เมนู

คิดว่า เราจักเฝ้าจับดูภิกษุนี้ ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้นอยู่
ดังนี้ ในวันหนึ่ง เขาเห็นที่เป็นที่ภิกษุนั้น ก้าวลงตามรากต้นไทร จึงตัด
รากไทรนั้นข้างหลัง เหลือไว้เล็กน้อย. ภิกษุผู้หลอกลวงนั้น คิดว่า เราจัก
จับรากไทรก้าวลงไป จึงจับรากไทรนั้น ทีนั้น ก็หล่นลงไปที่ดินเหนียว
บอบช้ำแล้ว เธอทราบว่า ใคร ๆ ทราบเรื่องของตนแล้ว จึงหนีออกไป ดังนี้.
ความเป็นแห่งบุคคลผู้ปรารถนาลามก ชื่อว่า สภาพลามก ก็เมื่อว่า
โดยลักษณะแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ความที่บุคคลนั้น ยังบุคคลอื่นให้สรร
เสริญความดีอันไม่มีอยู่และความที่ตนเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ข้อนี้
เป็นลักษณะของความเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ดังนี้.

สิงคนิทเทส


อธิบาย การพูดทิ่มแทง


ชื่อว่า สิงคะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องทิ่มแทง. เครื่องทิ่มแทงนี้
เป็นชื่อของการทิ่มแทงเพราะกิเลส กล่าวคือ ความที่วาจานั้นเป็นเครื่องทิ่มแทง
ชองชาวเมือง. ความเป็นแห่งวาจาเป็นเครื่องทิ่มแทง ชื่อว่าสภาพแห่งวาจาเป็น
เครื่องทิ่มแทง อีกอย่างหนึ่ง อาการเป็นเครื่องพูดทิ่มแทง ก็ชื่อว่า สภาพที่พูด
ทิ่มแทง. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นสีเหลียม ชื่อว่า การพูดเป็นสีเหลี่ยม.
การพูดเป็นสี่คมก็อย่างนั้น. ความเป็นแห่งบุคคลผู้พูดเป็นเหลี่ยมเป็นคู ชื่อว่า
สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู. คำนี้ เป็นชื่อของความเป็นของบุคคลผู้ชำนาญการ
พูดทิ่มแทง ซึ่งตระเตรียมไว้ก่อนนั่นแหละ (เช่นกับขุดบ่อล่อปลา) คำนอก
นี้เป็นไวพจน์ของคำพูดทิ่มแทงทั้งนั้น. การพูดทิ่มแทงด้วยอำนาจแห่งกิเลส
ท่านกล่าวไว้ด้วยบทแม้ทั้งหมด ด้วยอาการอย่างนี้.

ตินติณนิทเทส


อธิบาย การพูดเกียดกัน


คำว่า ตินฺติณํ ได้แก่ การพูดติเตียน หรือพูดเกียดกัน. อาการ
แห่งความประพฤติเกียดกัน เรียกว่ากิริยาที่พูดเกียดกัน. ความเป็นแห่งบุคคล
ผู้พรั่งพร้อมด้วยความเกียดกันของผู้พูดด้วยความเกียดกัน ชื่อว่าสภาพที่เกียด
กัน. ความเป็นแห่งบุคคลผู้ละโมบ ชื่อว่า สภาพที่ละโมบ. คำนอกจากนี้
เป็นคำอธิบายความเป็นแห่งกิริยาอาการของคำพูดเกียดกัน. คำว่าปุจฺฉญฺชิกตา
ได้แก่ ความหวั่นไหวของการเสวยอารมณ์ในฐานะแห่งประโยชน์ที่ควรได้
หรือไม่ควรได้ ท่านเรียกว่า ความประพฤติถ่อมตน. คำว่า สาธุกมฺยตา
ได้แก่ ความปรารถนาที่จะได้สิ่งอันประณีตยิ่งขึ้นไป. ท่านกล่าวอาการเกียดกัน
ไว้ ด้วยสามารถแห่งกิเลสด้วยบททั้งปวง โดยหมายเอาว่า วัตถุของผู้อื่นเป็น
ราวกะว่าเป็นของตน เช่นกับการเห่าของสุนัขที่กำลังดื่มน้ำข้าวที่รางน้ำข้าว
เพราะเห็นสุนัขอื่นมา ดังนี้.

จาปัลยนิทเทส


อธิบาย การชอบตกแต่ง


การตกแต่งจีวร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการทำให้เรียบร้อยเป็นกลีบเป็นต้น
ชื่อว่า การตกแต่งจีวร. การตกแต่งบาตร ด้วยวัตถุทั้งหลายมีการกระทำให้
มีผิวหมดจดดังสีแห่งแก้วมณี ชื่อว่า การตกแต่งบาตร. การตกแต่งเสนาสนะ
อันเป็นของเฉพาะบุคคล ด้วยจิตรกรรมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งเสนาสนะ.
คำว่า อิมสฺส วา ปูติกายสฺส (แปลว่าการตกแต่งกายอันเปื่อยเน่า) ได้แก่
การตกแต่งกายของมนุษย์นี้ เหมือนอย่างว่า สุนัขจิ้งจอก แม้เกิดในวันนั้น
ถึงกระดูกขายังอ่อนอยู่ก็ตาม เขาก็เรียกกันว่า สุนัขจิ้งจอกแก่นั่นแหละ และ

1. บาลีว่า ปุญฺจิกตา, ม. ปุจฺฉญฺชิกตา