เมนู

ตินติณนิทเทส


อธิบาย การพูดเกียดกัน


คำว่า ตินฺติณํ ได้แก่ การพูดติเตียน หรือพูดเกียดกัน. อาการ
แห่งความประพฤติเกียดกัน เรียกว่ากิริยาที่พูดเกียดกัน. ความเป็นแห่งบุคคล
ผู้พรั่งพร้อมด้วยความเกียดกันของผู้พูดด้วยความเกียดกัน ชื่อว่าสภาพที่เกียด
กัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ละโมบ ชื่อว่า สภาพที่ละโมบ. คำนอกจากนี้
เป็นคำอธิบายความเป็นแห่งกิริยาอาการของคำพูดเกียดกัน. คำว่าปุจฺฉญฺชิกตา
ได้แก่ ความหวั่นไหวของการเสวยอารมณ์ในฐานะแห่งประโยชน์ที่ควรได้
หรือไม่ควรได้ ท่านเรียกว่า ความประพฤติถ่อมตน. คำว่า สาธุกมฺยตา
ได้แก่ ความปรารถนาที่จะได้สิ่งอันประณีตยิ่งขึ้นไป. ท่านกล่าวอาการเกียดกัน
ไว้ ด้วยสามารถแห่งกิเลสด้วยบททั้งปวง โดยหมายเอาว่า วัตถุของผู้อื่นเป็น
ราวกะว่าเป็นของตน เช่นกับการเห่าของสุนัขที่กำลังดื่มน้ำข้าวที่รางน้ำข้าว
เพราะเห็นสุนัขอื่นมา ดังนี้.

จาปัลยนิทเทส


อธิบาย การชอบตกแต่ง


การตกแต่งจีวร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการทำให้เรียบร้อยเป็นกลีบเป็นต้น
ชื่อว่า การตกแต่งจีวร. การตกแต่งบาตร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการกระทำให้
มีผิวหมดจดดังสีแห่งแก้วมณี ชื่อว่า การตกแต่งบาตร. การตกแต่งเสนาสนะ
อันเป็นของเฉพาะบุคคล ด้วยจิตรกรรมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งเสนาสนะ.
คำว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส (แปลว่าการตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า) ได้แก่
การตกแต่งกายของมนุษย์นี้ เหมือนอย่างว่า สุนัขจิ้งจอก แม้เกิดในวันนั้น
ถึงกระดูกขายังอ่อนอยู่ก็ตาม เขาก็เรียกกันว่า สุนัขจิ้งจอกแก่นั่นแหละ และ

1. บาลีว่า ปุญฺจิกตา, ม. ปุจฺฉญฺชิกตา