เมนู

อรรถกถาตัณหาวิจริตนิทเทส


อธิบาย ตัณหาวิจริต


คำว่า ตณฺหาวิจริตานิ ได้แก่ ความปรากฏแห่งตัณหา ความเป็น
ไปทั่วแห่งตัณหา. คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยเบญจขันธ์
ภายใน. ก็คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ. คำว่า อสฺมีติ โหติ แปลว่า ตัณหาว่า เรามี ดังนี้ ก็มี ได้แก่
คำว่า เรามี ดังนี้ก็มี เพราะอาศัยขันธปัญจกะภายใน นี้ใด แล้วถือเอาการ
ประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ. อธิบายว่า
ครั้นเมื่อการประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ยังมีอยู่ การยึดถือว่าเรามีอยู่ จึงมี.
ในคำว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ แปลว่า เราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มีเป็นต้น
พึงทราบว่า เมื่อการยึดถือเอา โดยการประชุมกันว่า เรามีอยู่อย่างนี้ มีอยู่
การยึดถือ 2 อย่าง ย่อมมี คือ ความยึดถือเอา โดยการไม่เปรียบเทียบ
(อนุปนิธาย) และการถือเอาโดยการเปรียบเทียบ (อุปนิธาย) ฯ ใน 2 อย่าง
นั้น คำว่า อนุปนิธาย ได้แก่การไม่อาศัยอาการอย่างอื่นว่า เรามีอยู่โดย
ประการนี้ เพราะทำภาวะของตนเท่านั้นให้เป็นอารมณ์. อธิบายว่า การยึดถือ
เอา ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า บรรดาชนทั้งหลายมี
กษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ดังนี้ เรียกว่า การยึดถือเอาโดยอนุปนิธายะ
ก่อน.
ส่วนการยึดถือเอา โดยอุปนิธายะ มี 2 อย่าง คือ โดยความเปรียบ
เทียบเสมอกับตน และไม่เสมอกับตน. เพื่อแสดงการยึดถือนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เอวสฺมิ และว่า อญฺญถสฺมิ ด้วย. บรรดาคำเหล่านั้น