เมนู

พึงพูดเบียดเบียนเรา. คำว่า โย ตตฺถ เคหสิโต ได้แก่ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า
บุคคลเหล่าอื่นอย่าดูถูกเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้อาศัยเรือน กล่าวคือ กามคุณ 5
ชื่อว่า มีวิตกอย่างนั้นเกิดขึ้นแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ปรากฏชัดแจ้ง
แล้วแล.
เอกกนิทเทส จบ

อรรถกถาทุกนิทเทส


อธิบาย มาติกาหมวดสอง


ในทุกมาติกาทั้งหลาย บัณฑิตพึงทราบนิทเทสแห่งความโกรธเป็น
ต้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ. ก็ในนิทเทสแห่งความผูก
โกรธ
เป็นต้น อันเป็นอนาคต คือ บุคคลใดย่อมผูกโกรธไว้ในกาลก่อน ภาย-
หลังความโกรธเกิดขึ้นอีก ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ. อาการ
แห่งความผูกโกรธ ชื่อว่า กิริยาที่ผูกโกรธ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ผูกโกรธ
ชื่อว่า สภาพที่ผูกโกรธ. คำว่า อฏฺฐปนา (ความตั้งไว้) ได้แก่ การ
ตั้งความโกรธไว้ติดต่อกันของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ โดยการกำหนดเขตแดนของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก. การตั้งความ
โกรธไว้ตามปกติ เรียกว่า การทรงไว้ซึ่งความโกรธ. การตั้งความโกรธ
บ่อย ๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความดำรงความโกรธไว้. การไม่แสดง
ความแตกต่างกันแห่งความโกรธหลังกับความโกรธอันเกิดขึ้นก่อนแล้วทำไว้โดย
ความเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า ความสั่งสมความโกรธไว้. ความสืบต่อ
ความโกรธครั้งหลังกับด้วยความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า ความผูกพันความ

โกรธไว้. คำว่า ความยึดมั่นความโกรธ ได้แก่ การทำความโกรธให้
มั่นคง. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า ลักษณะนี้ มีความเข้าไปผูกไว้เป็นลักษณะ
มีความไม่สละคืนซึ่งเวรเป็นรส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกลักษณะนี้ว่า
อุปนาหะ ความผูกโกรธ ดังนี้ อธิบายว่า บุคคลผู้ประกอบความโกรธด้วย
ลักษณะใด ย่อมไม่อาจเพื่อสละเวร ชื่อเห็นปานนี้ บุคคลนี้ ย่อมติดตามซึ่ง
ความโกรธอื่น ๆ อีก ด้วยลักษณะว่า บุคคลนี้ ไม่สมควรพูดกะเราอย่างนี้
ดังนี้ ความโกรธของเขา ย่อมลุกโพลงทีเดียว ราวกะฟืนไม้สนอันไฟติดทั่ว
แล้ว ความโกรธนั้นย่อมไม่สะอาด เป็นราวกะหนังหมีอันบุคคลทำความสะอาด
อยู่ และเป็นราวกะผ้าเก่าอันเปื้อนด้วยไขมันหรือน้ำมัน.
ชื่อว่า มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของ
เปรอะเปื้อน คือว่า บุคคลแม้ประพฤติด้วยสามารถแหงความเป็นผู้ลบหลู่คุณ
ของผู้อื่นนั้น ย่อมเปรอะเปื้อนโทษนั้นก่อน เหมือนคูถอันเป็นของตนเองย่อม
เปรอะเปื้อนตนก่อนกว่า. สองบทจากนั้น เป็นคำอธิบายสภาพแห่งกิริยาอาการ.
ความเป็นแห่งบุคคลผู้แข็งกระด้างหยาบช้า ชื่อว่า สภาพที่ลบหลู่.อธิบายว่า
คุณแม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่มีเพราะอาศัยความลบหลู่ดูหมิ่น เพราะฉะนั้น
สภาพนั้น จึงชื่อว่า เป็นการพูดเปลืองน้ำลาย. การกระทำแห่งบุคคลผู้ลบหลู่
คุณของผู้อื่น ชื่อว่า กระทำความลบหลู่. จริงอยู่ เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม
เป็นภิกษุก็ตาม เมื่ออาศัยภิกษุอยู่ โกรธแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น
ย่อมดูหมิ่น และคุณ คือความที่บุคคลนั้นอาศัยผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่มีแก่เขา
เพราะเหตุแห่งความโกรธนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พูดไปให้เปลืองน้ำลาย
(การพูดให้น้ำลายตกไปเปล่า ๆ) จึงชื่อว่า เป็นการกระทำซึ่งความเป็นผู้ลบหลู่
ดูหมิ่น และเป็นราวกะว่าเหยียบย่ำความดีของผู้อื่นไว้ด้วยเท้า. การกระทำอัน

นั้นของผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสเรียกว่า มักขะ ความลบหลู่
คุณท่าน.
ก็เมื่อว่าโดยลักษณะ มักขะนี้มีการลบหลู่คุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ
มีการยังคุณของผู้อื่นให้พินาศไปเป็นรส มีการตัดทำลายกิริยาอาการอันบุคคล
อื่นทำดีแล้วเป็นปัจจุปัฏฐาน (เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น).
บุคคลใด ย่อมตีเสมอเขา เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า
ปลาสะ ผู้ตีเสมอเขา. อธิบายว่า แสดงคุณของผู้อื่น ย่อมทำคุณทั้งหลาย
คล้ายกับเป็นคุณของตน ๆ. วิถีทางของบุคคลผู้ตีเสมอกับผู้อื่น ชื่อว่า ปลา-
สายนา.
ปลาสะ ความตีเสมอนั้นด้วย เป็นอาหารเพราะการนำมาซึ่งความ
ชนะของตนด้วย ชื่อว่า ปลาสาหาร. คำว่า วิวาทฏฺฐานํ ได้แก่ เหตุ
แห่งความวิวาทกัน. การถือเอาธุระ (หน้าที่การงาน) เสมอกัน ชื่อว่า การ
แข่งดี.
การไม่สละธุระอันตนถือเอาแล้ว ชื่อว่า การไม่ลดละ. ก็เมื่อ
ว่าโดยลักษณะเป็นต้น ปลาสะนั้น มีการแข่งดีเป็นลักษณะ มีการกระทำคุณ
ทั้งหลายของตนให้เสมอกันกับคุณของบุคคลอื่นเป็นรส มีการเอาใจใส่โดย
กำหนดยึดถือคุณของผู้อื่นเป็นปัจจุปัฏฐาน. จริงอยู่ บุคคลผู้ตีเสมอ ย่อมไม่
ให้ธุระ (การงาน) แก่บุคคลที่สอง ย่อมยังคุณของตนให้แผ่ออกไปเสมอ ๆ
คือว่า ครั้นเมื่อพระสูตรทั้งหลาย หรือการณะทั้งหลายจำนวนมาก อันภิกษุอื่น
แม้นำมาแล้วในโรงสนทนาธรรม ย่อมจะกล่าวขยายความออกไปซึ่งคุณของ
ตนให้เสมอ ๆ กับผู้อื่นว่า ในวาทะของท่าน และวาทะของเรา เหตุอันแตก
ต่างกัน ชื่อว่ามีอยู่หรือ ถ้อยคำของพวกเราก็เป็นเช่นเดียวกับท่านนั่นแหละ
เปรียบเหมือนแท่งทองคำอันบุคคลผ่าออกแล้วก็เป็นทองคำนั่นแหละ มิใช่หรือ
ดังนี้.

นิทเทสแห่งอิสสา ความริษยา และมัจฉริยะ ความตระหนี่ มี
เนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วทั้งนั้นแล.

มายานิทเทส


อธิบายมายา ความเจ้าเล่ห์


คำว่า วาจํ ภาสติ ได้แก่ ภิกษุผู้ก้าวล่วงพระบัญญัติอันรู้อยู่นั่นแหละ
ทำให้เป็นภาระหนัก ย่อมพูดราวกะว่าตนเป็นผู้เข้าไปสงบ ด้วยประสงค์จะให้
ผู้อื่นรู้ว่า ชื่อว่า ฐานะคือ การล่วงพระบัญญัติ ย่อมไม่มีแก่ตัวเอง ดังนี้.
คำว่า กาเยน ปรกฺกมติ ได้แก่ ภิกษุนั้น ย่อมทำวัตรปฏิบัติด้วยกาย โดย
คิดว่า ใคร ๆ อย่าได้รู้ซึ่งบาปกรรมนี้ อันเราทำแล้ว ดังนี้. ลักษณะนี้ ชื่อว่า
มายา ความเจ้าเล่ห์ เป็นราวกะว่าการเล่นกล (จักขุโมหนมายา) เพราะการ
ปกปิดไว้ซึ่งโทษอันตนรู้อยู่. ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีมายา ชื่อว่า มายาวิตา.
สัตว์ทั้งหลาย ทำบาปแล้ว ก็ยังล่วงละเมิดคือทำบาปอีก เพราะความเป็นผู้
ปกปิดไว้ ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น ชื่อว่า ความเจ้าเล่ห์. ชื่อว่า ลวง
เพราะย่อมลวงโดยให้เห็นเป็นไปโดยประการอื่น ด้วยการกระทำทางกายและ
วาจา ฯ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมทำซึ่งความฉ้อโกง ด้วยสภาวะใด สภาวะนั้น
ชื่อว่า ความฉ้อโกง ฯ อธิบายว่า ย่อมทำให้เปล่าประโยชน์. ชื่อว่า ความ
กลบเกลื่อน เพราะยังบาปทั้งหลายให้เกิดสับสนกันไป ด้วยกล่าวคำว่า เราย่อม
ไม่ทำอย่างนี้ ดังนี้. ชื่อว่า ความหลีกเลี่ยง เพราะการเว้นด้วยคำพูดว่า เรา
ย่อมไม่ท่าอย่างนี้. ชื่อว่า ความซ่อน เพราะความไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น.
การซ่อนโดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า การซ่อนบัง. ชื่อว่า การปกปิด เพราะ
ย่อมปกปิดบาปด้วยกายกรรม วจีกรรม ราวกะคูถ อันบุคคลปกปิดไว้ด้วย