เมนู

ต้นเครือเถาที่เป็นยา มีต้นบรเพ็ด เถาหัวด้วน ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเถาวัลย์
เน่านั่นแหละ ฉันใด กายมนุษย์แม้มีสีเพียงดั่งสีแห่งทองพระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมตรัสเรียกว่า กายอันเปื่อยเน่านั้น ด้วยเครื่องอาภรณ์มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น
อันมีสีแดงสีเหลืองเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่ง. คำว่า พาหิรานํ วา ปริกฺ-
ขารํ
(แปลว่า หรือว่าการตกแต่งบริขารภายนอก) ได้แก่ การตกแต่งบริขาร
ที่เหลือนอกจากบาตรและจีวร.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า การตก-
แต่งจีวร การตกแต่งบาตร นี้อันใด การตกแต่งกายด้วยบริขารเหล่านั้น หรือ
ว่า การตกแต่งบริขารภายนอกจากกาย ก็เรียกว่าการตกแต่ง ด้วยสามารถแห่ง
ชื่อตามที่ตั้งไว้สำหรับเรียก. ในคำว่า มณฺฑนา วิภูสนา นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
มัณฑนา
(การแต่งกาย) ด้วยสามารถแห่งการยังที่อันบกพร่องให้เต็ม ชื่อว่า
วิภูสนา
(การประดับ) ด้วยสามารถแห่งการประเทืองผิว เป็นต้น. คำว่า
เกฬนา ได้แก่การเล่นที่ร่าเริง. คำว่า ปริเกฬนา ได้แก่การร่าเริง. ความ
เป็นแห่งจิตที่หวั่นไหว ชื่อว่า สภาพที่หวั่นไหว. ความเป็นแห่งบุคคล
ผู้ชอบตกแต่ง ก็อย่างนั้น. คำว่า อิทํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้หวั่นไหวไปเพราะชอบตกแต่ง. บุคคลผู้ประกอบด้วย
การตกแต่งใด บุคคลนั้นแม้มีอายุตั้งร้อยปี ก็ย่อมเป็นราวกะทารกผู้เกิดใน
วันนั้น ดังนี้.

อสภาควุตตินิทเทส


อธิบาย ความประพฤติไม่สมควร


ความประพฤติไม่คล้อยตามพระพุทธพจน์ ชื่อว่า ความประพฤติไม่
สมควร.
วิถีทางแห่งความสุข โดยการกระทำให้ขัดแย้งอันเป็นข้าศึกต่าง ๆ

ชื่อว่า ความประพฤติขัดขืน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ชื่อว่า สภาพ
ที่ไม่เอื้อเฟื้อ กิริยาที่ไม่เอื้อเฟื้อก็เหมือนกัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่คารวะ
ชื่อว่า ความไม่เคารพ. ความเป็นผู้ไม่ทำตามคำของผู้เจริญ (หัวหน้า) ชื่อว่า
ความไม่เชื่อฟัง. คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียก ชื่อว่า ผู้มีความประพฤติไม่สมควร อธิบายว่า ความเป็นผู้มีชีวิตอันไม่
เหมาะสมดังนี้. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชีวิตอยู่อันไม่สมควรใด คือ
ย่อมไม่ปฏิบัติเหลียวแลเลี้ยงดูมารดาหรือบิดาผู้ป่วยไข้ ย่อมทำการทะเลาะกับ
บิดามารดาเพราะทรัพย์สมบัติ ย่อมทะเลาะกับพีชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว
เพราะเหตุแห่งทรัพย์ของมารดาบิดา ย่อมกล่าววาจาหมดยางอาย (หน้าด้าน)
ย่อมไม่ทำวัตรและวัตรอาศัยต่ออาจารย์ ต่ออุปัชฌาย์ ไม่อุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธ
ย่อมถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะในสถานที่เป็นที่เคารพแห่งพระเจดีย์ของพระผู้มี
พระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมถ่มเขฬะบ้าง สั่งน้ำมูกบ้าง ย่อมกั้นร่ม
ย่อมเดินใส่รองเท้าเข้าไป ย่อมไม่ละอายในพระสาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่
เคารพยำเกรงในสงฆ์ ย่อมไม่ยังหิริโอตตัปปะให้ตั้งขึ้นในที่อันควรเคารพใน
บุคคลทั้งหลายมีมารดาและบิดาเป็นต้น. การทำอย่างนี้แม้ทั้งปวงในวัตถุ
ทั้งหลายและในบุคคลมีมารดาเป็นต้น ของผู้ประพฤติอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า
ความประพฤติไม่สมควร.

อรตินิทเทส


อธิบาย ความไม่ยินดี


คำว่า ปนฺเตสุ แปลว่า ในเสนาสนะอันสงัด อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่
เสนาสนะอันสงัดอันอยู่ในที่ไกล. คำว่า อธิกุสเลสุ ได้แก่ สมถะและ