เมนู

เพียงดังเนิน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น กิเลสนั้น ๆ จึงชื่อว่า น้ำตม หรือ
เปียกตม.
กิเลสมีประการต่าง ๆ ในอาคตสถานว่า สงฺคโณว สมาโน ดังนี้
กิเลสนั้น ชื่อว่า ติพพกิเลส คือกิเลสที่มีกำลังหนาแน่น. ในที่แม้นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอา คำว่า กิเลสเพียงดังเนิน ด้วยเหตุนั้น
นั่นแหละ จึงตรัสว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ เป็นต้น.
คำว่า มลทินได้แก่กิเลสเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง. คำว่า มลทิน
คือ ราคะ
อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมให้ถือ
เอาซึ่งความขุนมัว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า
มลทิน. แม้กิเลสทั้งสองที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ.

วิสมนิทเทส


อธิบาย ความทำให้ไม่สม่ำเสมอ คือ กิเลส


ก็เพราะ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมสะดุดในกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น
และในทุจจริตทั้งหลาย มีกายทุจจริตเป็นต้น ก็แล สัตว์ทั้งหลายสะดุดพลาด
ไปแล้ว ย่อมตกไปจากพระพุทธศาสนาบ้าง จากสุคติบ้าง เพราะฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความไม่สม่ำเสมอ คือ ราคะ เป็นต้น เพราะ
การสะดุดแล้วก็ตกไปเป็นเหตุ.

อัคคินิทเทส


อธิบาย อัคคิ คือ ไฟ


คำว่า อคฺคิ คือ ไฟ ชื่อว่า อัคคิ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า
ราคคฺคิ (แปลว่า ไฟ คือ ราคะ) อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาผลาญ
ยังสัตว์ให้ไหม้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อัคคิ (ไฟ คือ

ราคะ) แม้โทสะและโมหะ ก็นัยนี้. ในอัคคินิทเทสนั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์
ดังนี้.

เรื่องการเผาผลาญของไฟ คือ ราคะ


ได้ยินว่า ภิกษุณีสาวรูปหนึ่ง ไปสู่โรงอุโบสถ ในวิหารชื่อว่า
จิตตลบรรพต แล้วยืนดูรูปของบุคคลผู้รักษาประตูอยู่ ลำดับนั้น ราคะคือ
ความกำหนัดในภายในของเธอจึงเกิดขึ้น เธอถูกไฟ คือราคะนั้นนั่นแหละไหม้
แล้วทำกาละ. พวกภิกษุณีทั้งหลายผู้เดินไป กล่าวว่า ภิกษุณีสาวรูปนี้ยืนอยู่
เธอจงเรียกมา ดังนี้ ภิกษุณีรูปหนึ่งเดินไปจับมือของภิกษุณีสาวนั้น พร้อม
กับการกล่าวว่า เพราะเหตุไร เธอจึงยืนอยู่เล่า ดังนี้ ภิกษุณีสาวรูปนั้น พอ
มือของภิกษุณีอีกรูปหนึ่งถูกต้องแล้วเท่านั้นก็ล้มลง.
นี้เป็นเรื่องแห่งการเผาไหม้ของราคะก่อน.
ส่วนไฟ คือ โทสะ บัณฑิตพึงทราบดังเช่น เทพพวกหนึ่งที่ชื่อว่า
มโนปโทสิกะ เพราะความเผาผลาญของโทสะ จึงต้องจุติ. และไฟ คือ
โมหะนั้น พึงทราบ ดังเช่น เทพพวกหนึ่ง ที่ชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ เพราะ
ความเผาผลาญของโมหะก็ต้องจุติ จริงอยู่ ความหลงลืมไม่ได้สติ ย่อมมีแก่
เทพชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ ด้วยอำนาจแห่งโมหะ เพราะฉะนั้น เมื่อเทพ
เหล่านั้น ยังเวลาบริโภคอาหารให้เลยไปแล้ว เธอก็ย่อมทำกาละด้วยอำนาจ
แห่งความสนุกสนานร่าเริงนั้น.
คำว่า น้ำฝาด ได้แก่ น้ำที่ไร้ค่า ไม่มีรส. ธรรมอันประณีต อัน
มีโอชะแม้สักอย่างหนึ่ง ในกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นด้วย ในทุจจริตทั้งหลาย