เมนู

หญ้าและใบไม้ทั้งหลาย. การปกปิดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความปิดบัง
ชื่อว่า ความไม่เปิดเผย เพราะย่อมไม่ทำให้แจ้ง. ชื่อว่า ความปิดบังมิดชิด
เพราะไม่แสดงไห้ปรากฏ. การปกปิดด้วยดี ชื่อว่า ความปกปิดมิดชิด ชื่อว่า
การกระทำที่ชั่ว เพราะทำบาปแม้อีกด้วยสามารถแห่งการซ่อนเร้นอันตนทำแล้ว.
คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า
มายา อันมีการซ่อนปิดไว้อันตนทำแล้วเป็นลักษณะ. บุคคล ประกอบด้วย
ลักษณะนี้ใด ย่อมเป็นราวกะถ่านเพลิง อันปิดไว้ด้วยขี้เถ้า ย่อมเป็นราวกะ
ตอไม้อันน้ำปกปิดไว้ ย่อมเป็นราวกะว่าศัสตราอันบุคคลพันไว้ด้วยเศษผ้า.

สาเถยยนิทเทส


อธิบาย สาเถยยะ ความโอ้อวด


การไม่กล่าวโดยชอบ เพราะแสดงคุณอันตนไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้
โอ้อวด.
ความโอ้อวดโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า เป็นผู้โอ้อวดมาก. คำว่า
ยํ ตตฺถ ได้แก่ ความโอ้อวดอันใด ในบุคคลนั้น. ความคดโกง คือ
การแสดงคุณอันไม่มีอยู่ ชื่อว่า การโอ้อวด. อาการแห่งความโอ้อวด ชื่อว่า
ความเป็นแห่งบุคคลผู้โอ้อวด. คำว่า กกฺขรตา ได้แก่ ความเป็นแห่งความ
กระด้าง มีความไม่อดทนต่อสิ่งอันไม่เป็นภัยราวกะความหยาบกระด้างของก้าน
ปทุม. แม้คำว่า สภาพที่กระด้าง ก็เป็นไวพจน์ของความโอ้อวดนั้นนั่นแหละ
ความคดโกงอันมั่นคง ราวกะเสาเขื่อน อันบุคคลขุดหลุมฝังตั้งไว้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบททั้งสอง คือ การพูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู สภาพที่พูด
เป็นเหลี่ยมเป็นคู. คำว่า อิทํ วุจฺจติ ความว่า ความโอ้อวด มีการประกาศ
คุณอันไม่มีอยู่ของตนเป็นลักษณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า สาเถยยะ

ความโอ้อวด. ความโอ้อวดนั้น อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อรู้ซึ่งการกล่าวลวงของผู้
ประกอบด้วยอาการใด อาการนั้นย่อมเป็นเช่นกับสุกรยักษ์ ที่กล่าวไว้ดังนี้ว่า
ยักษ์นั้น ย่อมแปลงเพศเป็นสุกรอยู่
ข้างซ้าย เป็นแพะอยู่ข้างขวา เป็นโคแก่มี
เขายาว เป็นละมั่งส่งเสียงร้อง ดังนี้.

นิทเทสแห่งอวิชชาเป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ.

อนาชชวนิทเทส


อธิบาย อนาชชวะ ความไม่ซื่อตรง


อาการแห่งความเป็นผู้คดโกง ชื่อว่า อนาชชวะ คือ ความไม่ซื่อ
ตรง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ซื่อตรง ชื่อว่า สภาพไม่ซื่อตรง. ความคด
โค้งแห่งดวงจันทร์ ชื่อว่า ชิมฺหตา คือ ความไม่ตรง. คำว่า วงฺกตา
ได้แก่ ความคดดังโคมูตร (เยี่ยวโค). คำว่า กุฏิลตา (แปลว่า ความโค้ง)
ได้แก่ ความโค้งดังปลายงอนของไถ. ความคดแห่งกายวาจาและจิตนั่นแหละ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทแม้ทั้งปวงเหล่านี้.

อมัททวนิทเทส


อธิบาย อมัททวะ ความไม่อ่อนโยน


ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมุทุตา. อาการแห่งความ
ไม่อ่อนโยน ชื่อว่า อมัททวตา. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กระด้าง ชื่อว่า
กักขฬิยะ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบคาย ชื่อว่า ผารุสิยะ. ความเป็น
แห่งจิตอันแข็งกระด้าง เพราะความไม่ประพฤติอ่อนน้อม ชื่อว่า อุชุจิตฺตตา.