เมนู

อรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส


บัดนี้ เพื่อจำแนกบท สัมปยุตเตน สัมปยุตตตะ พระผู้มีพระภาค-
เจ้า จึงทรงเริ่มคำว่า "เวทนากฺขนฺเธน" เป็นอาทิ. ในนิทเทสนั้น บทใด
สัมปยุตด้วยสามารถแห่งขันธ์เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำปุจฉาวิสัชนา
สัมปโยคะบทนั้นนั่นแหละด้วยขันธ์เป็นต้นอีก. บท (สัมปยุตเตน สัมปยุตตะ)
นั้น ย่อมไม่ประกอบด้วยรูปหรือด้วยบททั้งหลายอันเจือด้วยรูป หรือด้วยบท
อัน สงเคราะห์ด้วยรูปขันธ์ทั้งหมด. เพราะว่า สัมปโยคะของธรรมเหล่าอื่นด้วย
รูป. หรือด้วยธรรมอันเจือด้วยรูป ไม่มี, บทอื่นก็ไม่มีนั่นแหละ เพราะความ
ที่ขันธ์เป็นต้น อันควรแก่สัมปโยคะทั้งหมด ท่านถือเอาด้วยธรรมอันสงเคราะห์
กับด้วยอรูปขันธ์ทั้งปวง. บทใดพึงถึงการประกอบกับบทนั้น ฉะนั้นบทเช่นนั้น
ท่านไม่ถือเอาในที่นี้. แต่บทเหล่าใด ย่อมส่องถึงเอกเทศแห่งอรูปอันไม่เจือ
ด้วยรูป บทเหล่านั้น ทรงถือเอาในนิทเทสนี้. พึงทราบอุทานของบทเหล่านั้น
ดังนี้
"อรูปกฺขนฺธา จตฺตาโร มนายตนเมว จ
วิญฺญาณธาตุโย สตฺต เทฺว สจฺจา จุทฺทสินฺทฺริยา.
ปจฺจเย ทฺวาทส ปทา ตโต อุปริ โสฬส
ติเกสุ อฏฐ โคจฺฉเก เตจตฺตาฬิสเนว จ.
มหนฺตรทุเก สตฺตา ปทา ปิฏฺฐิทุเกสุ ฉ
นวมสฺส ปทสฺเสเต นิทฺเทเส สงฺคหํ คตา".

แปลว่า นามขันธ์ 4 มนายตนะ 1 วิญญาณธาตุ 7 สัจจะ 2 (คือ
สมุทยสัจจะมัคคสัจจะ.) อินทรีย์ 14 (คือ มนินทรีย์เป็นต้น ถืงอัญญาตา
วินทรีย์เป็นที่สุด) ปฏิจจสมุปบาท 12 (คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ ผัสสะ

เวทนา ตัณหาอุปาทาน กัมมภวะ โสกะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ) ต่อจากนั้น
ปฏิจจสมุปบาท 16 บท (คือ สติปัฏฐานเป็นต้น จนถึงมนสิการเป็นที่สุด) ใน
ติกะ 8 บท (คือ เวทนาติกะ 3 บท วิตักกติกะ 2 บท ได้แก่ปฐมบทและทุติยบท
และปีติติกะ 3 บท) ในโคจฉกะ 43 บท (คือ เหตุโคจฉกะ 6 บท อาสวโคจฉกะ
4 บท สัญโญชนโคจฉกะ 4 บท คันถโคจฉกะ 8 บท โอฆโคจฉกะ 4 บท
โยคโคจฉกะ 4 บท นีวรณโคจฉกะ 4 บท ปรามาสโคจฉกะ 3 บท
อุปาทานโคจฉกะ 4 บท กิเลสโคจฉกะ 6 บท) ในมหันตรทุกะ 7 บท (คือ
จิตตบท เจตสิกบท จิตตสัมปยุตตบท จิตตสังสัฏฐบท จิตตสัฏฐสมุฏฐานบท
จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูบท จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติบท) ในปิฏฐิทุกะ
6 บท (คือ สวิตักกบทสวิจารบท สัปปีติกบท ปีติสหคตบท สุขสหคตบท
อุเปกขาสหคตบท) ธรรมทั้งหลาย (120 บท) ถึงการสงเคราะห์แห่งบทที่ 9.
ก็ในปัญหาทั้งปวง ธรรมเหล่าใด ทรงยกขึ้นเพื่อปุจฉา ธรรมเหล่า
นั้นสัมปยุตด้วยธรรมเหล่าใด มีอยู่ บัณฑิตพึงทราบประเภทแห่งธรรมมีขันธ์
เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งธรรมเหล่านั้น. เพราะว่า นามขันธ์ 3 นอกนี้
สัมปยุตด้วยเวทนาขันธ์ เวทนาขันธ์ก็สัมปยุตด้วยขันธ์เหล่านั้นอีก คือ เวทนา
ขันธ์นั้น สัมปยุตด้วยขันธ์ 3 มีสัญญาขันธ์ เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยมนายตนะ 1
ด้วยวิญญาณธาตุ 7 และด้วย สัญญา สังขารทั้งหลายบางอย่างนั่นแหละใน
ธัมมายตนะและธัมมธาตุ. ในปัญหาทั้งปวง ก็นัยนี้นั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาสัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส

10. วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส


[349] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย รูปขันธ์ ธรรมเหล่าใด
ประกอบไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์
อายตนะ ธาตุ เท่าไร ? ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อาตยตนะ
1 ธาตุ 7 และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางอย่าง.
[350] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย เวทนาขันธ์ สัญญา-
ขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มนายตนะ
ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่
ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ 10
ธาตุ 10 และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางอย่าง.
[351] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย จักขวายตนะ ฯ เป ฯ
โผฏฐัพพายตนะ จักขุธาตุ ฯ เป ฯ โผฏฐัพพธาตุ
ธรรมเหล่าใด ประกอบ
ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ
10 ธาตุ 7 และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางอย่าง.
[352] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วยจักขุวิญญาณธาตุ ฯเปฯ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สมุทยสัจ มรรคสัจ
ธรรมเหล่าใด ประกอบ
ไม่ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ 1 อายตนะ
10 ธาตุ 16 และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางอย่าง.
[353] ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่ได้ด้วย นิโรธสัจ จักขุนทรีย์
ฯ เป ฯ กายอินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์
ธรรมเหล่าใด ประกอบไม่
ได้ด้วยธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ประกอบไม่ได้ด้วยขันธ์ 4 อายตนะ 1
ธาตุ 7 และประกอบไม่ได้ด้วยอายตนะ 1 ธาตุ 1 บางอย่าง.