เมนู

ฉันทราคนิทเทส


อธิบาย ฉันทราคะ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยย่อว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยเรือน ชื่อว่า
ฉันทราคะ เพราะอาศัยเรือน คือ กาม ดังนี้ แล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม
นั้น โดยประเภทอีก จึงตรัสว่า มนาปิเยสุ รูเปสุ เป็นต้น. บรรดาคำ
เหล่านั้น คำว่า มนาปิเยสุ ได้แก่ ความชอบใจ อันยังใจให้เจริญ.
วิโรธวัตถุ คือ ความพิโรธ (ความอาฆาต).
คำว่า อคารโว ในอคารวะทั้งหลาย ได้แก่ เว้นจากความเคารพ.
คำว่า อปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ประพฤติตามถ้อยคำ. ก็ข้อนี้
ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุใด ย่อมไม่ไปสู่ที่บำรุงในกาลทั้ง
3 เมื่อพระศาสดาไม่สวมรองพระบาทจงกรมอยู่ ภิกษุใดสวมรองเท้าจงกรมอยู่
เมื่อพระศาสดาจงกรมอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมจงกรมในที่จงกรมสูง เมื่อพระ-
ศาสดาประทับอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมอยู่ในที่สูง ภิกษุใด ย่อมห่มคลุมไหล่
ทั้งสอง ย่อมกั้นร่ม ย่อมสวมรองเท้า ย่อมอาบน้ำ ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ในที่อันเห็นพระศาสดา ก็หรือว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ภิกษุใด
ย่อมไม่ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ ย่อมทำการงานทั้งปวง อันกล่าวแล้ว ในที่
อันมองเห็นพระเจดีย์ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในพระศาสดา.
ก็ภิกษุใด ไปฟังธรรมที่สงฆ์ประกาศแล้ว โดยไม่เคารพ. ย่อมไม่
ฟังโดยเคารพ ย่อมนั่งสนทนากัน. ย่อมเรียนโดยไม่เคารพ. ย่อมกล่าวสอน
โดยไม่เคารพ ภิกษุนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เคารพในพระธรรม.
ก็ภิกษุใด ไม่ได้รับการเชื้อเชิญจากภิกษุเถระให้แสดงธรรม ย่อม
แสดงธรรม ย่อมแก้ปัญหา ย่อมเดิน ยืน นั่ง กระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า
หรือว่านั่งเอาผ้ารัดเข่า เอามือรัดเข่า ย่อมห่มคลุมไหล่ทั้งสองในท่ามกลางสงฆ์

ย่อมกั้นร่มและสวมรองเท้า ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในสงฆ์ จริงอยู่
ภิกษุแม้กระทำความไม่เคารพในเรื่องที่กล่าวแล้วเพียงอย่างเดียวในสงฆ์ก็ชื่อว่า
ไม่เคารพในสงฆ์เหมือนกัน.
ก็ภิกษุใดยังไม่กระทำสิกขา 3 ให้บริบูรณ์ ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่
เคารพในสิกขา.

เมื่อภิกษุใดไม่เจริญลักษณะแห่งความไม่ประมาทเนือง ๆ ภิกษุนั้น
ชื่อว่า ไม่เคารพในความไม่ประมาท.
เมื่อไม่กระทำปฏิสันถาร 2 อย่าง1
ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถาร.
คำว่า ปริหานิยา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันกระทำซึ่งความ
เสื่อม. คำว่า กมฺมารามตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วด้วย
ความยินดียิ่งในนวกรรม (การก่อสร้าง) หรือว่า ในการงานทั้งหลาย มีการ
ใคร่ครวญคิดถึงจีวรเป็นต้น. คำว่า ภสฺสารามตา ได้แก่ ประกอบแล้ว
ขวนขวายแล้วในการสนทนาด้วยสามารถแห่งคำอันเป็นดิรัจฉานกถา. คำว่า
นิทฺทารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการหลับนอน คำว่า
สงฺคณิการามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการคลุกคลีด้วยหมู่.
คำว่า สํสคฺคารามตา ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในการอยู่ร่วมกัน
5 อย่าง คือในการอยู่ร่วมกันด้วยการฟัง อยู่ร่วมกันด้วยการดู อยู่ร่วมกัน
ด้วยการสนทนา อยู่ร่วมกันด้วยการบริโภค อยู่ร่วมกันด้วยกาย. คำว่า ปปญฺ-
จารามตา
ได้แก่ ประกอบแล้วขวนขวายแล้วในธรรมอันยังสัตว์ให้เนิ่นช้า
คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โสมนัสสุปวิจาร เป็นต้น. ธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่า โสมนัสสุปวิจาร เพราะอรรถว่าย่อมครุ่นคิดถึงซึ่งการเกิดขึ้นร่วมกับ
1. ปฏิสันถาร 2 คือ อามิสปฏิสันถาร ธัมมปฏิสันถาร

โสมนัส. คำว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา ได้แก่ เห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. คำว่า
โสมนสฺสฏฺฐานิยํ ได้แก่ เป็นเหตุแห่งโสมนัส ด้วยสามารถแห่งอารมณ์.
ในคำว่า อุปวิจรติ นั้น ได้แก่ ย่อมครุ่นคิดถึง โดยความเป็นไปแห่งวิจาร.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในหมวด 6 แม้ทั้ง 3 คือ โสมนัสสุปวิจาร โทม-
นัสสุปวิจาร และอุเปกขูปวิจาร โดยนัยนี้ว่า วิตกฺโก ปน ตํสมํปยุตฺโต
วา
ดังนี้ (แปลว่า วิตกเป็นธรรมสัมปยุตกับด้วยวิจารนั้น)
คำว่า เคหสิตานิ ได้แก่ อิงอาศัยกามคุณ. คำว่า โสมนสฺสานิ
ได้แก่ ความสุขทางใจ. คำว่า โทมนสฺสานิ ได้แก่ ความทุกข์ทางใจ.
คำว่า อุเปกฺขา ได้แก่ อุเขกขาเวทนาอันสัมปยุตด้วยอัญญาณ (คือ โมหะ).
แม้คำว่า อญฺญาณุเปกฺขา ดังนี้ ก็เป็นชื่อของอุเบกขาอันสัมปยุตด้วยอัญญาณ
นั่นแหละ.

ทิฏฐิ 6


วา

ศัพท์ในบททั้งปวง ในคำว่า อตฺถิ เม อตฺตาติ วา นี้ เป็น
นิบาตกำหนดเนื้อความ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิบายว่า ควานเห็นผิด
ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ก็ดี. ก็สัสสตทิฏฐิ ย่อมถือเอาซึ่งความที่ตนมีอยู่ในกาล
ทั้งปวง ในคำว่า อตฺถิ เม อตฺตา นี้. คำว่า สจฺจโต เถตโต ได้แก่
โดยแท้จริง โดยมั่นคง. คำว่า อิทํ สจฺจํ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบาย
ว่า โดยความเป็นสิ่งมั่นคงด้วยดี. คำว่า นตฺถิ เม อตฺตา (แปลว่า อัตตา
ของเราไม่มี) อธิบายว่า ทิฏฐินี้ ชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะถือเอาความไม่มี
แห่งสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ในที่นั้น ๆ.