เมนู

ก็คำว่า อัตตามีรูปก็ไม่ใช่ ไม่มีรูปก็ไม่ใช่ เป็นทิฏฐิของผู้ชอบ
ตรึกโดยส่วนเดียวเท่านั้น. คำว่า อนฺตวา (แปลว่า อัตตามีที่สุด) ได้แก่
ทิฏฐิของบุคคลผู้ถือปริตตกสิณ (กสิณมีอารมณ์เล็กน้อย) โดยความเป็นอัตตา.
คำว่า อนนฺตวา ได้แก่ ทิฏฐิของผู้ถือกสิณมีอารมณ์ไม่มีประมาณ. คำว่า
อนฺตวา จ อนนฺตวา จ (แปลว่า อัตตาทั้งที่มีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ได้แก่
ทิฏฐิอันเกิดขึ้น เพราะถือเอากสิณในเบื้องบนและเบื้องต่ำที่มีที่สุด และถือ
เอากสิณในเบื้องขวางที่ไม่มีที่สุดว่าเป็นอัตตา. คำว่า เนวนฺตวา นานนฺตวา
(แปลว่า อัตตามีที่สุดก็มิใช่ หาที่สุดมิได้ก็มิใช่) ได้แก่ทิฏฐิของพวกชอบคิด
เท่านั้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
อัฏฐกนิทเทส จบ

อรรถกถานวกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวด 9


คำว่า อาฆาตวัตถุ 9 นี้ เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย. ธรรม
ทั้งหลายที่ชื่อว่า ปุริสมละ เพราะเป็นมลทินต่อบุรุษ. คำว่า นววิธา ได้แก่
มลทิน 9 อย่าง หรือว่า 9 ประเภท.

ตัณหามูลธรรม


คำว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ เพราะอาศัยตัณหา คำว่า ปริเยสนา
ได้แก่ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อตัณหายังมีอยู่ อารมณ์
มีรูปเป็นต้นนั้นก็มีอยู่. คำว่า ลาโภ ได้แก่ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น.
จริงอยู่ เมื่อการแสวงหายังมีอยู่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็มีอยู่.

ก็วินิจฉัยมี 4 ด้วยอำนาจแห่ง ญาณ ตัณหา ทิฏฐิ และวิตก.
ในคำเหล่านั้น ปัญญาใดที่พึงรู้การวินิจฉัย (การตัดสินใจ) ได้โดย
ง่าย ครั้นรู้การวินิจฉัยดีแล้ว ก็ประกอบความสุขเนือง ๆ ในภายใน นี้ชื่อว่า
ญาณวินิจฉัย. วินิจฉัย 2 คือ ตัณหาวินิจฉัย ทิฏฐิวินิจฉัย อันมาแล้วใน
พระบาลีนั้น ตัณหาวิจริต 108 ชื่อว่า ตัณหาวินิจฉัย. ทิฏฐิ 62 ชื่อว่า
ทิฏฐิวินิจฉัย. ก็ความตรึกนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า
วินิจฉัยในวิภังค์นี้
มาในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะ (ความพอใจ)
แล เป็นเหตุแห่งความตรึก ดังนี้.
จริงอยู่ บุคคลใดได้ลาภแล้ว ย่อมวินิจฉัยซึ่งสิ่งนั้น ๆ ว่า สิ่งนี้เป็น
ของชอบใจ สิ่งนี้ไม่ชอบใจ หรือว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดีด้วยความตรึกนั่นแหละ
คือ โดยตรึกว่า สิ่งของมีประมาณเท่านี้ จักมีแก่เรา เพื่อความเจริญแห่ง
รูปารมณ์ สิ่งของมีประมาณเท่านี้ จักมีแก่เรา เพื่อความเจริญแห่งสัททารมณ์
เป็นต้น สิ่งของมีประมาณเท่านี้สมควรแก่เรา สิ่งของมีประมาณเท่านี้สมควร
แก่ผู้อื่น เราจักบริโภคมีประมาณเท่านี้ จักเก็บไว้มีประมาณเท่านี้ ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการ
วินิจฉัย ดังนี้.
คำว่า ฉนฺทราโค ได้แก่ ราคะ คือ ความยินดี อันมีกำลังทราม
ด้วย อันมีกำลังมากด้วย ย่อมเกิดในวัตถุอันตรึกด้วยอกุศลวิตก อย่างนี้. ก็
คำว่า ฉนฺโท ในวิภังค์นี้ เป็นชื่อของราคะมีกำลังทราม. คำว่า อชฺโฌสานํ
ได้แก่ ความยึดถืออันมีกำลังว่า เป็นเรา เป็นของของเรา ดังนี้. คำว่า
ปริคฺคโห แปลว่า ความหวงแหน ได้แก่ การทำความหวงแหนด้วยอำนาจ
แห่งตัณหาและทิฏฐิ. คำว่า มจฺฉริยํ ความตระหนี่ ได้แก่ ความไม่อดทน

เพื่อให้เป็นของสาธารณะแต่ชนเหล่าอื่น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ อาจารย์ใน
ปางก่อน จึงกล่าวความหมายแห่งตัณหาและทิฏฐินั้นไว้อย่างนี้ว่า ความอัศจรรย์
นี้จงมีแก่เราเท่านั้น จงอย่ามีแก่บุคคลอื่น เป็นต้น เพราะความเป็นไปแห่ง
ตัณหาและทิฏฐินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกธรรมนี้ว่า ความตระหนี่
ดังนี้. คำว่า อารกฺโข แปลว่า การรักษา ได้แก่ การรักษาด้วยดี ด้วย
อำนาจแห่งการคุ้มครองป้องกันสิ่งของนั้น ๆ โดยการปิดประตูและเก็บไว้ใน
หีบเป็นต้น. คำว่า อธิกโร ได้แก่ อธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้น. คำว่า
อธิกรณ์นี้ เป็นชื่อของเหตุ.1 คำว่า อารกฺขาธิกรณํ นี้ เป็นศัพท์นปุงสก-
ลิงค์ ในความมี ความเป็น อธิบายว่า เป็นเหตุแห่งการรักษา.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตัณหามูลกธรรม 9 เพื่อห้ามอกุศลธรรม
อื่น ๆ ในเพราะการเบียดเบียนสัตว์มีการจับท่อนไม้เป็นต้น. การจับถือท่อน-
ไม้ ท่านเรียกว่า ทัณฑาทานะ. การจับถือศาสตรามีคมข้างเดียว เป็นต้น
ชื่อว่า สัตถาทานะ. การทะเลาะด้วยกายก็ตาม การทะเลาะด้วยวาจาก็ตาม
ชื่อว่า การทะเลาะ. ความพิโรธ การโต้เถียงเกิดขึ้นก่อน การวิวาทเกิดขึ้น
ทีหลัง. คำว่า ตุวํ ตุวํ2 เป็นถ้อยคำที่ไม่เคารพ ท่านแก้ศัพท์นี้ว่าเป็น
ตฺวํ ตฺวํ ดังนี้.
การสั่นสะเทือน การหวั่นไหว ชื่อว่า อิญชิตะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสมานะนั่นแหละไว้ในคำว่า อสฺมิ (แปลว่า เป็นเรา) ไว้ด้วยบททั้งปวง
ซึ่งมีคำว่า อิญฺชิตเมตํ เป็นต้น. จริงอยู่ มานะ แม้เป็นไปแล้วในคำว่า
เป็นเรา ดังนี้ ก็ชื่อว่า อิญชิตะนั่นแหละ. เนวสัญญีนาสัญญี3 อันเป็นไป

1. เหตุ ได้แก่ การทะเลาะ การแก่งแย่ง การพูดขึ้นมึงกู เป็นต้น
2. หมายถึงการพูดเร็ว ๆ ว่า ท่าน ๆ
3. เราจักเป็นสัตว์ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

ในคำว่า นี้เป็นเรา ก็ดี หรือเราจักเป็นไปก็ดี ก็ชื่อว่า อิญชิตะ. มานะ
นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แม้ด้วยหมวดเก้าที่เหลือ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสว่า ชื่อว่า มานะ เพราะความหวั่น-
ไหว. ชื่อว่า ความหวั่นไหวเพราะความสำคัญตน. ชื่อว่า ความสำคัญตน
เพราะความดิ้นรน. ชื่อว่า ความดิ้นรน เพราะเป็นธรรมยังสัตว์ให้เนิ่นช้า.
ธรรมที่ยังสัตว์ให้เนิ่นช้า ชื่อว่า สังขตะ เพราะการปรุงแต่ง ด้วยเหตุนั้น ๆ
ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
นวกนิทเทส จบ

อรรถกถาทสกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวด 10


กิเลสวัตถุ 10 คือ กิเลส 10 นั่นแหละ. ก็ในนิทเทสนี้ กิเลสวัตถุนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรื่องนี้กับด้วยอาฆาตอันเกิดขึ้นในอฐานะ. ซึ่งเป็นดัง
กระทบตอไม้และหนามเป็นต้น อันบุคคลไม่พึงให้กำเริบ ด้วยสามารถแห่ง
บททั้งหลายมีคำว่า อนตฺถํ เม อจริ เป็นต้น แปลว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อม
เสียแก่เรา. คำว่า มิจฺฉาญาณํ ในมิจฉัตตะ 10 ได้แก่ โมหะอันเกิดขึ้น
โดยกิริยาที่พิจารณาว่า บรรดาการทำบาปทั้งหลาย เราขจัดได้แล้ว ขจัดดี
แล้ว ด้วยสามารถแห่งความคิดโดยอุบาย. คำว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ได้แก่
ธรรมที่เป็นชื่อของวิมุตติ ของบุคคลผู้ยังไม่หลุดพ้นอยู่นั่นแหละ. บทที่เหลือ
ในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ทสกนิทเทส จบ