เมนู

แล้ว จึงอยู่ก็ควร แต่ในพระบาลีท่านกล่าวไว้ว่า "เอกจฺเจ อาสวา ปริกฺ
ขีณา"
แปลว่า อาสวะบางอย่างสิ้นไปแล้ว จริงอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่า อาสวะ
ทั้งหลายของปุถุชนสิ้นไปแล้วย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ไม่ทรงประสงค์เอาปุถุชน ที่ถูกควรจะกล่าวว่า แม้พระขีณาสพ ผู้ได้สมาบัติ
8 ถูกต้องวิโมกข์ด้วยนามกายนั้นแล้วอยู่ แต่ว่า ธรรมดาว่าอาสวะทั้งหลายของ
พระขีณาสพนั้นยังไม่สิ้นไปมิได้มี เพราะฉะนั้น พระขีณาสพนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็มิได้ทรงพระประสงค์เอา. ก็คำว่า "สมยวิมุตฺโต" นี้ พึงทราบ
ว่าเป็นชื่อของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี รวม 3 จำพวก
เท่านั้น
จบอรรถกถาสมยวิมุตตบุคคล

[18]

อสมยวิมุตตบุคคล

บุคคลผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนโนโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ในกาลโดย
กาล ในสมัยโดยสมัย สำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น
หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย
พระอริยบุคคลแม้ทั้งปวง ชื่อว่า ผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ส่วนที่
เป็นอริยะ.

อรรถกถาอสมยวิมมุตตบุคคล


ก็ในนิเทศว่า "อสมยวิมุตฺโต" พึงทราบเช่นกับคำก่อน โดยนัยที่
กล่าวแล้วนั่นเทียว. อนึ่ง คำว่า "อสมยวิมุตฺโต" นี้ ในที่นี้เป็นชื่อของ

พระอรหันต์สุกขวิปัสสก แต่ว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสก พระโสดาบัน พระ-
สกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ 8 และปุถุชน ย่อมไม่ได้
ในทุกะนี้ (ทุกะนี้ คือ สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต) ฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทุกมุตตกบุคคล. เพราะฉะนั้น พระศาสดา จึงทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย
ที่พระองค์ทรงถือเอา และไม่ทรงถือเอาในหนหลังแล้วยกขึ้นสู่แบบแผนพร้อม
กับด้วยปิฏฐิวัฏฏกบุคคลทั้งหลาย คือ ผู้หมุนไปข้างหลัง เพราะความที่พระองค์
เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้แล้วด้วยดี จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "สพฺเพปิ
อริยปุคฺคลา"
แปลว่า แม้ทั้งหมด เป็นพระอริยบุคคล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า "อริยวิโมกฺเข" ได้แก่ วิโมกข์อัน
เป็นโลกุตตระอันถึงซึ่งการนับว่าเป็น "อริยะ" เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย
ข้อนี้ มีคำอธิบายไว้ว่า
สมัยก็ดี อสมัยก็ดี ของท่านผู้เข้าสมาบัติ 8 ภายนอกพระพุทธศาสนา
มีอยู่, สมัยหรือ อสมัยของท่านผู้พ้นด้วยมรรควิโมกข์ย่อมไม่มี. ศรัทธาของ
บุคคลใดมีกำลังและวิปัสสนาอันบุคคลใดปรารภแล้ว มีอยู่ แต่การแทงตลอด
มรรค และผลของผู้นั้น ซึ่งกำลังเดิน, ยืน, นั่ง, นอน, เคี้ยว, และบริโภค
ไม่มี เพราะฉะนั้น สมัย หรือ อสมัยของผู้พ้นด้วยมรรควิโมกข์ จึงไม่มี. ดัง
นั้น ข้อว่า "มคฺควิโมกฺเขน วิมุจฺจนสฺส สมโย วา อสมโย วา นตฺถิ"
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นธรรมราชา ทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย ที่
พระองค์ทรงถือเอา และไม่ทรงถือเอาในหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่แบบแผน
อันเป็นปิฏฐิวัฏฏกะนี้. ทั้งปุถุชนผู้ได้สมาบัติ 8 พระองค์ก็มิได้ ทรงพระ
ประสงค์เอาด้วยแบบแผนนี้เลย แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง
จำแนกบุคคลผู้ได้สมาบัติ 8 นั้น ก็พึงจำแนกซึ่งความเป็นสมยวิมุตตบุคคล
ด้วยอำนาจกิเลสที่ท่านข่มไว้แล้วด้วยสมาบัติ.
จบอรรถกถาอสมยวิมุตตบุคคล

[19] กุปปธรรมบุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่ผู้ได้โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดย
ไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือจะออกจากสมาบัติใด ในที่ใด กำหนดเวลา
เท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงกำเริบ
ได้ เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า กุปปธรรม-
บุคคล บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ.


อรรถกถากุปปธรรมบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง "กุปปธรรมบุคคล" เป็นต้น. สมาบัติธรรม
อันบุคคลใด บรรลุแล้ว ย่อมกำเริบ ย่อมพินาศ เพราะเหตุนั้นบุคคลนั้นจึง
ชื่อว่า "กุปฺปธมฺโม" แปลว่า ผู้มีธรรมอันกำเริบ. บทว่า "รูปสหคตานํ"
อธิบายว่า สมาบัติที่สหรคตด้วยรูปนั้น กล่าวคือ ที่มีรูปเป็นนิมิต คือ เป็น
ไปพร้อมกับรูปนั้น หมายความว่า ไม่ยกเว้น รูปาวจรฌานทั้ง 4 ที่มีรูปเป็น
อารมณ์. บทว่า "อรูปสหคตานํ" อธิบายว่า สิ่งอื่นเว้นจากรูปไม่ชื่อว่า
รูป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อรูป สมาบัติที่สหรคตด้วยอรูป คือที่เป็นไปพร้อม
กับอรูปนั้น ไม่ยกเว้นอรูปาวจรฌานทั้ง 4 ที่มีอรูปเป็นอารมณ์. คำว่า
"น นิกามลาภี" ความว่า ชื่อว่า มิใช่เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา เพราะไม่
ได้ด้วยอาการที่ปรารถนา โดยความเป็นผู้ไม่ชำนาญในการประพฤติมาแล้วโดย
อาการ 5 อย่าง. อธิบายว่า ผู้ไม่ชำนาญเข้าสมาบัติ. คำว่า "น อกิจฺฉลาภี"
ได้แก่ ได้โดยลำบาก คือ ได้โดยยาก อธิบายว่า ผู้ใดข่มกิเลสทั้งหลายไว้ด้วย
อาคม บรรลุอุปจาระ บรรลุอัปปนา ได้อยู่ซึ่งจิตตมัญชุสา (หีบ คือ จิต