เมนู

เดียวเท่านั้น. ทั้งในบรรดาอาพาธ 81 อย่าง มีอาพาธอันเกิดแต่น้ำดีเป็นสมุฏ-
ฐานเป็นต้น เขาปฏิเสธอาพาธ 7 อย่าง ย่อมรับรองอาพาธที่ 8 เท่านั้น. ใน
กรรม 32 มีทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น ปฏิเสธกรรม 2 อย่าง ย่อมรับรอง
อปราปรเวทนียกรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ในเจตนา 4 อย่าง กล่าวคือ กุศล อกุศล
วิบาก และกิริยา ย่อมรับรองเฉพาะเจตนาอันเป็นวิบากเท่านั้น.
คำว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ ได้แก่ ชื่อว่า มีพระผู้เป็นใหญ่สร้าง
ให้เป็นเหตุ อธิบายว่า ผู้เป็นใหญ่ คือ พระพรหม หรือปชาบดี นิมิตสิ่ง
นั้น ๆ ขึ้น จึงเสวยได้.

พราหมณสมัย


ลัทธิแห่งพราหมณ์


จริงอยู่ ลัทธิของพราหมณ์นี้ เป็นการประกอบฐานะทั้ง 3 เหล่านั้นว่า
ดังนี้
เวทนา 3 เหล่านี้ อันใคร ๆ ชื่อว่า ไม่อาจเพื่อเสวยเวทนาได้ เพราะ
เหตุอันตนเองกระทำไว้แล้ว หรือเพราะเหตุอันบุคคลอื่นทำให้ในปัจจุบัน
หรือว่า เพราะเหตุอันตนทำไว้แล้วในปางก่อน หรือว่า เพราะไม่มีเหตุ ไม่มี

1. อาพาธ 8 อย่าง คือ 1. ปิตฺติสมุฏฺฐานา เกิดจากน้ำดีเป็นสมุฏฐาน
2. วาตสมุฏฺฐานา เกิดจากลมเป็นสมุฏฐาน
3. เสมฺหสมุฏฺฐานา เกิดจากเสมหะเป็นสมุฏฐาน
4. สนฺนิปาติกา เกิดจากใช้สันนิบาตเป็นสมุฏฐาน
5. อุตุปริณามชา เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอุตุเป็นสมุฏฐาน
6. วิสมปริหารชา เกิดจากการบริหารร่างกายไม่เหมาะสมเป็น
สมุฏฐาน
7. โอปกฺกมิกา เกิดจากการทำความเพียรแก่กล้าเป็นสมุฏฐาน
8. กมฺมวิปากชา เกิดจากผลชองกรรมเป็นสมุฏฐาน
2. กรรม 3 คือ ทิฏฐธัมมเวทนียะ อปปัชชเวทนียะ และอปราปรเวทนียกรรม.