เมนู

ฉันทราคนิทเทส


อธิบาย ฉันทราคะ


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้โดยย่อว่า ธรรมทั้งหลายอาศัยเรือน ชื่อว่า
ฉันทราคะ เพราะอาศัยเรือน คือ กาม ดังนี้ แล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม
นั้น โดยประเภทอีก จึงตรัสว่า มนาปิเยสุ รูเปสุ เป็นต้น. บรรดาคำ
เหล่านั้น คำว่า มนาปิเยสุ ได้แก่ ความชอบใจ อันยังใจให้เจริญ.
วิโรธวัตถุ คือ ความพิโรธ (ความอาฆาต).
คำว่า อคารโว ในอคารวะทั้งหลาย ได้แก่ เว้นจากความเคารพ.
คำว่า อปฺปติสฺโส ได้แก่ ผู้ไม่เชื่อฟัง ไม่ประพฤติตามถ้อยคำ. ก็ข้อนี้
ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ภิกษุใด ย่อมไม่ไปสู่ที่บำรุงในกาลทั้ง
3 เมื่อพระศาสดาไม่สวมรองพระบาทจงกรมอยู่ ภิกษุใดสวมรองเท้าจงกรมอยู่
เมื่อพระศาสดาจงกรมอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมจงกรมในที่จงกรมสูง เมื่อพระ-
ศาสดาประทับอยู่ในที่ต่ำ ภิกษุใดย่อมอยู่ในที่สูง ภิกษุใด ย่อมห่มคลุมไหล่
ทั้งสอง ย่อมกั้นร่ม ย่อมสวมรองเท้า ย่อมอาบน้ำ ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ในที่อันเห็นพระศาสดา ก็หรือว่า เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ภิกษุใด
ย่อมไม่ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ ย่อมทำการงานทั้งปวง อันกล่าวแล้ว ในที่
อันมองเห็นพระเจดีย์ ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพในพระศาสดา.
ก็ภิกษุใด ไปฟังธรรมที่สงฆ์ประกาศแล้ว โดยไม่เคารพ. ย่อมไม่
ฟังโดยเคารพ ย่อมนั่งสนทนากัน. ย่อมเรียนโดยไม่เคารพ. ย่อมกล่าวสอน
โดยไม่เคารพ ภิกษุนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เคารพในพระธรรม.
ก็ภิกษุใด ไม่ได้รับการเชื้อเชิญจากภิกษุเถระให้แสดงธรรม ย่อม
แสดงธรรม ย่อมแก้ปัญหา ย่อมเดิน ยืน นั่ง กระทบกระทั่งภิกษุผู้แก่กว่า
หรือว่านั่งเอาผ้ารัดเข่า เอามือรัดเข่า ย่อมห่มคลุมไหล่ทั้งสองในท่ามกลางสงฆ์