เมนู

นิทเทสแห่งความเป็นผู้ว่ายาก และนิทเทสแห่งความเป็นผู้มี
มิตรชั่ว
มีอรรถาธิบายตามที่กล่าวมาแล้ว. สัญญาทั้งหลายที่เป็นไปในความ
ต่าง ๆ กัน ชื่อว่า นานัตตสัญญา เพราะความเป็นไปในนิมิตตารมณ์แห่ง
ปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะกามสัญญาเป็นอย่างหนึ่งทีเดียว ทั้งพยาปาท-
สัญญาเป็นต้นก็เป็นอย่างหนึ่ง ฉะนั้น แม้คำว่า สัญญาอันเป็นสภาวะต่าง ๆ
กัน ดังนี้ จึงชื่อว่า นานัตตสัญญา.

โกสัชชนิทเทส


ความประพฤติย่อหย่อน ความไม่สามารถประกอบความเพียร ด้วย
การเจริญกุศลธรรม ของผู้มีจิตคุ้นเคยในกามคุณ 5 ชื่อว่า โกสัชชะ (คือ
ความเกียจคร้าน). บัณฑิตพึงทราบ ความเป็นแห่งบุคคลผู้ประมาทแล้ว ด้วย
สามารถแห่งความมัวเมา ชื่อว่า ปมาทะ (คือ ความประมาท).
นิทเทสแห่งอสันตุฏฐิ (คือ ความไม่สันโดษ) มีเนื้อความตามที่
กล่าวมาแล้ว.

อนาทริยนิทเทส


ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ด้วยสามารถแห่งความไม่เอื้อเฟื้อ
ต่อโอวาท (การกล่าวสอน) ชื่อว่า อนาทริยะ (คือ ความไม่เอื้อเฟื้อ). อาการ
แห่งความไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพที่ไม่เอื้อเฟื้อ. ความเป็นผู้ไม่เคารพ ชื่อว่า
อคารวตา เพราะอรรถว่าไม่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ควรเคารพ. ชื่อว่า ความไม่
เชื่อฟัง เพราะอรรถว่า ไม่อยู่อาศัยร่วมกับผู้เป็นหัวหน้า. คำว่า อนทฺทา
ความไม่ถือเอา ได้แก่การไม่รับเอาโอวาท. คำว่า อนทฺทายนา ได้แก่ อาการ