เมนู

อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนก วิปปยุตเตนสังคหิตาสงัดหิตบท พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น
วิปปโยคะของบทเหล่าใด ที่มิได้ยกขึ้นมา (ในที่นี้) บทเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาในวาระนี้. ถามว่า ก็บทเหล่านั้น เป็นบทอะไร ตอบ
ว่าเป็นบทธัมมายตนะเป็นต้น. เพราะว่าวิปปโยคะ ย่อมไม่มีในธรรมทั้งหลาย
มีขันธ์เป็นต้นของธัมมายตนะ แม้สักบทเดียว. แม้ในธัมมธาตุเป็นต้น ก็นัย
นี้นั่นแหละ. บัณฑิตพึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้นดังนี้.
"ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ชีวิตินฺทฺริยเมว จ
นามรูปปทญฺเจว สฬายตนเมว จ.
ชาติอาทิตฺตยํ เอกํ ปทํ วีสติเม ติเก
ติกาวสานิกํ เอกํ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา.
ทเสว โคจฺฉเก โหนฺติ มหทนฺตรมฺหิ จุทฺทส
ฉ ปทานิ ตโต อุทฺธํ สพฺพานิปิ สมาสโต.
ปทานิ จ ลพฺภนฺติ จตฺตาฬีสญฺจ สตฺตธา".

แปลว่า
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ชีวิตินทรีย์ นามรูป
สฬายตนะ ธรรมทั้ง 3 มีชาติเป็นต้น (คือ ชาติ ชรา
มรณะ) ในติกะที่ 20 บทหนึ่ง (คือ อัชฌัตตพหิทธบท)
บทสุดท้ายของติกะ 1 บท คือ (อนิทัสสนอัปปฏิฆบท)
ในจูฬันตรทุกะ 7 บท ในโคจฉกะ 10 บท ในมหันตร--


ทุกะ 14 บท ต่อจากนั้นอีก 6 บท (คือ ปิฏฐิทุกะ 6)
บทเหล่านี้ แม้ทั้งหมดท่านแสดงไว้โดยย่อ รวม 47 บท
เหล่านี้ ย่อมประกอบไม่ได้ (หมายความว่าเป็น
วิปปยุต).

แม้คาถาสุดท้าย มีค่าว่า. "ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ" เป็นต้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงอรรถนี้นั่นแหละ. ก็แต่ว่า เว้นบทเหล่านี้แล้ว
บทที่เหลือแม้ทั้งหมด ย่อมได้ (คือ หมายความว่า สงเคราะห์เข้ากันได้).
การจำแนกโดยความเป็นขันธ์เป็นต้น ในบทเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบโดย
ทำนองแห่งนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละดังนี้แล.
จบ อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส

คำนิคม


ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ฉลาดในการจำแนกธาตุ ตรัสคัมภีร์
ธาตุกถาอันใดไว้ บัดนี้ การประกาศส่วนนยมุข คือ
หัวข้อที่เป็นประธานของคัมภีร์นั้นจบลงแล้ว. ก็แล นัย
แม้ทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้เป็นเพียงสังเขปกถา
บุคคลผู้ฉลาดอาจเพื่อรู้ส่วนนยมุข คือหัวข้อที่พระองค์
ทรงแสดงนี้ได้. ก็ถ้าว่า ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวเนื้อความ
พิสดารแห่งคัมภีร์นี้ทุก ๆ บทไซร้ ก็จะพึงกล่าวถ้อยคำ
นั้นมากเหลือเกิน ทั้งเนื้อความนั้น ก็มิได้แปลกกัน
เลย.

บุญกุศลใด อันข้าพเจ้า ผู้กระทำคัมภีร์นี้ เพื่อ
แบบแผน มีประมาณ 2 ภาณวารหย่อนสำเร็จลงแล้ว
ด้วยประการฉะนี้ ขอกุศลผลบุญนั้น จงถึงแก่สัตวโลก
ทั้งหลาย เพื่อความสุขเกษมสำราญตลอดกาลนิรันดร์
เทอญ.

จบ อรรถกถาแห่งธาตุกถาปกรณ์