เมนู

ปรมัตถทีปนี


อรรถกถาปัญจปกรณ์


อรรถกถาปุคคลปัญญัติปกรณ์


อารัมภกถา


พระศาสดา ผู้ทรงประกาศประเภทแห่งธาตุ ครั้น
ทรงแสดงธาตุกถาปกรณ์ ซึ่งมีอรรถอันละเอียดใน
สุราลัยเทวโลกจบแล้ว พระชินเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลใน
โลก ตรัสคัมภีร์ปุคคลปัญญัติใดไว้ อันแสดงถึงประ-
เภทแห่งบัญญัติ ในลำดับแห่งธาตุกถานั้น.

บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาคัมภีร์ปุคคล-
ปัญญัตินั้นแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษา-
จารย์) จักพรรณนาปกรณ์นั้น ท่านทั้งหลายจงมีจิต
ตั้งมั่น สดับพระสัทธรรมนั้น เทอญ.

พรรณนามาติกา


(อุทเทสวาระ)


อุทเทสนี้แห่งบุคคลบัญญัติว่า ฉ ปญญฺตฺติโย ฯเปฯ ขนฺธปญฺญตฺติ
ปุคฺคลปญฺญตฺติ
ดังนี้ก่อน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เป็นการกำหนด
จำนวน. ด้วยคำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะบัญญัติธรรมเหล่าใด
ในปกรณ์นี้ จึงทรงแสดงการกำหนดบัญญัติธรรมเหล่านั้น ด้วยการนับโดย
สังเขป. บทว่า ปญฺญตฺติโย เป็นคำแสดงไขธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
กำหนดไว้. ในบทมาติกาเหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศใน
อาคตสถานว่า ตรัสบอก ทรงแสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ชื่อว่าบัญญัติ.
การแต่งตั้ง การวางไว้ ในอาคตสถานว่า เตียงและตั่งที่เขาตกแต่งไปไว้ดี
แล้ว ดังนี้ ก็ชื่อว่า บัญญัติ. บัญญัติทั้งสองในที่นี้ย่อมสมควร.
จริงอยู่ คำว่า ฉ ปญฺญฺตติโย ได้แก่ การบัญญัติ 6 การแสดง 6
การประกาศ 6 ดังนี้ก็ดี การตั้งไว้ 6 การวางไว้ 6 ดังนี้ก็ดี พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประสงค์เอาในที่นี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงธรรม (บัญญัติ 6)
เหล่านั้นประกอบด้วยนามบัญญัติบ้าง ย่อมทรงตั้งธรรมเหล่านั้นไว้ โดย
โกฏฐาสนั้น ๆ บ้าง.
คำว่า ขันธบัญญัติ เป็นต้น เป็นคำแสดงสรุปบัญญัติเหล่านั้นไว้
โดยย่อ. บรรดาบัญญัติ 6 เหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศ
การตั้งไว้ การวางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นหมวดหมู่กันซึ่งเป็นขันธ์ทั้งหลาย
ชื่อว่า ขันธบัญญัติ. การบัญญัติ การแสดง การประกาศ การตั้งไว้ การ