เมนู

ปัจจัย ก็แต่ว่า บุคคลย่อมเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะเหตุที่ผู้เป็นใหญ่นิมิต
ให้เท่านั้น ดังนี้.
อนึ่ง พวกพราหมณ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือไม่กล่าวรับรอง.
ในอาพาธ 8 อย่างที่กล่าวมาแล้วแม้สักอย่างเดียว ทั้งย่อมกล่าวห้ามอาพาธแม้
ทั้งหมด. ในโกฏฐาส (คือธรรมที่เป็นส่วนหนึ่ง ๆ) แม้ทั้งปวง มีทิฏฐธัมม-
เวทนียกรรมเป็นต้น ก็เหมือนกัน ไม่กล่าวรับรองแม้สักอย่าง ย่อมปฏิเสธ
โกฏฐาสทั้งหมด.
คำว่า อเหตุอปฺปจฺจยา อธิบายว่า เพราะเว้นเหตุและปัจจัย ย่อม
เสวยเวทนาโดยปฏิเสธเหตุ

อาชีวกสมัย


ลัทธิของอาชีวก


แม้อาชีวกเหล่านั้น ก็มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือ ไม่กล่าวรับรองในเหตุ
ทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในอาพาธทั้งหลายมีพยาธิเป็นต้น แม้สักอย่าง
ย่อมปฏิเสธสิ่งทั้งหมดนั้น.
ปลิโพธทั้งหลาย ชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องกังวล. คำว่า กิเลสเครื่อง
กังวลคือราคะ ได้แก่ ราคะเมื่อกำลังเกิดขึ้น ย่อมผูกพัน ย่อมให้สัตว์กังวล
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า กิเลสเป็นเครื่องกังวล.
แม้ในโทสะและโมหะก็นัยนี้แหละ.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า องฺคณานิ แปลว่า เนินนั้น ดังนี้.
ภูมิประเทศใด ในพระบาลีอันมาแล้วอย่างนี้ว่า บุคคล ย่อมไม่พบ
น้ำในที่อันเป็นเนินนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า เนิน. กิเลสไร ๆ มาในพระบาลีว่า
บุคคลย่อมพยายาม เพื่อละกิเลสนั้นนั่นแหละ อันเป็นเพียงดังธุลี หรือว่า เป็น

เพียงดังเนิน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น กิเลสนั้น ๆ จึงชื่อว่า น้ำตม หรือ
เปียกตม.
กิเลสมีประการต่าง ๆ ในอาคตสถานว่า สงฺคโณว สมาโน ดังนี้
กิเลสนั้น ชื่อว่า ติพพกิเลส คือกิเลสที่มีกำลังหนาแน่น. ในที่แม้นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอา คำว่า กิเลสเพียงดังเนิน ด้วยเหตุนั้น
นั่นแหละ จึงตรัสว่า กิเลสเพียงดังเนิน คือ ราคะ เป็นต้น.
คำว่า มลทินได้แก่กิเลสเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง. คำว่า มลทิน
คือ ราคะ
อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมให้ถือ
เอาซึ่งความขุนมัว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า
มลทิน. แม้กิเลสทั้งสองที่เหลือนอกนี้ก็นัยนี้แหละ.

วิสมนิทเทส


อธิบาย ความทำให้ไม่สม่ำเสมอ คือ กิเลส


ก็เพราะ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมสะดุดในกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น
และในทุจจริตทั้งหลาย มีกายทุจจริตเป็นต้น ก็แล สัตว์ทั้งหลายสะดุดพลาด
ไปแล้ว ย่อมตกไปจากพระพุทธศาสนาบ้าง จากสุคติบ้าง เพราะฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ความไม่สม่ำเสมอ คือ ราคะ เป็นต้น เพราะ
การสะดุดแล้วก็ตกไปเป็นเหตุ.

อัคคินิทเทส


อธิบาย อัคคิ คือ ไฟ


คำว่า อคฺคิ คือ ไฟ ชื่อว่า อัคคิ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า
ราคคฺคิ (แปลว่า ไฟ คือ ราคะ) อธิบายว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเผาผลาญ
ยังสัตว์ให้ไหม้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อัคคิ (ไฟ คือ