เมนู

พรรณนามาติกา


(อุทเทสวาระ)


อุทเทสนี้แห่งบุคคลบัญญัติว่า ฉ ปญญฺตฺติโย ฯเปฯ ขนฺธปญฺญตฺติ
ปุคฺคลปญฺญตฺติ
ดังนี้ก่อน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เป็นการกำหนด
จำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะบัญญัติธรรมเหล่าใด
ในปกรณ์นี้ จึงทรงแสดงการกำหนดบัญญัติธรรมเหล่านั้น ด้วยการนับโดย
สังเขป. บทว่า ปญฺญตฺติโย เป็นคำแสดงไขธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
กำหนดไว้. ในบทมาติกาเหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศใน
อาคตสถานว่า ตรัสบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ชื่อว่าบัญญัติ.
การแต่งตั้ง การวางไว้ ในอาคตสถานว่า เตียงและตั่งที่เขาตกแต่งไปไว้ดี
แล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า บัญญัติ. บัญญัติทั้งสองในที่นี้ย่อมสมควร.
จริงอยู่ คำว่า ฉ ปญฺญฺตติโย ได้แก่ การบัญญัติ 6 การแสดง 6
การประกาศ 6 ดังนี้ก็ดี การตั้งไว้ 6 การวางไว้ 6 ดังนี้ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประสงค์เอาในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรม (บัญญัติ 6)
เหล่านั้นประกอบด้วยนามบัญญัติบ้าง ย่อมทรงตั้งธรรมเหล่านั้นไว้ โดย
โกฏฐาสนั้น ๆ บ้าง.
คำว่า ขันธบัญญัติ เป็นต้น เป็นคำแสดงสรุปบัญญัติเหล่านั้นไว้
โดยย่อ. บรรดาบัญญัติ 6 เหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศ
การตั้งไว้ การวางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นหมวดหมู่กันซึ่งเป็นขันธ์ทั้งหลาย
ชื่อว่า ขันธบัญญัติ. การบัญญัติ การแสดง การประกาศ การตั้งไว้ การ

วางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่า อายตน-
บัญญัติ.
การบัญญัติ. . .ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นสภาพทรงไว้ซึ่งเป็นธาตุทั้งหลาย
ชื่อว่า ธาตุบัญญัติ. การบัญญัติ. . . ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นจริง ชื่อว่า
สัจจบัญญัติ. การบัญญัติ. . .ซึ่งธรรมที่เป็นใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่า อินทริย-
บัญญัติ.
การบัญญัติ. . .ซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล ชื่อว่า บุคคล-
บัญญัติ.

บัญญัติ 6 นอกพระบาลี


ก็ว่าโดยนัยแห่งอรรถกถาบาลีมุตตกะ คือนอกจากพระบาลี บัญญัติ 6
อื่นอีก คือ
1. วิชชมานบัญญัติ
2. อวิชซมานบัญญัติ
3. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ
4. อวิชชนาเนน วิชชมานบัญญัติ
5. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ
6. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.

บรรดาบัญญัติ 6 เหล่านั้น การบัญญัติธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล
อันเป็นของมีอยู่ เป็นอยู่ เกิดตามความเป็นจริงนี้แหละ ด้วยอำนาจแห่งสัจฉิ-
กัตถะและปรมัตถะ ชื่อว่า วิชชมานบัญญัติ.
อนึ่ง การบัญญัติคำทั้งหลายมีคำว่า หญิง ชาย เป็นต้น อันล้วน
แต่คำเป็นภาษาของชาวโลก อันไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ชื่อว่า อวิชชมาน-
บัญญัติ.