เมนู

ชื่อว่า วิธา เพราะอรรถว่า การดำรงไว้ซึ่งการถือตัว. เพราะฉะนั้นคำว่า
เสยฺโย อหํ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า วิธา เพราะดำรงไว้ซึ่งมานะอันมี
ประการมากอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เป็นต้น.
แม้ในสองบทที่เหลือ ก็นัยนี้.

ภยนิทเทส


อธิบาย ภัย คือ ความกลัว


คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ภยํ ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความเกิด
(ชาติ) เป็นปัจจัย. คำว่า ภยานกํ (แปลว่า ภัยอันน่ากลัว) นี้เป็นนิทเทสแห่ง
อาการ. คำว่า ฉมฺภิตตฺตํ (แปลว่า ความสะดุ้งแห่งจิต) ได้แก่ ความหวั่นไหว
แห่งตน เพราะอำนาจแห่งภัย. คำว่า โลมหํโส (แปลว่า ความชูชันแห่งขน)
ได้แก่ ความที่ขนทั้งหลายเป็นของชูชันขึ้นไปเบื้องบน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงความกลัวโดยกิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ก็ทรงแสดงความกลัวโดย
สภาวะ คือ ความสะดุ้งหวาดเสียวแห่งจิตอีก.

ตมนิทเทส


อธิบาย ตมะ คือ อวิชชา


อวิชชา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ ด้วยความมีวิจิกิจฉาเป็น
สีสะ.
จริงอยู่เพราะพระบาลีว่า ความมืดมน ความหลงลืม โอฆะ คือ
อวิชชา เป็นภัยใหญ่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อวิชชา จึงชื่อว่า ตมะ.
ตมะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า มีวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย)
เป็นสีสะ เป็นการแสดงโดยง่ายด้วยอำนาจแห่งกาลอันยาวนานทั้ง 3 (คือ อดีต-

อัทธานะ อนาคตอัทธานะ ปัจจุปันนอัทธานะ). ในกาลเหล่านั้น เมื่อบุคคล
สงสัยว่า ในอดีตกาล เราได้เป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่าเป็นพราหมณ์ เป็น
แพศย์ เป็นศูทร เป็นคนดำ เป็นคนขาว เป็นคนเตี้ย คนสูง ดังนี้ ชื่อว่า
ย่อมสงสัยปรารภอดีตอัทธานะ (อดีตกาลอันยาวนาน). เมื่อสงสัยอยู่ว่า ใน
อนาคตกาล เราจักเป็นกษัตริย์หรือหนอ หรือว่า จักเป็นพราหมณ์ เป็น
แพศย์ เป็นศูทร ฯสฯ เป็นคนสูง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภอนาคตอัทธานะ
(อนาคตกาลอันยาวนาน) เมื่อสงสัยอยู่ว่า ในบัดนี้ (ปัจจุบัน) เราเป็นกษัตริย์
หรือหนอ หรือว่าเป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร หรือสงสัยว่า เรามีรูป
เป็นอย่างไร หรือว่ามีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างไร ดังนี้
ชื่อว่า ย่อมสงสัยปรารภปัจจุปันนอัทธานะ (ปัจจุบันกาลอันยาวนาน).
ในตมนิทเทสนั้น บุคคลผู้เป็นกษัตริย์ ฯลฯ หรือว่า ผู้เป็นคูทร
ชื่อว่า ไม่รู้ซึ่งความที่แห่งตนเป็นกษัตริย์ ฯลฯ หรือว่า ไม่รู้ซึ่งความที่แห่ง
ตนเป็นศูทร ย่อมไม่มีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ผู้ถือลัทธิว่า ชีวะมีอยู่โดยประ-
การทั้งปวง ฟังการแบ่งชั้นวรรณะแห่งชีวะของกษัตริย์เป็นต้น เมื่อเคลือบแคลง
สงสัย ชื่อว่า ย่อมสงสัยอย่างนี้ว่า ชีวะในภายในของเราทั้งหลาย เป็นอย่างไร
หนอ เป็นสีเขียวหรือหนอ หรือว่าสีเหลือง หรือว่าสีแดง หรือว่าสีขาว หรือ
เป็น 4 ส่วน หรือเป็น 6 ส่วน เป็น 8 ส่วน อย่างไรหนอ ดังนี้.
คำว่า ติตฺถายตนานิ ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนอันเป็นลัทธิ
ต่าง ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ อายตนะ คือ คำสั่งสอนของเดียรถีย์ทั้งหลาย.
ในอายตนะเหล่านั้น ทิฏฐิ 62 ชื่อว่า ติตถะ คือท่าเป็นที่ข้าม. ทิฏฐิ
เหล่านั้น ย่อมควร ย่อมชอบใจแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นชื่อว่า เป็นเดียรถีย์.
อรรถแห่งอายตนะท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็เพราะอายตนะเหล่า

นั้น คติแห่งทิฏฐิแม้ทั้งปวง เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นในฐานะทั้ง 31 เหล่านี้
เท่านั้น แม้เมื่อประชุม ก็ย่อมประชุมประมวลมาในฐานะเหล่านี้นั่นแหละ
ด้วยว่า อายตนะ คือคำสอนของเดียรถีย์เหล่านั้นเท่านั้น เป็นมูลเหตุในความ
เป็นทางดำเนินไปแห่งทิฏฐิ ฉะนั้น ติตถะอันเป็นเหตุเหล่านั้นจึง ชื่อว่า อายตนะ
และเพราะอรรถมีคำว่า ทิฏฐิเหล่านั้น เป็นสภาวะเกิดขึ้นเองด้วย จึงชื่อว่า
ติตถายนะ. ด้วยอรรถนั้นนั่นแหละ แม้คำว่า อายตนะของเดียรถีย์ทั้งหลาย
ดังนี้ ก็ชื่อว่า ติตถายตนะ. คำว่า ปุริสปุคฺคโล ได้แก่ สัตว์. อนึ่งแม้ใครๆ
เรียกว่า บุรุษก็ดี บุคคลก็ดี ย่อมกล่าวได้ว่า เป็นสัตว์นั่นแหละโดยแท้.
กถานี้ ชื่อว่า สมมติกถา. บุคคลใด ย่อมรู้สมมติกถานี้ได้โดยประการใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสคำนั้นโดยประการนั้น. คำว่า ปฏิสํเวเทติ
(แปลว่า ย่อมเสวยเวทนา) ได้แก่ ย่อมรู้สิ่งอันเกิดขึ้นในสันดานของตน ทั้ง
ย่อมกระทำ หรือย่อมเสวยเวทนาที่ตนรู้แล้วนั้น. คำว่า ปุพฺเพ กตเหตุ
(แปลว่า เพราะทำเหตุไว้ในปางก่อน) ได้แก่ เพราะเหตุอันตนกระทำแล้วใน
กาลก่อน อธิบายว่า เขาย่อมเสวยเวทนาด้วยกัมมปัจจัยอันตนทำแล้วในกาล
ก่อนนั้น.

นิคัณฐสมัย


ลัทธิแห่งนิครนถ์ หรือชีเปลือย


ก็พวกนิครนถ์เหล่านั้น มีปกติกล่าวอย่างนี้ คือกล่าวปฏิเสธการเสวย
กรรม และการเสวยกิริยา แต่ย่อมรับรองการเสวยวิบาก (ผลของกรรม) อย่าง

1. คำว่า ฐานะทั้ง 3 คือ 1. วาทะว่า เพราะได้ทำเหตุไว้ในปางก่อน
2. วาทะว่า เพราะเหตุคือมีผู้เป็นใหญ่สร้างให้
3. วาทะว่า โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย