เมนู

ความโอ้อวด. ความโอ้อวดนั้น อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อรู้ซึ่งการกล่าวลวงของผู้
ประกอบด้วยอาการใด อาการนั้นย่อมเป็นเช่นกับสุกรยักษ์ ที่กล่าวไว้ดังนี้ว่า
ยักษ์นั้น ย่อมแปลงเพศเป็นสุกรอยู่
ข้างซ้าย เป็นแพะอยู่ข้างขวา เป็นโคแก่มี
เขายาว เป็นละมั่งส่งเสียงร้อง ดังนี้.

นิทเทสแห่งอวิชชาเป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ.

อนาชชวนิทเทส


อธิบาย อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง


อาการแห่งความเป็นผู้คดโกง ชื่อว่า อนาชชวะ คือ ความไม่ซื่อ
ตรง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ซื่อตรง ชื่อว่า สภาพไม่ซื่อตรง. ความคด
โค้งแห่งดวงจันทร์ ชื่อว่า ชิมฺหตา คือ ความไม่ตรง. คำว่า วงฺกตา
ได้แก่ ความคดดังโคมูตร (เยี่ยวโค). คำว่า กุฏิลตา (แปลว่า ความโค้ง)
ได้แก่ ความโค้งดังปลายงอนของไถ. ความคดแห่งกายวาจาและจิตนั่นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.

อมัททวนิทเทส


อธิบาย อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน


ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมุทุตา. อาการแห่งความ
ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมัททวตา. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กระด้าง ชื่อว่า
กักขฬิยะ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบคาย ชื่อว่า ผารุสิยะ. ความเป็น
แห่งจิตอันแข็งกระด้าง เพราะความไม่ประพฤติอ่อนน้อม ชื่อว่า อุชุจิตฺตตา.

ศัพท์ว่า อมุทุตา ท่านแสดงเนื้อความแห่งผู้ไม่อ่อนน้อมนั้นให้วิเศษขึ้นอีก.
คำว่า อุชุจิตฺตตา ความเป็นผู้มีจิตถือรั้น ไม่ใช่ความเป็นจิตซื่อตรง. นิท-
เทสแห่งอขันติ ความไม่อดทนเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตรงกันข้าม
กับนิทเทสแห่งขันติความอดทนเป็นต้น.

สัญโญชนนิทเทส


อธิบาย สัญโญชน์ กิเลสเครื่องผูกไว้


กามภพ ชื่อว่า (สัญโญชน์) ภายใน. รูปภพและอรูปภพ
ชื่อว่า (สัญโญชน์) ภายนอก. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัย
อยู่ในกามภพสิ้นกาลเล็กน้อย คืออาศัยอยู่สิ้นกาลอันเป็นส่วนที่ 4
(1/4) แห่งกัปเท่านั้น ในส่วนแห่งกัปทั้งสามที่เหลือนอกนี้ กามภพ
ย่อมว่างเปล่า.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมอาศัยอยู่ในรูปภพและอรูปภพตลอดกาลเป็นอัน
มาก แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
มีมากในกามภพ ส่วนในรูปภพและอรูปภพมีน้อย ก็จุติและปฏิสนธิในที่
ใดมีมาก ความอาลัยก็ดี ความปรารถนาก็ดี ความอยากก็ดี ย่อมมีมาก
ในที่นั้น จุติและปฏิสนธิในที่ใดมีน้อย ในภพนั้นก็มีกิเลสเครื่องผูกน้อย
เพราะฉะนั้น กามภพจึงชื่อว่า เป็นอัชฌัตตะภายใน ส่วนรูปภพและอรูป-
ภพ ชื่อว่า เป็นพหิทธาภายนอก. เครื่องผูกในกามภพ กล่าวคือภายใน
ชื่อว่า สัญโญชน์ภายใน เครื่องผูกในรูปภพและอรูปภพกล่าวคือภายนอก
ชื่อว่า สัญโญชน์ภายนอก.