เมนู

ในนิทเทสแห่งอติมานะ (ความดูหมิ่น) พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่
ทรงถือเอาบุคคลด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้เลิศเป็นต้น แต่ทรงชี้แจงด้วย
สามารถแห่งวัตถุมีชาติเป็นต้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อติมญฺญติ
(แปลว่า ย่อมดูหมิ่น) ได้แก่ ย่อมสำคัญตนเลยไปว่า ผู้อื่นเช่นกับเราโดยชาติ
เป็นต้น ย่อมไม่มี ดังนี้.

มานาติมานนิทเทส


อธิบาย ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า โย เอวรูโป อย่างนี้ เพื่อแสดงว่า
มานะอันเกิดขึ้นในเบื้องต้นว่า บุคคลใดเป็นผู้เช่นกับเรา แต่มาบัดนี้ เราเป็น
ผู้ประเสริฐกว่า ผู้นี้ต่ำกว่า ดังนี้ ชื่อว่า ความถือตัวและความเย่อหยิ่ง โดย
อาศัยมานะว่าผู้อื่นเช่นกับตนในกาลก่อนนั้น บุคคลนี้ ย่อมเป็นราวกะบุคคล
มีภาระหนักยิ่งกว่าภาระหนัก ดังนี้.
นิทเทสแห่งโอมานะ (มานะอันลามก) เช่นกับนิทเทสแห่งมานะ
อันเลว (หีนมานะ) นั่นแหละ. แต่เมื่อว่าโดยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ (สัตว์ผู้
พอแนะนำได้) ชื่อว่ามานะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้มีความสำคัญว่า
เราเป็นคนเลว ดังนี้ มานะนี้ ชื่อว่า โอมานะ. อีกอย่างหนึ่ง ในมานะนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า มานะนี้ชื่อว่า โอมานะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป
โดยกระทำตนให้ต่ำอย่างนี้ว่า ท่านมีชาติ แต่ชาติของท่านเหมือนชาติของกา
ท่านมีโคตร แต่โคตรของท่านเหมือนโคตรของคนจัณฑาล เสียงของท่านมี
อยู่ แต่เสียงของท่านเหมือนเสียงขอกา ดังนี้.

อธิมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ


คำว่า อปฺปตฺเต ปตฺตสญฺญิตา (แปลว่า ความสำคัญว่าถึงแล้วใน
ธรรมที่ตนยังไม่ถึง) ได้แก่ มีความสำคัญว่าถึงสัจจะ 4 อันตนยังไม่บรรลุว่า
บรรลุแล้ว. คำว่า อกเต (แปลว่า ในกิจที่ยังไม่ได้ทำ) ได้แก่ มีความสำคัญ
ในกิจที่ตนพึงกระทำ อันมรรค 4 ยังมิได้กระทำ. ว่า อนธิคเต (แปลว่า...
ในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ) ได้แก่ยังไม่บรรลุสัจธรรมทั้ง 4. คำว่า อสจฺฉิกเต
(แปลว่า ในธรรมที่ตนยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง) ได้แก่ ธรรมอันอรหัตมรรค
ยังมิได้กระทำให้แจ้ง. คำว่า อยํ วุจฺจติ อธิมาโน ได้แก่ บุคคลนี้พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ผู้มีความสำคัญว่าตนได้บรรลุธรรมวิเศษ.
ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษนี้ ย่อมเกิดแก่ใคร
ย่อมไม่เกิดแก่ใคร.
ตอบว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวก ก่อน. จริงอยู่ พระอริย-
สาวกนั้น มีโสมนัส (ความพอใจ) อันเกิดขึ้นดีแล้วในขณะแห่งการพิจารณา
มรรค ผล นิพพาน กิเลส ที่ท่านละแล้วและยังมิได้ละทีเดียว ไม่มีการสงสัย
ในการแทงตลอด (ในปฏิเวธ) ซึ่งเป็นอริยคุณ เพราะฉะนั้น ความสำคัญ
ตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดแก่พระโสดาบันเป็นต้น ด้วยอำนาจ
แห่งความสำคัญว่า เราเป็นพระสกทาคามี เป็นต้น.
ความสำคัญตนว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่
บุคคลผู้ทุศีล. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลนั้นไม่มีความปรารถนาในการ
บรรลุอริยคุณเลย. ความสำคัญตน ย่อมไม่เกิดขึ้นแม้แก่บุคคลผู้มี