เมนู

ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล ก็เพราะเป็นราวกะน้ำที่ไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น.
การลำเอียงนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเป็นธรรมสาธารณะแม้แก่การลำเอียง
ทั้ง 4.

วิปริเยสะ


ความเข้าใจผิด

สภาวะใด ย่อมแสวงหาสิ่งตรงกันข้าม โดยนัยว่า สิ่งทั้งหลายมีความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า วิปริเยสะ
(ความเข้าใจผิด). ความเข้าใจผิด เพราะสัญญา ชื่อว่า สัญญาวิปริเยสะ.
ในวิปริเยสะทั้ง 2 แม้นอกนี้ก็นัยนี้. วิปริเยสะทั้ง 4 เหล่านั้น ย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ 4 (คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ และอสุภะ) จึงเป็นวิปริเยสะ 12
ด้วยสามารถแห่งสัญญาเป็นต้น. ในวัตถุเหล่าใด วิปริเยสะ 8 ในวิปริเยสะ
เหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ในคำว่า อสุเภ สุภํ นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า สัญญาและจิตตวิปัลลาส ย่อมเบาบางไป ด้วยสกทาคามิมรรค
และย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ในคำว่า ทุกฺเข สุขํ นี้ พึงทราบว่า ย่อม
ละได้ด้วยอรหัตมรรค.

อริยโวหาร


คำว่า อริยโวหารา ได้แก่ โวหารคือถ้อยคำทั้งหลาย อันมิใช่ของ
พระอริยะเป็นถ้อยคำลามก. คำว่า ทิฏฺฐวาทิตา (แปลว่า พูดว่าเห็น) ได้แก่
เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้ว. ก็ในคำนี้ บัณฑิตพึง
ทราบเนื้อความ ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันยังวาจานั้น ๆ ให้ตั้งขึ้น. แม้คำว่า

เจตนาที่บุคคลนั้นกล่าวพร้อมกับเสียง ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสไว้
แล้วนั่นแหละ. ในหมวด 4 แห่งอริยโวหารที่ 2 ก็นัยนี้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า
พระอริยะ ไม่เห็นแล้ว กล่าวว่า เราเห็นแล้ว หรือว่า เห็นแล้ว กล่าวว่า
เราไม่เห็น ย่อมไม่มี. บุคคลผู้มีใช่พระอริยะเท่านั้น ย่อมกล่าวอย่างนี้. เพราะ
ฉะนั้น เมื่อบุคคลกล่าวอยู่อย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เจตนา 8 กับ อนริย-
โวหาร 8 เหล่านี้ เกิดพร้อมกับเสียง.
หมวด 4 ที่หนึ่งในทุจริตทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วย
สามารถแห่งเจตนา อันเป็นบาป (เป็นเวร) หมวด 4 ที่สอง ตรัสไว้ด้วยสามารถ
แห่งวจีทุจจริต.
ในภัยทั้งหลาย ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยความเกิด (ชาติ) ชื่อว่า
ชาติภัย ในหมวด 4 ที่หนึ่ง. แม้ในภัยที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ. ภัยอันเกิดขึ้น
แต่พระราชา ชื่อว่า ราชภัย ในหมวด 4 ที่สอง. แม้ในภัยที่เหลือ ก็นัยนี้.
ภัย 4 ในหมวด 4 ที่สาม เมื่อบุคคลหยั่งลงสู่น้ำในมหาสมุทร จึงชื่อว่า เป็น
ภัยตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนั้น.
ได้ยินว่า ในมหาสมุทร คลื่นชื่อว่า มหินทวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้อง
บน 60 โยชน์. คลื่นชื่อว่า คังคาวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน 50 โยชน์.
คลื่นชื่อว่า โรหนวีจิ ตั้งขึ้นไปในเบื้องบน 40 โยชน์ ภัยอันเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยลูกคลื่นทั้งหลายเห็นปานนี้ ชื่อว่า อูมิภัย ภัยเกิดขึ้นแต่คลื่น. ภัยเกิด
แต่จระเข้ ชื่อว่า กุมภิลภัย. ภัยเกิดแต่วังน้ำวน ชื่อว่า อาวัฏฏภัย. สุํสุกา
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่าปลาร้ายภัยแต่ปลาร้ายนั้น ชื่อว่า สุงสุกาภัย.
คำว่า ภัยเกิดแต่การค่อนขอดตัวเอง ในหมวด 4 ที่สี่ได้แก่ ภัยอันเกิด

ขึ้นแก่บุคคลผู้มีบาปกรรมติเตียนตนเอง. คำว่า ภัยเกิดแต่การค่อนขอดผู้อื่น
ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นแต่การติเตียนบุคคลอื่น. คำว่า ภัยเกิดแต่อาชญา ได้แก่
ภัยอันเกิดขึ้น เพราะอาศัยอาชญาอันพระราชาให้เป็นไปแก่บุคคลผู้ครองเรือน
(อาคาริกบุคคล) และเพราะอาชญา คือพระวินัยของผู้ไม่ครองเรือน. คำว่า
ภัยเกิดแต่อบาย ได้แก่ ภัยอันเกิดขึ้นเพราะอาศัยอบายภูมิ 4. ชื่อว่า มหาภัย
16 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยภัย 4 หมวด ๆ ละ 4 เหล่านั้น ด้วย
ประการฉะนี้.
ชื่อว่า ติมพรูสกทิฏฐิ1 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในทิฏฐิจตุกกะ.
บรรดาทิฏฐิเหล่านั้น. คำว่า สุขทุกข์ตนทำเอง2 ดังนี้ ได้แก่ เมื่อบุคคลเห็น
เวทนา โดยความเป็นอัตตาตัวตนอยู่ ความเห็นผิดก็เกิดขึ้นว่า เวทนา อัน
เวทนานั่นเองทำไว้แล้ว ดังนี้. ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น ก็จะปรากฏว่า
เวทนาที่เกิดขึ้นในกาลก่อนนั้นยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ทิฏฐิ คือความเห็นผิดนี้
จึงชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ. คำว่า สจฺจโต เถตโต ได้แก่ (ทิฏฐิเกิดขึ้น) โดย
สัจจะ โดยถาวร. คำว่า สุขทุกข์อันคนอื่นทำให้3 ดังนี้ อธิบายว่า เมื่อ
เสวยเวทนาอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ก็เห็นว่า ตนมีเวทนา คือ มีเวทนาอื่นกระทำ
ให้ ทิฏฐิความเห็นผิด ก็จะเกิดขึ้นว่า เวทนานี้ อันเวทนาอื่นทำให้ ดังนี้.
ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนี้ ความขาดสูญแห่งเวทนาอันเกิดขึ้นก่อนย่อมปรากฏ

1. ติมพรูสกทิฏฐิ ได้แก่ ทิฏฐิที่ชุ่มอยู่ด้วยราคะ ท่านผู้รู้ให้คำอธิบายว่า เป็นทิฏฐิที่เกิดจาก
การเรียนมากแล้วมีมานะมาก ฉันเป็นผู้คงแก่เรียน (สัสสต, อุจเฉท, อเหตุกทิฏฐิ)
2. ในสักกายทิฏฐิว่า เวทนํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ แปลว่า เห็นเวทนา โดยความเป็นตน โดย
เข้าใจว่าเวทนาเป็นอันเดียวกับตน
3. ในสักกายทิฏฐิว่า เวทนาวนฺตํ วา อตฺตานํ แปลว่า อีกอย่างหนึ่ง เห็นตนมีเวทนา โดย
เข้าใจว่าตนกับเวทนาเป็นคนละอย่าง

ว่า เพราะเวทนาเป็นผู้กระทำเวทนา ฉะนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ.
คำว่า สุขทุกข์ตนทำเองด้วย คนอื่นทำให้ด้วย ดังนี้ ได้แก่ทิฏฐิความ
เห็นผิดที่เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ตนทำเองครึ่งหนึ่ง ผู้อื่นทำให้ครึ่งหนึ่ง
โดยอรรถตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. นี้ ชื่อว่า สัสสตุจเฉททิฏฐิ. ทิฏฐิความ
เห็นผิดข้อที่ 4 เกิดขึ้นแก่ผู้ยึดถือว่า สุขทุกข์ไม่มีเหตุเลย ดังนี้ ครั้นเมื่อ
ความเป็นอย่างนั้น ทิฏฐินี้ จึงชื่อว่า อเหตุกทิฏฐิ. บทที่เหลือในที่นี้ มี
อรรถตื้นทั้งนั้น เพราะมีนัยตามที่กล่าวในหนหลังแล.
จตุกกนิทเทส จบ

อรรถกถาปัญจกนิทเทส


อธิบายมาติกาหมวด 5


สัญโญชน์ทั้งหลาย มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น อันบุคคลใดยังมิได้ละ
สัญโญชน์เหล่านี้ก็จะคร่าบุคคลเหล่านั้นผู้เกิดอยู่แม้ในภวัคคภูมิ (ยอดภูมิ) ให้
ไปในกามภพนั่นแหละ เหตุใด เพราะเหตุนั้น สัญโญชน์เหล่านี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกว่า โอรัมภาคิยะ1 (เบื้องต่ำ). ด้วยเหตุนี้ สัญโญชน์
5 เหล่านี้ จึงมิได้ห้ามผู้ไปสู่ภวัคคภูมิ ก็แต่ย่อมนำผู้ไปแล้วนั้นให้กลับมาสู่
ภพนี้อีก. สัญโญชน์เบื้องบน2 มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องข้อง และชื่อว่า สัลละ (ลูกศร) เพราะอรรถว่า เข้าไปเสียบแทง

1. สัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สิลัพพตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท
2. อุทธมภาคิยสัญโญชน์ 5 คือ รูปราคะ อรปราคะ มานะ อุทธัจจะ วิชชา