เมนู

เป็นธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกัน กับธรรมที่สัมปยุตด้วยราคะและทิฏฐินั้น
คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับกามราคะ ย่อมเป็นไปแก่สัตว์ผู้ท่องเที่ยว
ไปในกามภพทั้งหลายเท่านั้น ส่วนธรรมที่ตั้งอยู่ในฐานเดียวกันกับภวราคะ
ย่อมเป็นไปแก่มหาพรหมทั้งหลาย. ในกาลเมื่อพระโยคาวจรออกแล้วจากสมาบัติ
ยินดีซึ่งองค์ฌานจงกรมอยู่ อกุศลกายกรรมย่อมเกิด. ในกาลเมื่อยินดีเพราะ
เปล่งวาจาว่า โอ ! สุขจริง, โอ ! สุขจริง ดังนี้ อกุศลวจีกรรมย่อมเกิด. ใน
กาลเมื่อยินดีด้วยใจเท่านั้น เพราะยังไม่ทำองค์แห่งกายและองค์วาจาให้ไหวไป
อกุศลมโนกรรมย่อมเกิด. อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไปตามทิฏฐิ
แม้ทั้งหมดด้วยอำนาจอันตัคคาหิกทิฏฐิเท่านั้น เพราะอำนาจการเดินจงกรม
เป็นต้น.

วิธานิทเทส


อธิบาย วิธา1 คือ การถือตัว


การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า ชนทั้งหลาย ย่อมกล่าวยกย่องตนว่า
มีศีลชนิดไร มีปัญญาชนิดไร เป็นต้น ชื่อว่า วิธา. การดำรงอยู่แห่งอาการ
ในคำว่า ญาณวัตถุมีอย่างเดียว (คือไม่แปลกกัน) เป็นต้น ชื่อว่า โกฏฐาส.
การดำรงอยู่แห่งอาการ ในคำว่า บุคคล ย่อมไม่กำหนด ในวิธา คือการถือ
ตัวทั้งหลาย เป็นต้น ชื่อว่า มานะ. แม้ในที่นี้ มานะนั่นแหละ ชื่อว่า วิธา.
จริงอยู่ มานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า วิธา เพราะการจัดแจง
ปรับแต่ง ด้วยสามารถแห่งการถือตนว่าเป็นผู้ประเสริฐเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

1. คำว่า วิธา หมายถึงกิเลสมีประการมาก คือ มานะ หรือ อหังการ หรือยึดถือ
เป็นส่วน ๆ เรียกว่าโกฏฐาส

ชื่อว่า วิธา เพราะอรรถว่า การดำรงไว้ซึ่งการถือตัว. เพราะฉะนั้นคำว่า
เสยฺโย อหํ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า วิธา เพราะดำรงไว้ซึ่งมานะอันมี
ประการมากอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ ว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา เป็นต้น.
แม้ในสองบทที่เหลือ ก็นัยนี้.

ภยนิทเทส


อธิบาย ภัย คือ ความกลัว


คำว่า ชาตึ ปฏิจฺจ ภยํ ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความเกิด
(ชาติ) เป็นปัจจัย. คำว่า ภยานกํ (แปลว่า ภัยอันน่ากลัว) นี้เป็นนิทเทสแห่ง
อาการ. คำว่า ฉมฺภิตตฺตํ (แปลว่า ความสะดุ้งแห่งจิต) ได้แก่ ความหวั่นไหว
แห่งตน เพราะอำนาจแห่งภัย. คำว่า โลมหํโส (แปลว่า ความชูชันแห่งขน)
ได้แก่ ความที่ขนทั้งหลายเป็นของชูชันขึ้นไปเบื้องบน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงความกลัวโดยกิจด้วยบททั้งสองนี้แล้ว ก็ทรงแสดงความกลัวโดย
สภาวะ คือ ความสะดุ้งหวาดเสียวแห่งจิตอีก.

ตมนิทเทส


อธิบาย ตมะ คือ อวิชชา


อวิชชา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ ด้วยความมีวิจิกิจฉาเป็น
สีสะ.
จริงอยู่เพราะพระบาลีว่า ความมืดมน ความหลงลืม โอฆะ คือ
อวิชชา เป็นภัยใหญ่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น อวิชชา จึงชื่อว่า ตมะ.
ตมะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า มีวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย)
เป็นสีสะ เป็นการแสดงโดยง่ายด้วยอำนาจแห่งกาลอันยาวนานทั้ง 3 (คือ อดีต-