เมนู

เดียวเท่านั้น. ทั้งในบรรดาอาพาธ 81 อย่าง มีอาพาธอันเกิดแต่น้ำดีเป็นสมุฏ-
ฐานเป็นต้น เขาปฏิเสธอาพาธ 7 อย่าง ย่อมรับรองอาพาธที่ 8 เท่านั้น. ใน
กรรม 32 มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น ปฏิเสธกรรม 2 อย่าง ย่อมรับรอง
อปราปรเวทนียกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ในเจตนา 4 อย่าง กล่าวคือ กุศล อกุศล
วิบาก และกิริยา ย่อมรับรองเฉพาะเจตนาอันเป็นวิบากเท่านั้น.
คำว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ ได้แก่ ชื่อว่า มีพระผู้เป็นใหญ่สร้าง
ให้เป็นเหตุ อธิบายว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ พระพรหม หรือปชาบดี นิมิตสิ่ง
นั้น ๆ ขึ้น จึงเสวยได้.

พราหมณสมัย


ลัทธิแห่งพราหมณ์


จริงอยู่ ลัทธิของพราหมณ์นี้ เป็นการประกอบฐานะทั้ง 3 เหล่านั้นว่า
ดังนี้
เวทนา 3 เหล่านี้ อันใคร ๆ ชื่อว่า ไม่อาจเพื่อเสวยเวทนาได้ เพราะ
เหตุอันตนเองกระทำไว้แล้ว หรือเพราะเหตุอันบุคคลอื่นทำให้ในปัจจุบัน
หรือว่า เพราะเหตุอันตนทำไว้แล้วในปางก่อน หรือว่า เพราะไม่มีเหตุ ไม่มี

1. อาพาธ 8 อย่าง คือ 1. ปิตฺติสมุฏฺฐานา เกิดจากน้ำดีเป็นสมุฏฐาน
2. วาตสมุฏฺฐานา เกิดจากลมเป็นสมุฏฐาน
3. เสมฺหสมุฏฺฐานา เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐาน
4. สนฺนิปาติกา เกิดจากใช้สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน
5. อุตุปริณามชา เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นสมุฏฐาน
6. วิสมปริหารชา เกิดจากการบริหารร่างกายไม่เหมาะสมเป็น
สมุฏฐาน
7. โอปกฺกมิกา เกิดจากการทำความเพียรแก่กล้าเป็นสมุฏฐาน
8. กมฺมวิปากชา เกิดจากผลชองกรรมเป็นสมุฏฐาน
2. กรรม 3 คือ ทิฏฐธัมมเวทนียะ อปปัชชเวทนียะ และอปราปรเวทนียกรรม.

ปัจจัย ก็แต่ว่า บุคคลย่อมเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะเหตุที่ผู้เป็นใหญ่นิมิต
ให้เท่านั้น ดังนี้.
อนึ่ง พวกพราหมณ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือไม่กล่าวรับรอง.
ในอาพาธ 8 อย่างที่กล่าวมาแล้วแม้สักอย่างเดียว ทั้งย่อมกล่าวห้ามอาพาธแม้
ทั้งหมด. ในโกฏฐาส (คือธรรมที่เป็นส่วนหนึ่ง ๆ) แม้ทั้งปวง มีทิฏฐธัมม-
เวทนียกรรมเป็นต้น ก็เหมือนกัน ไม่กล่าวรับรองแม้สักอย่าง ย่อมปฏิเสธ
โกฏฐาสทั้งหมด.
คำว่า อเหตุอปฺปจฺจยา อธิบายว่า เพราะเว้นเหตุและปัจจัย ย่อม
เสวยเวทนาโดยปฏิเสธเหตุ

อาชีวกสมัย


ลัทธิของอาชีวก


แม้อาชีวกเหล่านั้น ก็มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือ ไม่กล่าวรับรองในเหตุ
ทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว และในอาพาธทั้งหลายมีพยาธิเป็นต้น แม้สักอย่าง
ย่อมปฏิเสธสิ่งทั้งหมดนั้น.
ปลิโพธทั้งหลาย ชื่อว่า ธรรมเป็นเครื่องกังวล. คำว่า กิเลสเครื่อง
กังวลคือราคะ ได้แก่ ราคะเมื่อกำลังเกิดขึ้น ย่อมผูกพัน ย่อมให้สัตว์กังวล
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกราคะว่า กิเลสเป็นเครื่องกังวล.
แม้ในโทสะและโมหะก็นัยนี้แหละ.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า องฺคณานิ แปลว่า เนินนั้น ดังนี้.
ภูมิประเทศใด ในพระบาลีอันมาแล้วอย่างนี้ว่า บุคคล ย่อมไม่พบ
น้ำในที่อันเป็นเนินนั้น ที่นั้น จึงชื่อว่า เนิน. กิเลสไร ๆ มาในพระบาลีว่า
บุคคลย่อมพยายาม เพื่อละกิเลสนั้นนั่นแหละ อันเป็นเพียงดังธุลี หรือว่า เป็น