เมนู

เกิด ย่อมเกิดเพราะจีวรเป็นเหตุฉันใด ตัณหานั้น แม้เมื่อจะเกิด ก็ย่อมเกิด
เพราะวัตถุอื่น ๆ อันประณีต และประณีตยิ่งกว่าเป็นเหตุฉันนั้น. ก็วัตถุทั้ง
หลาย มีน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น อันประณีตและประณีตยิ่งกว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในคำว่า ภวาภโว นี้. อนึ่ง บัณฑิตพึง
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอริยวงศ์ 4 ตามลำดับ เพื่อประโยชน์
แก่การละความเกิดขึ้นแห่งตัณหา 4 (ตัณหุปปาทา 4) เหล่านี้.

อคติคมนะ


คำว่า ฉนฺทาคตึ คจฺฉติ อธิบายว่า บุคคลย่อมลำเอียง คือย่อม
กระทำสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะฉันทะ คือเพราะความรัก. แม้ในบทอื่น ๆ
ก็นัยนี้. ในอคติเหล่านั้น บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันไม่ใช่เจ้าของ ให้เป็น
เจ้าของ ด้วยสามารถแห่งความพอใจรักใคร่ว่า บุคคลนี้เป็นมิตรของข้าพเจ้า
หรือว่าเป็นเพื่อน (สนฺทิฏโฐ) หรือว่าเป็น ผู้ร่วมกินร่วมนอน (สมภัตตะ)
หรือว่า เป็นญาติของข้าพเจ้า ก็หรือว่า บุกคลนี้ย่อมให้สินบนแก่ข้าพเจ้า
ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะรักใคร่ (ฉันทาคติ).
บุคคลใด ย่อมกระทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของให้เป็นของไม่ใช่เจ้า-
ของ ด้วยสามารถแห่งปกติเวร (คือ การไม่ชอบพอกันมาก่อน) หรือว่า ด้วย
สามารถแห่งความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้นนั่นแหละว่า ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา
ดังนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียงเพราะความไม่ชอบกัน (โทสาคติ).
บุคคลใด กล่าวคำใด ย่อมทำวัตถุอันเป็นของมีเจ้าของ ให้ไม่ใช่
เจ้าของ เพราะความโง่เขลา เพราะเป็นคนทึบ บุคคลนี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง
เพราะหลง (โมหาคติ).

บุคคลใด มีความกลัวว่า ผู้นี้ เป็นราชวัลลภ หรือว่าผู้นี้มีความ
ประพฤติไม่เรียบร้อย หรือว่า บุคคลนี้ จะพึงทำความฉิบหายให้แก่เรา ดังนี้
ย่อมทำบุคคลผู้มิใช่เจ้าของทรัพย์ ให้เป็นเจ้าของทรัพย์ ผู้นี้ ชื่อว่า ย่อมลำเอียง
เพราะความกลัว (ภยาคติ).
ก็อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใด เมื่อแบ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งในฐานะที่ควรแบ่ง
ย่อมให้มากกว่าผู้อื่น ด้วยอำนาจแห่งความรักว่า ผู้นี้ เป็นมิตรของเรา หรือ
ว่าเป็นเพื่อน หรือว่าเป็นผู้ร่วมกินร่วมนอน ดังนี้. ย่อมให้น้อยด้วยอำนาจ
แห่งโทสะว่า ผู้นี้ เป็นศัตรูของเรา ดังนี้ เมื่อไม่รู้ว่า สิ่งนี้อันเราให้แล้ว
หรือว่ายังมิให้ เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา ย่อมให้สิ่งของมากแก่คนบางคน
ย่อมให้น้อยแก่คนบางคน ดังนี้ เป็นผู้กลัวว่า เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ ผู้นี้ พึงทำ
ความฉิบหายแม้แก่เรา ดังนี้ ย่อมให้สิ่งของแก่คนบางคน. บุคคลแม้ทั้ง 4
จำพวกนี้ ชื่อว่า ย่อมดำเนินไปสู่ฉันทาคติเป็นต้น ตามลำดับ. พระอริยะทั้ง
หลาย ย่อมไม่ดำเนินไปเพราะธรรมมีฉันทะเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนี้ ธรรมนี้
จึงชื่อว่า อคติ. ชนทั้งหลายมิใช่พระอริยะ ย่อมดำเนินไปสู่อคติ ด้วยธรรม
มีฉันทะเป็นต้นนี้ เพราะเหตุนั้น. อคตินี้ จึงชื่อว่า อคติคมนะ บททั้ง 2
แห่งธรรมทั้ง 4 มีฉันทะเป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยอำนาจ
แห่งความเป็นธรรมสาธารณะ. การลำเอียง (คมนํ หมายถึงการเป็นไป) เพราะ
ฉันทะ ชื่อว่า ฉันทาคมนะ (แปลว่า ความลำเอียงเพราะความรักใคร่). ฉันทา-
คมนะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการไม่สาธารณะแก่ธรรม
ทั้งหลายมีโทสะ เป็นต้น. การลำเอียง เพราะทำราคะอันเป็นฝ่ายของตน และ
โทสะอันเป็นฝ่ายของผู้อื่นไว้เฉพาะหน้า ด้วยความเป็นผู้ไม่รวมเป็นพวกเดียว
กัน ชื่อว่า ความลำเอียงเพราะเป็นพวกพ้องกัน. ชื่อว่า ความลำเอียงเพราะ

ความหันเหไปเหมือนน้ำไหล ก็เพราะเป็นราวกะน้ำที่ไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉะนั้น.
การลำเอียงนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการเป็นธรรมสาธารณะแม้แก่การลำเอียง
ทั้ง 4.

วิปริเยสะ


ความเข้าใจผิด

สภาวะใด ย่อมแสวงหาสิ่งตรงกันข้าม โดยนัยว่า สิ่งทั้งหลายมีความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น สภาวะนั้น จึงชื่อว่า วิปริเยสะ
(ความเข้าใจผิด). ความเข้าใจผิด เพราะสัญญา ชื่อว่า สัญญาวิปริเยสะ.
ในวิปริเยสะทั้ง 2 แม้นอกนี้ก็นัยนี้. วิปริเยสะทั้ง 4 เหล่านั้น ย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งวัตถุ 4 (คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตะ และอสุภะ) จึงเป็นวิปริเยสะ 12
ด้วยสามารถแห่งสัญญาเป็นต้น. ในวัตถุเหล่าใด วิปริเยสะ 8 ในวิปริเยสะ
เหล่านั้น ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค. ในคำว่า อสุเภ สุภํ นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า สัญญาและจิตตวิปัลลาส ย่อมเบาบางไป ด้วยสกทาคามิมรรค
และย่อมละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ในคำว่า ทุกฺเข สุขํ นี้ พึงทราบว่า ย่อม
ละได้ด้วยอรหัตมรรค.

อริยโวหาร


คำว่า อริยโวหารา ได้แก่ โวหารคือถ้อยคำทั้งหลาย อันมิใช่ของ
พระอริยะเป็นถ้อยคำลามก. คำว่า ทิฏฺฐวาทิตา (แปลว่า พูดว่าเห็น) ได้แก่
เป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งนี้ ข้าพเจ้าเห็นแล้ว. ก็ในคำนี้ บัณฑิตพึง
ทราบเนื้อความ ด้วยสามารถแห่งเจตนาอันยังวาจานั้น ๆ ให้ตั้งขึ้น. แม้คำว่า