เมนู

กุหนานิทเทส


อธิบาย ความหลอกลวง


คำว่า ลาภสกฺการสิโลกสนฺนิสฺสิตสฺส (แปลว่า สภาพที่หลอก
ลวงของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง) อธิบายว่า ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น
ต้องการลาภ สักการะ และสรรเสริญ จึงปรารถนาเช่นนั้น . คำว่า ปาปิจฺฉสฺส
(แปลว่า ผู้ปรารถนาลามก) ได้แก่ ภิกษุผู้ใคร่แสดงความดีอันตนไม่มีอยู่.
คำว่า อิจฺฉาปกตสฺส (แปลว่า ถูกความอยากครอบงำแล้ว) อธิบายว่า ภิกษุ
นั้นถูกความอยากอันมิใช่ธรรมดาทำให้เดือดร้อนแล้ว.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบ กุหนวัตถุ (เรื่องความหลอกลวง) 3
อย่าง อันมาในมหานิทเทส ด้วยสามารถแห่งภิกษุผู้หลอกลวงโดยมุ่งเสพปัจจัย
1 ความหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง 1 และความหลอกลวงด้วยการอาศัย
ซึ่งอิริยาบถ 1 เพราะฉะนั้นเพื่อแสดงความหลอกลวงแม้ทั้ง 3 นั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า ปจฺจยปฏิเสวนสงฺขาเตน วา (แปลว่า ด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัย) เป็นต้น ดังนี้.
ในข้อนั้น พึงทราบเรื่องความหลอกลวง (กุหนวัตถุ) กล่าวด้วยการ
ซ่องเสพปัจจัยทำอุบายเป็นเหตุให้ทายกน้อมปัจจัยมาแม้ตั้งเล่มเกวียน จำเดิมแต่
การปฏิเสธ เพราะอาศัยความปรารถนาลามกของภิกษุผู้อันความอยากครอบงำ
ผู้อันทายกนิมนต์ด้วยจีวรเป็นต้นเมื่อทายกนั้นน้อมถวายจีวรเป็นต้น อันประ-
ณีต ด้วยวิธีต่าง ๆ ว่า โอ พระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนาน้อย ย่อมไม่
ต้องการเพื่อจะรับอะไร ๆ ก็ถ้าท่านพึงรับอะไร ๆ แม้สักเล็กน้อย นั่นเป็นการ
ที่พวกเราได้ดีแล้วหนอ ดังนี้ เพราะเธอรู้ว่าคหบดีเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธาตั้ง
มั่นดีแล้วในตน จึงกระทำให้แจ้งเพื่อประสงค์จะอนุเคราะห์คหบดีนั้น ดังนี้.