เมนู

ว่า เพราะเวทนาเป็นผู้กระทำเวทนา ฉะนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ.
คำว่า สุขทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ดังนี้ ได้แก่ทิฏฐิความ
เห็นผิดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ตนทำเองครึ่งหนึ่ง ผู้อื่นทำให้ครึ่งหนึ่ง
โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. นี้ ชื่อว่า สัสสตุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิความ
เห็นผิดข้อที่ 4 เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ไม่มีเหตุเลย ดังนี้ ครั้นเมื่อ
ความเป็นอย่างนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ. บทที่เหลือในที่นี้ มี
อรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวในหนหลังแล.
จตุกกนิทเทส จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 5


สัญโญชน์ทั้งหลาย มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันบุคคลใดยังมิได้ละ
สัญโญชน์เหล่านี้ก็จะคร่าบุคคลเหล่านั้นผู้เกิดอยู่แม้ในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ) ให้
ไปในกามภพนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์เหล่านี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โอรัมภาคิยะ1 (เบื้องต่ำ). ด้วยเหตุนี้ สัญโญชน์
5 เหล่านี้ จึงมิได้ห้ามผู้ไปสู่ภวัคคภูมิ ก็แต่ย่อมนำผู้ไปแล้วนั้นให้กลับมาสู่
ภพนี้อีก. สัญโญชน์เบื้องบน2 มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องข้อง และชื่อว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะอรรถว่า เข้าไปเสียบแทง

1. สัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
2. อุทธมภาคิยสัญโญชน์ 5 คือ รูปราคะ อรปราคะ มานะ อุทธัจจะ วิชชา