เมนู

ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล ก็เพราะเป็นราวกะน้ำที่ไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น.
การลำเอียงนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเป็นธรรมสาธารณะแม้แก่การลำเอียง
ทั้ง 4.

วิปริเยสะ


ความเข้าใจผิด

สภาวะใด ย่อมแสวงหาสิ่งตรงกันข้าม โดยนัยว่า สิ่งทั้งหลายมีความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า วิปริเยสะ
(ความเข้าใจผิด). ความเข้าใจผิด เพราะสัญญา ชื่อว่า สัญญาวิปริเยสะ.
ในวิปริเยสะทั้ง 2 แม้นอกนี้ก็นัยนี้. วิปริเยสะทั้ง 4 เหล่านั้น ย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ 4 (คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ และอสุภะ) จึงเป็นวิปริเยสะ 12
ด้วยสามารถแห่งสัญญาเป็นต้น. ในวัตถุเหล่าใด วิปริเยสะ 8 ในวิปริเยสะ
เหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ในคำว่า อสุเภ สุภํ นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า สัญญาและจิตตวิปัลลาส ย่อมเบาบางไป ด้วยสกทาคามิมรรค
และย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ในคำว่า ทุกฺเข สุขํ นี้ พึงทราบว่า ย่อม
ละได้ด้วยอรหัตมรรค.

อริยโวหาร


คำว่า อริยโวหารา ได้แก่ โวหารคือถ้อยคำทั้งหลาย อันมิใช่ของ
พระอริยะเป็นถ้อยคำลามก. คำว่า ทิฏฺฐวาทิตา (แปลว่า พูดว่าเห็น) ได้แก่
เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้ว. ก็ในคำนี้ บัณฑิตพึง
ทราบเนื้อความ ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันยังวาจานั้น ๆ ให้ตั้งขึ้น. แม้คำว่า