเทา คือ ย่อมนำธรรมที่มีอุปการะออกไปแล้วเสพธรรมอันไม่มีอุปการะ เมื่อ
เสพธรรมอันไม่มีอุปการะเหล่านั้น ท่านย่อมเสื่อมจากสมาบัติ. แต่อนุรักขนา-
ภัพพบุคคลย่อมรู้ธรรมอันมีอุปการะและไม่มีอุปการะ เมื่อรู้ก็ย่อมบรรเทา