เมนู

วาจาแสวงหาลาภ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า พูดติเตียน
(อุบายโกง) ดังนี้.

ลาเภนลาภังนิชิคิงสนตานิทเทส


อธิบาย การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ


การแสวงหา (ด้วยอำนาจแห่งความอยาก) ชื่อว่า การมุ่งลาภสักการะ
และชื่อเสียง. คำว่า อิโต ลทฺธํ ได้แก่ลาภ สักการะ ชื่อเสียง อันตนได้
แล้วจากบ้านนี้. คำว่า อมุตฺรา ได้แก่ ในบ้านชื่อโน้น. คำว่า เอฏฺฐิ
ได้แก่ การปรารถนา. คำว่า คเวฏฐิ ได้แก่ การเสาะหา. คำว่า ปริเยฏฺฐิ
ได้แก่ การแสวงหาบ่อย ๆ. ก็ในเรื่องนี้ บัณฑิตพึงกล่าว เรื่องของภิกษุผู้ให้
ภิกษาอันตนได้แล้ว ๆ จำเดิมแต่ต้น แก่ทารกในตระกูล ในที่นั้น ๆ แล้วจึง
ได้น้ำนมและข้าวยาคูในที่สุด แล้วจึงไป. คำว่า เอสนา เป็นต้น เป็นคำ
ไวพจน์ของคำว่าความปรารถนาเป็นต้น เพราะฉะนั้นในที่นี้พึงทราบการประ-
กอบ อย่างนี้ว่า คำว่า เอฏฺฐิ ได้แก่ กิริยาที่หา. คำว่า คเวฏฺฐิ ได้แก่
กิริยาที่เที่ยวหา. คำว่า ปริเยฏฺฐิ ได้แก่ กิริยาที่เที่ยวแสวงหาดังนี้.

เสยยมานนิทเทส


อธิบาย ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา


คำว่า ชาติยา (แปลว่า โดยชาติ) ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยชาติมีความ
เป็นกษัตริย์ เป็นต้น. คำว่า โคตฺเตน (โดยโคตร) ได้แก่ ด้วยโคตรอัน
สูงสุด มีโคตมโคตรเป็นต้น. คำว่า โกลปุตฺติเยน (โดยความเป็นผู้มีสกุล)
ได้แก่ ด้วยความเป็นตระกูลใหญ่ คำว่า วณฺณโปกฺขรตาย (โดยความเป็น