เมนู

สุดแม้สักว่าการอยู่ป่าเป็นวัตรของตน แม้มีประมาณน้อย แต่เป็นผู้ใคร่เพื่อ
ยังมหาชน ผู้รู้อยู่นั้นให้ส่งเสริมตน. ก็แลบุคคลเช่นนี้ ครั้นเมื่อมหาชน
ส่งเสริมตน น้อมปัจจัยทั้งหลายแม้ตั้งเล่มเกวียนมาให้ ก็ไม่พอ ไม่กล่าวห้าม
ว่า อย่าเลย ย่อมถือเอาเทียว. จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อยังสิ่งทั้ง 3 ให้
อิ่ม ให้เต็ม คือ ไฟ ย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ สมุทร ย่อมไม่อิ่มเต็มด้วยน้ำ
บุคคลผู้มีความอยากใหญ่ ผู้หิวกระหาย ย่อมไม่อิ่มไม่พอด้วยปัจจัยทั้งหลาย
ดังนี้.
อคฺคิกฺขนโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล
พหุเก ปจฺจเย เทนฺเต ตโยเปเต น ปูรเย.

แปลว่า
สิ่งทั้ง 3 เหล่านี้ คือ กองไฟ 1 มหาสมุทร 1
บุคคลผู้มักมาก 1 เมื่อใคร ๆ ให้ปัจจัยทั้งหลายแม้
มากมาย ก็ไม่พึงให้อิ่มให้เต็มได้.

จริงอยู่บุคคลผู้มักมาก แม้แต่มารดาผู้ให้กำเนิด ก็ไม่อาจเพื่อถือ
เอาใจของเขาไว้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้เป็นอุปัฏฐากเล่า ในข้อนี้ มี
เรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์:-

เรื่องภิกษุหนุ่ม


ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ย่อมติดใจในขนมทำด้วยแป้ง ลำดับนั้น
มารดาของภิกษุนั้น เมื่อจะทดลองข้อปฏิบัติของบุตรดูว่า ถ้าว่า บุตรของเรา
ย่อมรู้ประมาณในการรับไซร้ เราจักบำรุงด้วยขนมทั้งหลายตลอดไตรมาส

ดังนี้ จึงเริ่มทดลองในวันใกล้ฤดูฝน ครั้งแรกได้ถวายขนมชิ้นหนึ่ง เมื่อขนม
ชิ้นนั้นหมดแล้ว จึงถวายชิ้นที่ 2 เมื่อขนมชิ้นที่ 2 หดแล้ว จึงถวายขนม
ชิ้นที่ 3 ภิกษุหนุ่มไม่ห้ามว่า พอละ เคี้ยวกินอยู่นั่นแหละ มารดาทราบซึ่ง
ความที่ภิกษุลูกชายนั้นไม่รู้จักประมาณ จึงกล่าวว่า ขนมของไตรมาสทั้งสิ้น
บุตรของเราเคี้ยวกินหมดแล้วในวันนี้แหละ ดังนี้ ตั้งแต่วันนั้นมาไม่ได้ถวาย
อีกแม้สักชิ้นหนึ่ง.
แม้พระเจ้าติสสมหาราช เมื่อถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพต
ทุก ๆ วัน ผู้อันชาวชนบทกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์ย่อมเสพเฉพาะ
ที่แห่งเดียวเท่านั้นหรือ (ถวายทานแห่งเดียว) การถวายทานในที่อื่น ย่อมไม่
สมควรแก่พระองค์หรือ ดังนี้ ในวันที่ 2 แต่วันนั้น จึงให้ถวายมหาทานใน
เมืองอนุราธบุรี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่รู้จักประมาณในการ
รับ ชนทั้งหลาย 2-3 คน ทิ้งขว้างซึ่งขาทนียะโภชนียะที่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ รับไป
แล้ว. พระราชาให้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ที่เจติยบรรพตในวันที่สอง แล้วตรัสว่า
ท่านทั้งหลายจงให้บาตรในเวลาที่ท่านทั้งหลายมาสู่พระราชวัง ดังนี้ แม้ภิกษุ
รูปหนึ่ง ก็มิได้ให้บาตร ด้วยคำว่า อย่าเลยมหาราช ภิกษุทั้งหลายจักรับ
ภิกษาโดยประมาณของตนเท่านั้น ดังนี้. ภิกษุทั้งปวงรับซึ่งภิกษาอันสมควร
แก่ประมาณของตนนั้นแหละ. ลำดับนั้น พระราชาตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จง
ดูภิกษุเหล่านี้ ในบรรดาภิกษุทั้งหลาย แม้รูปหนึ่ง ก็รู้ประมาณของตน. เมื่อ
วันวาน วัตถุอะไร ๆ ก็มิได้เหลือ แต่วันนี้ ภิกษุถือเอาน้อยพอประมาณแก่
ตน ของจึงเหลือมากมาย ดังนี้. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ผู้มีใจเป็นของ ๆ ตน
เพราะรู้จักประมาณ ส่วนภิกษุนอกนี้ ไม่มีใจเป็นของ ๆ ตน เพราะความเป็น
ผู้ไม่รู้จักประมาณ.

ปาปิจฉตานิทเทส


อธิบายความปรารถนาลามก


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอชนจงรู้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เป็นต้น ย่อมทำอาการ
อย่างไร คือ บุคคลนั้น ไม่มีศรัทธา ย่อมแสดงอาการว่า มีศรัทธา ผู้ทุศีล
เป็นต้น ย่อมแสดงอาการของผู้มีศีลเป็นต้น.
ถามว่า ย่อมแสดงอาการอย่างไร ?
ตอบว่า ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ในวันมีมหรสพ เธอจะถือเอาไม่กวาด
ปัดกวาดวิหารและทำการเทหยากเยื่อในเวลาที่พวกมนุษย์มาสู่วิหาร ครั้นทราบ
ว่า การกระทำของเธอ มนุษย์ทั้งหลายรู้แล้ว จึงไปสู่ลานพระเจดีย์ ย่อม
เทหยากเยื่อ ย่อมเกลี่ยทรายทำพื้นให้เสมอกัน ย่อมล้างอาสนะทั้งหลาย ย่อม
รดน้ำที่ต้นโพธิ์. มนุษย์ทั้งหลายเห็นเธอแล้วก็สำคัญว่า ภิกษุอื่นที่ปฏิบัติวิหาร
เห็นจะไม่มี ภิกษุนี้เท่านั้นเป็นพระเถระผู้มีศรัทธาปฏิบัติวิหารนี้อยู่ ดังนี้ จึง
นิมนต์ภิกษุนั้น เพื่อฉันอาหาร.
แม้ผู้ทุศีล ก็เข้าไปหาพระวินัยธร ย่อมถามในที่พร้อมหน้าแห่ง
อุปัฏฐากทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครั้นเมื่อกระผมเดินไป โคตกใจแล้ว
เมื่อกระผมปัดกวาดโคก็วิ่งเตลิดไป ทำให้หญ้าทั้งหลายขาดแล้ว เมื่อกระผม
จงกรมอยู่หญ้าทั้งหลายย่อมอับเฉา เมื่อกระผมบ้วนน้ำลายให้ตกไปตัวแมลง
เล็ก ๆ ย่อมตาย การให้น้ำลายตกไปที่หญ้าโดยไม่มีสติ โทษอะไรย่อมมีในที่
นั้น ขอรับ ดังนี้. เมื่อพระวินัยธรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อเราไม่รู้ ไม่
แกล้ง ไม่เจตนาฆ่าสัตว์ อาบัติย่อมไม่มี ดังนี้ แล้วกล่าวยกย่องพระวินัยธร
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สิ่งนี้ย่อมปรากฏแก่กระผม ราวกะว่าเป็นของหนัก ท่าน