เมนู

มีธรรมอันไม่กำเริบ พระอริยบุคคลแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันไม่
กำเริบในวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ.

อรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล


นิเทศแห่ง "อกุปปธรรมบุคคล" บัณฑิต พึงทราบด้วยความ
สามารถแห่งปฏิปักษ์นัย. ของกุปปธรรมบุคคล ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. ก็คำว่า
"อกุปฺปธมฺโม" เป็นชื่อของพระอริยบุคคล 2 จำพวก คือ พระอนาคามี ผู้ได้
สมาบัติ 8 และ พระขีณาสพ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ และ
วิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ท่านข่มไว้ดีแล้ว ชำระล้างไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้น
เมื่อท่านเหล่านั้น แม้ยังกาลให้ล่วงไปด้วยกิจ มีการสนทนา และความเป็นผู้
ยินดีด้วยหมู่คณะเป็นต้น หรือด้วยความประมาทอันไม่สมควรแก่คนอย่างใด
อย่างหนึ่งอื่น ๆ สมาบัติก็ไม่กำเริบ ไม่พินาศ แต่ว่า พระโสดาบัน พระ-
สกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพ ผู้สุกขวิปัสสกะ ย่อมไม่ได้ในทุกะนี้
ท่านเหล่านั้นจึงชื่อว่า ทุกมุตตกบุคคล.
เพราะฉะนั้น พระศาสดา จึงทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย ที่พระองค์
ทรงถือเอาและไม่ทรงถือเอาในหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่แบบแผนกับด้วยปิฏฐิ -
วัฏฏกบุคคลทั้งหลายไว้ในทุกะแม้นี้ เพราะพระองค์มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดี
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "สพฺเพปิ อริยปุคฺคลา" พระอิริยบุคคลแม้ทั้งหมด.
อนึ่ง หากความกำเริบ ความพินาศแห่งสมาบัติ 8 ของท่านจะพึงมี
ขึ้น แต่โลกุตตรธรรมที่ท่านแทงตลอดแล้วครั้งเดียวหากำเริบและพินาศไปไม่.
คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้บรรลุโลกุตตรธรรม นั้น.
จบอรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล

[21] ปริทานธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ตามความต้องการ มิใช่
เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถเข้าหรือออกสมาบัติ
ใด กำหนดเวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่บุคคล
จะพึงเสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้นได้ เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า
ปริหานธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม.
[22]

อปริหานธรรมบุคคล

บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม
เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก
เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกจากสมาบัติใด ในที่ใด กำหนด
เวลาเท่าใดได้ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่บุคคลนั้นจะพึง
เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า อปริ-
หานธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม.
พระอริยบุคคลแม้ทั้งหมด
เป็นผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมจากวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ.

อรรถกถาปริหารธรรมบุคคล และ อปริหานธรรมบุคคล


แม้นิเทศแห่งปริหานธรรมบุคคล และอปริหานธรรมบุคคล
ทั้งหลาย บัณฑิต พึงทราบด้วยสามารถแห่ง กุปปธรรมบุคคล และอกุปปธรรม
บุคคล นั่นแหละ. ก็ในที่นี้ คำนี้ว่า "ความเสื่อมก็ดี ความไม่เสื่อมก็ดี