เมนู

อรรถกถาสังคหาสังคหปทนิทเทส


อรรถกถาขันธปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจะแสดงมาติกาตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ ด้วย
สามารถแห่งปัญจขันธ์เป็นต้น ประกอบกับบท นยมาติกา ทั้งหลาย มีคำว่า
"สงฺคโห อสงฺคโห" เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าเริ่มนิทเทสวาระโดยนัย
เป็นต้นว่า " รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ " ดังนี้. บรรดามาติกาเหล่านั้น เพราะ
นยมุขมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ว่า " ตีหิ สงฺคโห " (คือ การ
สงเคราะห์ด้วยธรรม 3 คือ โดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ) ตีหิ อสงฺคโห
(คือ การสงเคราะห์ไม่ได้ด้วยธรรมทั้ง 3) ด้วยนยมาติกาว่า " สงฺคโห
อสงฺคโห "
เป็นต้น ฉะนั้น เพื่อแสดงการนับสงเคราะห์รูปขันธ์เป็นต้น
ท่านจึงยกบททั้ง 3 คือ ขันธ์ อายตนะ และธาตุนั่นแหละขึ้นแสดงว่า " ธรรม
เหล่านี้ นับสงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์เท่าไร ได้ด้วยอายตนะเท่าไร ได้ด้วยธาตุ
เท่าไร " ดังนี้ บรรดาธรรมทั้งหลาย มีสัจจะ 4 เป็นต้น แม้อย่างหนึ่งไม่เป็น
ปรามัฏฐะ (คือไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส).
ก็ ลัขณมาติกา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้อย่างนี้ว่า " สภาโค
วิสภาโค "
ดังนี้ ฉะนั้น ในการวิสัชนาปัญหานี้ จึงตรัสว่า " รูปขันธ์นับ
สงเคราะห์ได้ด้วยขันธ์หนึ่ง " เป็นต้น เพราะว่า ธรรมมีขันธ์เป็นต้นเหล่านี้
เป็นสภาคะของลักขณมาติกานั้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า " เอเกน
ขนฺเธน "
ได้แก่ (นับสงเคราะห์ได้) ด้วยรูปขันธ์เท่านั้น. จริงอยู่. รูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ย่อมถึงการนับสงเคราะห์ว่าเป็นรูปอย่างเดียว เพราะความเป็น
ธรรมเสมอกับรูปขันธ์. เพราะฉะนั้น รูปท่านจึงสงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์นั่นแหละ