เมนู

อรรถกถาสังคหาสังคหปทนิทเทส


อรรถกถาขันธปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจะแสดงมาติกาตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ ด้วย
สามารถแห่งปัญจขันธ์เป็นต้น ประกอบกับบท นยมาติกา ทั้งหลาย มีคำว่า
"สงฺคโห อสงฺคโห" เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าเริ่มนิทเทสวาระโดยนัย
เป็นต้นว่า " รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ " ดังนี้. บรรดามาติกาเหล่านั้น เพราะ
นยมุขมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ว่า " ตีหิ สงฺคโห " (คือ การ
สงเคราะห์ด้วยธรรม 3 คือ โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ) ตีหิ อสงฺคโห
(คือ การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมทั้ง 3) ด้วยนยมาติกาว่า " สงฺคโห
อสงฺคโห "
เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อแสดงการนับสงเคราะห์รูปขันธ์เป็นต้น
ท่านจึงยกบททั้ง 3 คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุนั่นแหละขึ้นแสดงว่า " ธรรม
เหล่านี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์เท่าไร ได้ด้วยอายตนะเท่าไร ได้ด้วยธาตุ
เท่าไร " ดังนี้ บรรดาธรรมทั้งหลาย มีสัจจะ 4 เป็นต้น แม้อย่างหนึ่งไม่เป็น
ปรามัฏฐะ (คือไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส).
ก็ ลัขณมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้อย่างนี้ว่า " สภาโค
วิสภาโค "
ดังนี้ ฉะนั้น ในการวิสัชนาปัญหานี้ จึงตรัสว่า " รูปขันธ์นับ
สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์หนึ่ง " เป็นต้น เพราะว่า ธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่านี้
เป็นสภาคะของลักขณมาติกานั้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า " เอเกน
ขนฺเธน "
ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วยรูปขันธ์เท่านั้น. จริงอยู่. รูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ย่อมถึงการนับสงเคราะห์ว่าเป็นรูปอย่างเดียว เพราะความเป็น
ธรรมเสมอกับรูปขันธ์. เพราะฉะนั้น รูปท่านจึงสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์นั่นแหละ

กำหนดเอาด้วยรูปขันธ์นั่นแหละ. สองบทว่า " เอกาทสหิ อายตเนหิ " ได้
แก่ เว้นจากมนายตนะ. เพราะรูปขันธ์แม้ทั้งปวงเป็นอายตนะ 10 และเป็น
ส่วนหนึ่งแห่งธัมมายตนะ ฉะนั้น รูปขันธ์นั้น ท่านจึงนับเอาแล้ว กำหนด
แล้วด้วยอายตนะ 11. สองบทว่า " เอกาทสหิ ธาตูหิ " ได้แก่ ด้วยธาตุ 11
เว้นจากวิญญาณธาตุ 7. ด้วยว่า ชื่อว่ารูปที่มิได้นับเนื่องในธาตุเหล่านั้นย่อม
ไม่มี. ในนิทเทสแห่งอสังคหนัย ทรงทำคำถามโดยย่อไว้ว่า " กตีหิ อสงฺคหิโต "
ดังนี้ แต่เพราะในการวิสัชนาแห่งปัญญานั้น อรูปขันธ์ 4 มนายตนะ 1
วิญญาณธาตุ 7 เป็นวิสภาคะของรูปขันธ์ ฉะนั้น จึงตรัสว่า " จตูหิ ขนฺเธหิ "
เป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบบท สงฺคโห อสงฺคโห ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.
อนึ่ง ในคำว่า " รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ " เป็นต้น
ในขันธนิทเทสนี้ ทรงแสงคำปุจฉา 5 และวิสัชนา 5 ในสังคหนัยอันเป็น
เอกมูลไว้โดยย่อก่อน. ในอสังคหนัย ก็แสดงคำปุจฉา 5 และคำวิสัชนา 5
โดยย่อ. แม้ในมูลทั้งหลายมี ทุกมูล เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบคำปุจฉาและ
คำวิสัชนาทั้งหลายโดยอุบายนี้. ก็ในนิทเทสนี้ ทรงแสดงทุกะติกะและจตุกกมูล
ไว้ในรูปักขันธมูลนั่นแหละ. แต่ในปัญจกมูลทรงทำปุจฉาวิสัชนาไว้ 2 อย่าง
คือ โดย เภทะ (หมายถึงการแยก) อย่างนี้ว่า " รูปกฺขนฺโธ จ ฯ เป ฯ
วิญฺญาณกฺขนฺโธ จ "
และโดย อเภทะ (คือ การไม่แยก) อย่างนี้ว่า
" ปญฺจกฺขนฺธา กตีหิ ขนฺเธหิ " ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบนัยแห่งพระบาลีดัง
พรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาขันธปทนิทเทสแห่งอัพภันตรมาติกา

อายตนปทนิทเทส


[18] จักขวายตนะ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ?
จักขวายตนะสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ 1. สงเคราะห์ไม่ได้
ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 11
ธาตุ 17.
[19] โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ
รูปายตนะ สัททายตนะ คันทายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ

ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตะ 1 ธาตุ 1 สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย ขันธ์
อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 11 ธาตุ 17.
[20] มนายตนะ ฯ ล ฯ สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 1 ธาตุ7.
สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วย
ขันธ์ 4 อายตนะ 11 ธาตุ 11.
[21] ธัมมายตนะ ฯลฯ ยกเว้น นิพพาน โดยความเป็นขันธ์แล้ว
สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 1 ธาตุ 1 สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์
อายตน ธาตุ เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 11 ธาตุ 17.
[22] จักขวายตนะเเละโสตายตนะ ฯลฯ สงเคราะห์ได้ด้วย
ขันธ์ 1 อายตนะ 2 ธาตุ 2. สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ
เท่าไร ? สงเคราะห์ไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 10 ธาตุ 16.
[23] จักขวายตนะและฆานายตนะ จักขวายตนะและชิวหา-
ยตนะ จักขวายตนะและกายายตนะ จักขวายตนะและรูปายตนะ จัก-
ขวายตนะและสัททายตนะ จักขวายตนะและคันธายตนะ จักขวาย-
ตนะและรสายตนะ จักขวายตนะและโผฏฐัพพายตนะ
ฯลฯ สงเคราะห์