เมนู

ต้นเครือเถาที่เป็นยา มีต้นบรเพ็ด เถาหัวด้วน ย่อมถึงซึ่งการนับว่าเถาวัลย์
เน่านั่นแหละ ฉันใด กายมนุษย์แม้มีสีเพียงดั่งสีแห่งทองพระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมตรัสเรียกว่า กายอันเปื่อยเน่านั้น ด้วยเครื่องอาภรณ์มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น
อันมีสีแดงสีเหลืองเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่ง. คำว่า พาหิรานํ วา ปริกฺ-
ขารํ
(แปลว่า หรือว่าการตกแต่งบริขารภายนอก) ได้แก่ การตกแต่งบริขาร
ที่เหลือนอกจากบาตรและจีวร.
อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า การตก-
แต่งจีวร การตกแต่งบาตร นี้อันใด การตกแต่งกายด้วยบริขารเหล่านั้น หรือ
ว่า การตกแต่งบริขารภายนอกจากกาย ก็เรียกว่าการตกแต่ง ด้วยสามารถแห่ง
ชื่อตามที่ตั้งไว้สำหรับเรียก. ในคำว่า มณฺฑนา วิภูสนา นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
มัณฑนา
(การแต่งกาย) ด้วยสามารถแห่งการยังที่อันบกพร่องให้เต็ม ชื่อว่า
วิภูสนา
(การประดับ) ด้วยสามารถแห่งการประเทืองผิว เป็นต้น. คำว่า
เกฬนา ได้แก่การเล่นที่ร่าเริง. คำว่า ปริเกฬนา ได้แก่การร่าเริง. ความ
เป็นแห่งจิตที่หวั่นไหว ชื่อว่า สภาพที่หวั่นไหว. ความเป็นแห่งบุคคล
ผู้ชอบตกแต่ง ก็อย่างนั้น. คำว่า อิทํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ความเป็นผู้หวั่นไหวไปเพราะชอบตกแต่ง. บุคคลผู้ประกอบด้วย
การตกแต่งใด บุคคลนั้นแม้มีอายุตั้งร้อยปี ก็ย่อมเป็นราวกะทารกผู้เกิดใน
วันนั้น ดังนี้.

อสภาควุตตินิทเทส


อธิบาย ความประพฤติไม่สมควร


ความประพฤติไม่คล้อยตามพระพุทธพจน์ ชื่อว่า ความประพฤติไม่
สมควร.
วิถีทางแห่งความสุข โดยการกระทำให้ขัดแย้งอันเป็นข้าศึกต่าง ๆ