เมนู

ในคำว่า นี้เป็นเรา ก็ดี หรือเราจักเป็นไปก็ดี ก็ชื่อว่า อิญชิตะ. มานะ
นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แม้ด้วยหมวดเก้าที่เหลือ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสว่า ชื่อว่า มานะ เพราะความหวั่น-
ไหว. ชื่อว่า ความหวั่นไหวเพราะความสำคัญตน. ชื่อว่า ความสำคัญตน
เพราะความดิ้นรน. ชื่อว่า ความดิ้นรน เพราะเป็นธรรมยังสัตว์ให้เนิ่นช้า.
ธรรมที่ยังสัตว์ให้เนิ่นช้า ชื่อว่า สังขตะ เพราะการปรุงแต่ง ด้วยเหตุนั้น ๆ
ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
นวกนิทเทส จบ

อรรถกถาทสกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวด 10


กิเลสวัตถุ 10 คือ กิเลส 10 นั่นแหละ. ก็ในนิทเทสนี้ กิเลสวัตถุนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรื่องนี้กับด้วยอาฆาตอันเกิดขึ้นในอฐานะ. ซึ่งเป็นดัง
กระทบตอไม้และหนามเป็นต้น อันบุคคลไม่พึงให้กำเริบ ด้วยสามารถแห่ง
บททั้งหลายมีคำว่า อนตฺถํ เม อจริ เป็นต้น แปลว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อม
เสียแก่เรา. คำว่า มิจฺฉาญาณํ ในมิจฉัตตะ 10 ได้แก่ โมหะอันเกิดขึ้น
โดยกิริยาที่พิจารณาว่า บรรดาการทำบาปทั้งหลาย เราขจัดได้แล้ว ขจัดดี
แล้ว ด้วยสามารถแห่งความคิดโดยอุบาย. คำว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ได้แก่
ธรรมที่เป็นชื่อของวิมุตติ ของบุคคลผู้ยังไม่หลุดพ้นอยู่นั่นแหละ. บทที่เหลือ
ในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ทสกนิทเทส จบ

อรรถกถาตัณหาวิจริตนิทเทส


อธิบาย ตัณหาวิจริต


คำว่า ตณฺหาวิจริตานิ ได้แก่ ความปรากฏแห่งตัณหา ความเป็น
ไปทั่วแห่งตัณหา. คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยเบญจขันธ์
ภายใน. ก็คำว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ. คำว่า อสฺมีติ โหติ แปลว่า ตัณหาว่า เรามี ดังนี้ ก็มี ได้แก่
คำว่า เรามี ดังนี้ก็มี เพราะอาศัยขันธปัญจกะภายใน นี้ใด แล้วถือเอาการ
ประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ. อธิบายว่า
ครั้นเมื่อการประชุมแห่งปัญจขันธ์นั้น ยังมีอยู่ การยึดถือว่าเรามีอยู่ จึงมี.
ในคำว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ แปลว่า เราเป็นโดยประการนี้ ดังนี้ ก็มีเป็นต้น
พึงทราบว่า เมื่อการยึดถือเอา โดยการประชุมกันว่า เรามีอยู่อย่างนี้ มีอยู่
การยึดถือ 2 อย่าง ย่อมมี คือ ความยึดถือเอา โดยการไม่เปรียบเทียบ
(อนุปนิธาย) และการถือเอาโดยการเปรียบเทียบ (อุปนิธาย) ฯ ใน 2 อย่าง
นั้น คำว่า อนุปนิธาย ได้แก่การไม่อาศัยอาการอย่างอื่นว่า เรามีอยู่โดย
ประการนี้ เพราะทำภาวะของตนเท่านั้นให้เป็นอารมณ์. อธิบายว่า การยึดถือ
เอา ด้วยสามารถแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า บรรดาชนทั้งหลายมี
กษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ดังนี้ เรียกว่า การยึดถือเอาโดยอนุปนิธายะ
ก่อน.
ส่วนการยึดถือเอา โดยอุปนิธายะ มี 2 อย่าง คือ โดยความเปรียบ
เทียบเสมอกับตน และไม่เสมอกับตน. เพื่อแสดงการยึดถือนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสว่า เอวสฺมิ และว่า อญฺญถสฺมิ ด้วย. บรรดาคำเหล่านั้น