เมนู

อรรถกถาวิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนก วิปปยุตเตนสังคหิตาสงัดหิตบท พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า "รูปกฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น
วิปปโยคะของบทเหล่าใด ที่มิได้ยกขึ้นมา (ในที่นี้) บทเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามิได้ทรงถือเอาในวาระนี้. ถามว่า ก็บทเหล่านั้น เป็นบทอะไร ตอบ
ว่าเป็นบทธัมมายตนะเป็นต้น. เพราะว่าวิปปโยคะ ย่อมไม่มีในธรรมทั้งหลาย
มีขันธ์เป็นต้นของธัมมายตนะ แม้สักบทเดียว. แม้ในธัมมธาตุเป็นต้น ก็นัย
นี้นั่นแหละ. บัณฑิตพึงทราบอุทานแห่งบทเหล่านั้นดังนี้.
"ธมฺมายตนํ ธมฺมธาตุ ชีวิตินฺทฺริยเมว จ
นามรูปปทญฺเจว สฬายตนเมว จ.
ชาติอาทิตฺตยํ เอกํ ปทํ วีสติเม ติเก
ติกาวสานิกํ เอกํ สตฺต จูฬนฺตเร ปทา.
ทเสว โคจฺฉเก โหนฺติ มหทนฺตรมฺหิ จุทฺทส
ฉ ปทานิ ตโต อุทฺธํ สพฺพานิปิ สมาสโต.
ปทานิ จ ลพฺภนฺติ จตฺตาฬีสญฺจ สตฺตธา".

แปลว่า
ธัมมายตนะ ธัมมธาตุ ชีวิตินทรีย์ นามรูป
สฬายตนะ ธรรมทั้ง 3 มีชาติเป็นต้น (คือ ชาติ ชรา
มรณะ) ในติกะที่ 20 บทหนึ่ง (คือ อัชฌัตตพหิทธบท)
บทสุดท้ายของติกะ 1 บท คือ (อนิทัสสนอัปปฏิฆบท)
ในจูฬันตรทุกะ 7 บท ในโคจฉกะ 10 บท ในมหันตร--