เมนู

วิปัสสนา. คำว่า อรติ เป็นคำปฏิเสธความยินดี. อาการแห่งความไม่ยินดี
ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดี. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า สภาพที่ไม่
ยินดียิ่ง. อาการแห่งความไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง. อาการแห่ง
บุคคลผู้กระวนกระวาย ชื่อว่า ความกระวนกระวายใจ. คำว่า ปริตสฺสิตา ได้
แก่ ความเป็นผู้สะดุ้งด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้กระวนกระวายใจ.

ตันทีนิทเทส


อธิบาย ความโงกง่วง


ความเกียจคร้านชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ตันที (คือความง่วง หรือความ
ประมาท). อาการแห่งความเป็นผู้โงกง่วง ชื่อว่า กิริยาที่โงกง่วง. คำว่า
ตนฺทิมนกตา ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตอันความเกียจคร้านครอบงำแล้ว . ความ
เป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า สภาพที่จิตโงกง่วง. อาการแห่งบุคคลผู้
เกียจคร้าน ชื่อว่า กิริยาแห่งความโงกง่วง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้เกียจคร้าน
ทางกายด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้
ทั้งหมด ดังนี้.

วิชัมภิตานิทเทส


อธิบาย ความบิดกาย


ความให้กายไหวเอี้ยวไป ชื่อว่า ความบิดกาย. ความบิดกายบ่อยๆ
(ในท่าต่าง ๆ) เรียกว่าความเหยียดกาย. คำว่า อานมนา (แปลว่า ความ
โน้มกาย) ได้แก่ ความโน้มกายไปข้างหน้า. คำว่า วินมนา (แปลว่า ความ
โน้มกายไปข้างหลัง) ได้แก่ความเอนกายไปข้างหลัง. คำว่า สนฺนมนา ได้แก่

ความโน้มกายไปรอบๆ. ในคำว่า ความน้อมกายให้ตรง นี้ เหมือนอย่างว่า
ช่างหูกผู้ขยัน จับถือซึ่งอะไร ๆ นั่นแหละแต่เส้นด้าย แล้วก็ตั้งกายให้ตรง
ฉันใด การยกกายขึ้นเบื้องบน ก็ฉันนั้น. คำว่า พยาธิยกํ (แปลว่า ความ
ไม่สบายกาย) ได้แก่ ความที่บุคคลนั้นมีพยาธิเกิดขึ้นแล้ว. ความบิดกายนั่น
แหละด้วยสามารถแห่งกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้ง
หมดด้วยประการฉะนี้.

ภัตตสัมมทนิทเทส


อธิบายความเมาอาหาร


คำว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ของผู้บริโภคอาหาร. ความไม่สบายเนื่อง
จากกินอาหาร ชื่อว่า ความอึดอัดเพราะอาหาร. จริงอยู่ บุคคลย่อมเป็นราวกะ
ว่าถึงความซบเซาเพราะอาหารมีกำลัง (มาก). ความเป็นแห่งผู้ลำบากเพราะ
อาหาร ชื่อว่า ความเป็นผู้กระวนกระวายเพราะอาหาร. ความกระวนกระวาย
เพราะอาหาร ชื่อว่า ความเร่าร้อนเพราะอาหาร. จริงอยู่ ในสมัยนี้ บุคคลนั้น
ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีอินทรีย์อันอาหารขจัดแล้ว โดยให้ความเร่าร้อนเกิดขึ้น คือ
ย่อมทำให้ร่างกายทรุดโทรม. คำว่า กายทุฏฺฐุลฺลํ (แปลว่า ความเป็นผู้หนัก
เนื้อหนักตัวเพราะอาหาร) ได้แก่ ความเป็นผู้มีร่างกายอันไม่ควรแก่การงาน
(คือ ไม่คล่องแคล่ว) เพราะอาศัยอาหาร.
นิทเทสแห่งความเป็นผู้ย่อหย่อนแห่งจิต มีเนื้อความดังกล่าวไว้ใน
อรรถกถาแห่งธัมมสังคหะในหนหลังนั่นแหละ. และพึงทราบอาการแห่งความ
ป่วยไข้ด้วยสามารถแห่งกิเลส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยบทเหล่า
นี้แม้ทั้งหมด ดังนี้.