เมนู

เรื่องพระมหานาคเถระ


ได้ยินว่า พระธัมมทินนเถระ ผู้อาศัยอยู่ในตลังกะ รูปหนึ่ง เป็น
พระขีณาสพผู้มีปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้เป็นผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ ในวันหนึ่ง ท่านนั่งพักในที่พักในเวลากลางวันของตน นึกถึงอาจารย์
ของท่านว่า กิจแห่งสมณะของพระมหานาคเถระผู้อาศัยอยู่ในอุจจตลังกะ
อาจารย์ของเราถึงที่สุดแล้ว หรือไม่หนอ ดังนี้ เห็นแล้วซึ่งความที่อาจารย์
ของคนนั้นยังเป็นปุถุชน และทราบว่า เมื่อเราไม่ไปอยู่อาจารย์ของเราจักกระ-
ทำกาลกิริยา ด้วยความเป็นปุถุชนนั่นแหละ ดังนี้ จึงเหาะขึ้นไปสู่เวหาส ด้วย
ฤทธิ์ หยั่งลงแล้วในที่ใกล้พระมหานาคเถระซึ่งนั่งพักอยู่ในที่เป็นที่นั่งพักใน
เวลากลางวัน ไหว้แล้ว แสดงวัตรแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ก็เมื่อ
อาจารย์ถามว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มีอายุ เพราะเหตุไร เธอจึงมาในเวลาอัน
ไม่สมควร ดังนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาเพื่อจะถาม
ปัญหาขอรับ ดังนี้. ลำดับนั้น เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เธอจง
ถาม เมื่อผมทราบก็จักตอบ ดังนี้ จึงถามปัญหาพันข้อ. พระเถระผู้อาจารย์
ไม่คิดอยู่ซึ่งปัญหานั้นอันพระธัมมทินนะถามแล้ว ๆ ก็กล่าวแก้แล้ว ๆ. ทีนั้น
ครั้นเมื่อคำอันพระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ญาณของท่านคมยิ่งนัก
ธรรมนี้ ท่านบรรลุในกาลไร ดังนี้ ท่านก็กล่าวว่า ผู้มีอายุ ในกาลแห่งพรรษา
60 แต่กาลนี้ ดังนี้. พระธัมมทินนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านยังใช้
สมาธิอยู่หรือ ดังนี้ พระเถระอาจารย์ตอบว่า ผู้มีอายุ ข้อนี้ ไม่หนักใจเลย ดังนี้.
พระธัมมทินนะ จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน
จงนิรมิตช้างเชือกหนึ่ง ดังนี้. ท่านก็เนรมิตช้างเผือกแล้ว. พระธัมมทินนะ
กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ช้างนี้ มีหูกาง (ผึ่ง) ออกแล้ว มีหาง

เหยียดออกแล้ว เอางวงใส่ในปาก ส่งเสียงร้องโกญจนาท (เสียงกึกก้อง) มุ่ง
หน้าเฉพาะต่อท่านมาอยู่ โดยอาการที่ท่านสร้างมันขึ้นมา อย่างนั้น ดังนี้.
พระเถระผู้อาจารย์ ครั้นนิรมิตอย่างนั้นแล้ว เห็นแล้วซึ่งอาการกิริยาเสียงร้อง
ของช้างมาโดยเร็ว ท่านก็ลุกขึ้นเริ่มเพื่อจะหนีไป. พระธัมมทินนะผู้เป็นพระ-
ขีณาสพ จึงเหยียดมือออกไปจับชายจีวรของพระอาจารย์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ความกลัวย่อมมีแก่พระขีณาสพด้วยหรือ ดังนี้. พระอาจารย์จึง
ทราบความที่ตนยังเป็นปุถุชนอยู่ในกาลนั้น จึงกล่าวว่า ดูก่อนธัมมทินนะผู้มี
อายุ ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่กระผม ดังนี้ แล้วนั่งกระโหย่งใกล้เท้าของพระธัมม-
ทินนะ. พระธัมมทินนะเถระกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมาด้วยประสงค์
ว่าจักเป็นที่พึ่งแก่ท่าน ขอท่านอย่าได้วิตก ดังนี้ แล้วบอกกรรมฐาน. พระ-
เถระผู้อาจารย์ เรียนกรรมฐานแล้วก็ก้าวขึ้นสู่ที่เป็นที่จงกรม ในก้าวที่สามก็
บรรลุพระอรหัตผลอันเลิศ ได้ยินว่า พระเถระนี้เดิมท่านเป็นผู้มีโทสจริต.

อัสมิมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญว่า มีอัตตา


คำว่า รูเป อสฺมีติ มาโน (แปลว่า ความสำคัญในรูป ว่าเป็น
ตัวเรา) ได้แก่ มีความสำคัญเกิดขึ้นว่า รูปเป็นเรา ดังนี้. คำว่า ฉนฺโท
(แปลว่า ความพอใจ) ได้แก่ เป็นผู้มีฉันทะไปตามมานะ ... (มานะ คือความ
สำคัญว่ามีอัตตา) นั่นแหละ. ความเข้าใจพอใจอันนอนเนื่องอยู่ในรูปว่าเป็น
ตัวเราก็เหมือนกัน แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.