เมนู

คำนิคม


ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ฉลาดในการจำแนกธาตุ ตรัสคัมภีร์
ธาตุกถาอันใดไว้ บัดนี้ การประกาศส่วนนยมุข คือ
หัวข้อที่เป็นประธานของคัมภีร์นั้นจบลงแล้ว. ก็แล นัย
แม้ทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้เป็นเพียงสังเขปกถา
บุคคลผู้ฉลาดอาจเพื่อรู้ส่วนนยมุข คือหัวข้อที่พระองค์
ทรงแสดงนี้ได้. ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวเนื้อความ
พิสดารแห่งคัมภีร์นี้ทุก ๆ บทไซร้ ก็จะพึงกล่าวถ้อยคำ
นั้นมากเหลือเกิน ทั้งเนื้อความนั้น ก็มิได้แปลกกัน
เลย.

บุญกุศลใด อันข้าพเจ้า ผู้กระทำคัมภีร์นี้ เพื่อ
แบบแผน มีประมาณ 2 ภาณวารหย่อนสำเร็จลงแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ ขอกุศลผลบุญนั้น จงถึงแก่สัตวโลก
ทั้งหลาย เพื่อความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์
เทอญ.

จบ อรรถกถาแห่งธาตุกถาปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก


เล่มที่ 3


ปุคคลปัญญัติ1


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


อุทเทสวาระ


[1]

บัญญัติ 6 ประการ คือ


1. ขันธบัญญัติ

บัญญัติว่าเป็นขันธ์
2. อายตนบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นอายตนะ
3. ธาตุบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นธาตุ
4. สัจจบัญญัติ บัญญัติวาเป็นสัจจะ
5. อินทริยบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นอินทรีย์
6. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติว่าเป็นบุคคล

1. ขันธบัญญัติ


[2] การบัญญัติธรรมที่เป็นหมวดหมู่กันว่า ขันธ์ มีเท่าไร ขันธ์
มี 5 คือ
1. รูปขันธ์
2. เวทนาขันธ์

1. บาลีเล่มที่ 36. คัมภีร์ที่ 4