เมนู

อรรถกถาตัณหาวิจริตนิทเทส


อธิบาย ตัณหาวิจริต


คำว่า ตณฺหาวิจริตานิ ได้แก่ ความปรากฏแห่งตัณหา ความเป็น
ไปทั่วแห่งตัณหา. คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยเบญจขันธ์
ภายใน. ก็คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ. คำว่า อสฺมีติ โหติ แปลว่า ตัณหาว่า เรามี ดังนี้ ก็มี ได้แก่
คำว่า เรามี ดังนี้ก็มี เพราะอาศัยขันธปัญจกะภายใน นี้ใด แล้วถือเอาการ
ประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ. อธิบายว่า
ครั้นเมื่อการประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ยังมีอยู่ การยึดถือว่าเรามีอยู่ จึงมี.
ในคำว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ แปลว่า เราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มีเป็นต้น
พึงทราบว่า เมื่อการยึดถือเอา โดยการประชุมกันว่า เรามีอยู่อย่างนี้ มีอยู่
การยึดถือ 2 อย่าง ย่อมมี คือ ความยึดถือเอา โดยการไม่เปรียบเทียบ
(อนุปนิธาย) และการถือเอาโดยการเปรียบเทียบ (อุปนิธาย) ฯ ใน 2 อย่าง
นั้น คำว่า อนุปนิธาย ได้แก่การไม่อาศัยอาการอย่างอื่นว่า เรามีอยู่โดย
ประการนี้ เพราะทำภาวะของตนเท่านั้นให้เป็นอารมณ์. อธิบายว่า การยึดถือ
เอา ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า บรรดาชนทั้งหลายมี
กษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ดังนี้ เรียกว่า การยึดถือเอาโดยอนุปนิธายะ
ก่อน.
ส่วนการยึดถือเอา โดยอุปนิธายะ มี 2 อย่าง คือ โดยความเปรียบ
เทียบเสมอกับตน และไม่เสมอกับตน. เพื่อแสดงการยึดถือนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เอวสฺมิ และว่า อญฺญถสฺมิ ด้วย. บรรดาคำเหล่านั้น

คำว่า เอวสฺมิ นี้ เป็นการยึดถือโดยเปรียบเทียบเสมอกับตน. อธิบายว่า
กษัตริย์นี้ฉันใด พราหมณ์นี้ฉันใด แม้ตัวเราก็ฉันนั้น ดังนี้. คำว่า
อญฺญถสฺมิ นี้ เป็นการยึดถือเปรียบเทียบโดยความไม่เสมอกับตน อธิบายว่า
กษัตริย์นี้ ฉันใด พราหมณ์นี้ ฉันใด เราเป็นอย่างอื่น คือเลวกว่า หรือว่า
ยิ่งกว่าชนเหล่านั้น ดังนี้. ตัณหาวิจริต 4 เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ด้วยสามารถแห่งปัจจุบันก่อนนั่นแหละ. ส่วนตัณหาวิจริต 4 เหล่านี้มีซึ่งจัก
เกิดเป็นต้น ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งอนาคต. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่ง
ตัณหาเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด 4 ดังที่กล่าวไว้ก่อนนั่นแหละ.
คำว่า อสฺมิ ได้แก่ เราเที่ยง. คำว่า สาตสฺมิ ได้แก่ เราไม่เที่ยง.
อีกอย่างหนึ่ง พระบาลีว่า อสสฺมิ สตสฺมิ ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อตฺถิ เป็นอสธาตุ. คำว่า อตฺถิ นี้เป็นชื่อของคำว่าเที่ยง. คำว่า สีทติ
เป็นสตธาตุ. คำว่า สีทติ นี้ เป็นชื่อของคำว่า ไม่เที่ยง. เพราะเหตุนั้น
บัณฑิตพึงทราบบททั้ง 2 เหล่านี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง
สัสสตะและอุจเฉทะ. บททั้ง 4 ข้างหน้าแต่นี้ มีคำว่า สิยํ1 เป็นต้น พึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งความสงสัยและความกังวล
ใจ. บทเหล่านั้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวไว้ในหนวด 4 แรกนั้น
แหละ. ก็บททั้ง 42 มีคำว่า อปาหํ สิยํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้ด้วยสามารถแห่งอาการปรารถนา อย่างนี้ว่า ชื่อว่า เราพึงมีโดยประการ
นั้น ๆ บ้าง. บททั้ง 4 เหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด 4 แรก
นั่นแหละ.

1. เราพึงเป็น เราพึงเป็นโดยประการนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นโดยประการอื่น
2. เราพึงเป็นบ้าง เราพึงเป็นโดยประการนี้บ้าง เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง เราพึงเป็นประการอื่นบ้าง

ในบทเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบอย่างนี้.
เทฺว ทิฏฐิสีสา จตฺตาโร สุทฺธสีสา สีสมูลกา
ตโย ตโยติ เอตาน อฏฺฐารส วิภาวเย.

แปลว่า
บัณฑิตพึงชี้แจงตัณหาวิจริตธรรม
18 เหล่านี้ คือ 2 บท ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ
(มีทิฏฐิเป็นประธาน) 4 บทเป็นสุทธสีสะ
บทละสาม รวม 12 บท เป็นสีสมูลกะ ดังนี้.

จริงอยู่ ในบทเหล่านั้น สองบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วย
สามารถแห่ง สัสสตะ และอุจเฉทะ ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ. สี่บทเหล่านี้ คือ
อสฺมิ (แปลว่า ตัณหาว่าเราเป็น) ภวิสฺสํ (ตัณหาว่าเราจักเป็น) สิยํ (ตัณหา
ว่าเราพึงเป็น) อปาหํ สิยํ (ตัณหาว่าเราพึงเป็นบ้าง) ชื่อว่า สุทธสีสะ
เท่านั้น. สิบสองบท คืออย่างละ 3 มีคำว่า อิตฺถสฺมิ เป็นต้น (ตัณหาว่า
เราเป็นโดยประการนี้) ชื่อว่า สีสมูลกะ เพราะฉะนั้นพึงทราบ ตัณหาวิจริต
ธรรมเหล่านั้น อย่างนี้ว่า สองบท ชื่อว่า ทิฏฐิสีสะ สี่บท ชื่อว่า สุทธสีสะ
สิบสองบท ชื่อว่า สีสมูลกะ ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงจำแนกแสดงธรรมเหล่านั้น (ตัณ-
หาวิจริต) โดยลำดับเทียว จึงเริ่มคำว่า กถญฺจ อสฺมีติ โหติ เป็นอาทิ
(แปลว่า ก็ตัณหาว่า เรามี คือ อย่างไร). บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กิญฺจิ-
ธมฺมํ อนวการึ กริตฺวา
(แปลว่า ไม่ทำการแยกธรรมอันใดอันหนึ่ง)
อธิบายว่า ไม่ทำการแยกธรรมอะไร ๆ แม้สักอย่างหนึ่ง คือไม่ถือเอาแต่ละ
อย่างในบรรดาธรรมทั้งหลายมีรูป เวทนาเป็นต้น โดยถือเอารวมกันนั่นแหละ.

คำว่า อสฺมีติ ฉนฺทํ ปฏิลภติ (แปลว่า ย่อมได้ฉันทะ คือ ความพอใจ
ว่า เรามี ดังนี้) อธิบายว่า ถือเอาเบญจขันธ์รวมกันทั้งหมด แล้วย่อมได้ตัณหา
ว่าเราดังนี้. แม้ในคำว่า มานะ ทิฏฐิ ก็นัยนี้. ในธรรมเหล่านั้น (คือ ตัณหา
มานะ ทิฏฐิ) นิทเทสนี้ เป็นตัณหาวิจริตนิทเทส แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
มานะ ทิฏฐิก็ไม่เว้นจากตัณหา. เพราะฉะนั้น ในตัณหาวิจริตนิทเทสนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสมานะและทิฏฐิไว้ ด้วยสามารถแห่งอรรถอย่างเดียวกัน
กับตัณหาวิจริตนั้น. อีกอย่างหนึ่งแม้ธรรมทั้งสาม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ซึ่งเป็นธรรมทำสัตว์ให้เนิ่นช้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกขึ้นแสดงโดย
ตัณหาสีสะ (คือ มีตัณหาเป็นประธาน). ส่วนมานะทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงถือเอา เพื่ออธิบายตัณหานั้นโดยสมควรแก่ธรรมที่ยกขึ้นแสดงเท่านั้น. อีก
อย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา
จึงตรัสไว้อย่างนี้ เพื่อแสดงแม้ธรรมเครื่องเนิ่นช้าที่เหลือ (คือมานะทิฏฐิ)
กับตัณหานั้นนั่นแหละ. คำว่า ตสฺมึ สติ อิมานิ ปปญฺจิตานิ (แปลว่า
เมื่อธรรมทั้ง 3 มีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น) อธิบายว่า ครั้นเมื่อ
ธรรมเครื่องเนิ่นช้า 3 อย่าง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยนัยว่า ตสฺมึ
อสฺมีติ ฉนฺทํ ปฏิลภติ
เป็นต้น มีอยู่ ธรรมเหล่านี้ มีคำว่า อิตฺถสฺมีติ วา
(แปลว่า เราเป็นโดยประการนั้น) เป็นต้น ย่อมเป็นธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า
แล้ว ดังนี้.
ในคำทั้งหลายมีคำว่า ขตฺติโยสฺมิ (แปลว่า ตัณหาว่า เราเป็นกษัตริย์
เป็นต้น) บัณฑิตพึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า เราชื่อว่า เป็นกษัตริย์ ด้วย
เสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก (แต่งตั้ง) เราชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยความเป็น
ปุโรหิต โดยการเรียนมนต์เป็นต้น เราชื่อว่าเป็นแพศย์ ด้วยการรักษานาและ

โคเป็นต้น เราชื่อว่า เป็นเช่นชาติศูทร ด้วยความเป็นผู้แสวงหาอาหาร เรา
ชื่อว่าเป็นผู้ครองเรือน ด้วยลักษณะของคฤหัสถ์ ดังนี้ คำว่า เอวํ อิตฺถสฺมีติ
โหติ
(แปลว่า ตัณหาว่า เราเป็นอย่างนั้น) อธิบายว่า ตัณหา ย่อมยังวิธี
การแห่งกษัตริย์เป็นต้นในชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น ให้เกิดขึ้นในตนอย่าง
นี้แล้ว จึงพอใจวิธีการโดยประการอย่างนี้ว่า เป็นเรา ดังนี้. ในคำว่า ยถา
โส ขตฺติโย
เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ชนนั้นเป็นกษัตริย์
ด้วยเสนาอำมาตย์เป็นต้นอภิเษก ฉันใด แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ฉันนั้น.
ในนัยที่ 2 พึงทราบความโดยนัยนี้ว่า บุคคลนั้นเป็นกษัตริย์ โดยเสนา
อำมาตย์เป็นต้นอภิเษก ฉันใด แต่เราหาเป็นกษัตริย์เช่นนั้นไม่ คือว่า เป็น
คนเลวกว่าคนนั้น หรือว่าประเสริฐกว่า ดังนี้. แม้ในนิทเทสแห่งคำว่า ภวิสฺสํ
เป็นต้นก็นัยนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภาย
ในอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงจำแนกตัณหาวิจริตอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก.
จึงตรัสคำว่า ตตฺถ กตมานิ เป็นอาทิ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า พาหิรสฺส
อุปาทาย
ได้เเก่ อาศัยเบญจขันธ์ภายนอก. จริงอยู่ แม้คำว่า พาหิรสฺส
อุปาทาย
นี้ ก็เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. คำว่า อิมินา
ได้แก่ ด้วยรูปนี้ ฯลฯ หรือว่า ด้วยวิญญาณนี้. ก็คำที่เหลือ บัณฑิตพึง
ทราบเนื้อความ โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสวาระก่อนนั่นแหละ. ในนิทเทส-
วาระ คำว่า อวการึ กริตฺวา ได้แก่ ทำการแยกเบญจขันธ์. ในคำทั้งหลาย
มีคำว่า อิมินา อสฺมีติ ฉนฺทํ ปฏิลภติ เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ
อย่างนี้ว่า บุคคลถือเอาเบญจขันธ์ อย่างนี้ว่า อิมินา รูเปน วา ฯลฯ
วิญฺญาเณน วา
ดังนี้ โดยเอกเทส ย่อมได้ฉันทะว่า เรามีด้วยรูปนี้ เป็นต้น.

ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิมินา ขตฺติโยสฺมิ เป็นต้น พึงทราบเนื้อ
ความโดยนัยก่อนนั่นแหละ. อย่างนี้ว่า เราเป็นกษัตริย์ด้วยฉัตร หรือว่าด้วย
พระขรรค์ หรือว่าด้วยเสนาอำมาตย์อภิเษก ดังนี้. จริงอยู่ บทว่า อิมินา
เป็นสักว่าบทเท่านั้น คือเป็นคำวิเศษ ในข้อนี้. บทที่ท่านกล่าวว่า อิมินา
ดังนี้นั่นแหละ แม้ในคำว่า ยถา โส ขตฺติโย เป็นต้น ก็เป็นบทวิเศษ.
เพราะฉะนั้น บัณฑิตครั้นประกอบทอย่างนี้ว่า เป็นกษัตริย์ด้วยสามารถแห่ง
รูปนั้น ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น หรือว่า เป็นกษัตริย์ด้วยพระขรรค์ หรือว่า
ด้วยฉัตร หรือว่าด้วยเสนาอำมาตย์อภิเษกนี้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้ พึง
ทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. คำว่า อิมินา นิจฺโจสฺมิ (แปลว่า
เราเที่ยงด้วยรูปนี้) อธิบายว่า ครั้นทำการแยกเบญจขันธ์แล้วก็ถือเอาธรรม
อย่างหนึ่งในรูปเป็นต้นนั่นแหละว่าเป็นเรา แล้วย่อมสำคัญว่า เราเที่ยง เรา
ยั่งยืนด้วยพระขรรค์นี้ หรือว่าด้วยฉัตร ดังนี้. แม้ในคำว่า อุจเฉททิฏฐิ ก็
นัยนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
คำว่า อิติ เอวรูปานิ อตีตินิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหาวิจริตใน
อดีต ของแต่ละบุคคล มี 36. คำว่า อนาคตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ ตัณหา
วิจริต ในอนาคต ของแต่ละบุคคลนั่นแหละ มี 36. คำว่า ปจฺจุปฺปนฺนานิ
ฉตฺตึส
ได้แก่ ตัณหาวิจริตในปัจจุบัน 36 ของบุคคลคนหนึ่ง ๆ หรือว่า
มากคนด้วยสามารถแห่งตัณหาตามที่ได้. ก็บัณฑิตพึงทราบตัณหาวิจริตของ
สัตว์ทั้งปวงในอดีตโดยส่วนเดียวเท่านั้นมี 36 ในอนาคต 36 ในปัจจุบัน 36
ดังนี้. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายชนิดที่มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ มิใช่เช่นเดียวกัน
มีมากนายหาที่สุดมิได้. อนึ่ง ในข้อว่า อฏฺฐสตํ ตณฺหาวิจริตํ โหติ นี้

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า ตัณหาวิจริต กล่าวคือ ตัณหา
108 ดังนี้นั่นแหละ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ตัณหาวิจริตนิทเทส จบ

ในทิฏฐิคตนิทเทส


คำว่า พฺรหฺมชาเล เวยฺยากรเณ ได้แก่ พระสูตรที่หนึ่งแห่ง
คัมภีร์ทีฆนิกาย อันเป็นคำไวยากรณ์ ชื่อว่า พรหมชาละ. คำว่า วุตฺตานิ
ภควตา
ได้แก่ ภาษิตที่พระศาสดา ตรัสโดยพระองค์เอง. ในคำว่า จตฺตาโร
สสฺสตวาทา
เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบประเภท และเนื้อความแห่งทิฏฐิ
โดยนัยที่กล่าวในพรหมชาลสูตร มีคำว่า เต จ โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา
กิมาคมฺม กิมารพฺภ สสฺสตวาทา สสฺสตํ อตฺตานญฺจ โลกญฺจ ปญฺญ-
เปนฺติ จตูหิ วตฺถูหิ
เป็นต้น นั่นแหละ (แปลว่า ก็สมณพราหมณ์ ผู้
เจริญ ซึ่งมีวาทะว่าเที่ยงเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงบัญญัติว่า
อัตตา และโลกเที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ) ดังนี้.
วรรณนาขุททกวัตถุวิภังค์ในอรรถกถาวิภังค์ ชื่อสัมโมหวิโนทนี จบ