เมนู

ชื่อว่า ความประพฤติขัดขืน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพ
ที่ไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อก็เหมือนกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่คารวะ
ชื่อว่า ความไม่เคารพ. ความเป็นผู้ไม่ทำตามคำของผู้เจริญ (หัวหน้า) ชื่อว่า
ความไม่เชื่อฟัง. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียก ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติไม่สมควร อธิบายว่า ความเป็นผู้มีชีวิตอันไม่
เหมาะสมดังนี้. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชีวิตอยู่อันไม่สมควรใด คือ
ย่อมไม่ปฏิบัติเหลียวแลเลี้ยงดูมารดาหรือบิดาผู้ป่วยไข้ ย่อมทำการทะเลาะกับ
บิดามารดาเพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมทะเลาะกับพีชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว
เพราะเหตุแห่งทรัพย์ของมารดาบิดา ย่อมกล่าววาจาหมดยางอาย (หน้าด้าน)
ย่อมไม่ทำวัตรและวัตรอาศัยต่ออาจารย์ ต่ออุปัชฌาย์ ไม่อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ
ย่อมถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะในสถานที่เป็นที่เคารพแห่งพระเจดีย์ของพระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมถ่มเขฬะบ้าง สั่งน้ำมูกบ้าง ย่อมกั้นร่ม
ย่อมเดินใส่รองเท้าเข้าไป ย่อมไม่ละอายในพระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่
เคารพยำเกรงในสงฆ์ ย่อมไม่ยังหิริโอตตัปปะให้ตั้งขึ้นในที่อันควรเคารพใน
บุคคลทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้น. การทำอย่างนี้แม้ทั้งปวงในวัตถุ
ทั้งหลายและในบุคคลมีมารดาเป็นต้น ของผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า
ความประพฤติไม่สมควร.

อรตินิทเทส


อธิบาย ความไม่ยินดี


คำว่า ปนฺเตสุ แปลว่า ในเสนาสนะอันสงัด อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่
เสนาสนะอันสงัดอันอยู่ในที่ไกล. คำว่า อธิกุสเลสุ ได้แก่ สมถะและ