เมนู

ของดาบสองค์หนึ่ง อธิษฐานองค์อุโบสถแล้วนอน. อำมาตย์นั้นถูกดาบสถามว่า
ท่านทำกรรมอะไรมา เขาจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
สกํ นิเกตํ อติเหฬยาโน ฯลฯ อตฺริจฺฉตา มา ปุนราคามาสิ
ดังนี้
แปลว่า ข้าพเจ้าเกลียดชังที่อยู่ของข้าพเจ้า ได้ไปสู่สถานที่อันเป็น
มลทิน ด้วยความโลภมาก ลำดับนั้น ชนทั้งหลายออกจากบ้านพากันมาโบยตี
ข้าพเจ้าด้วยเกาทัณฑ์ ข้าพเจ้านั้นมีศีรษะแตกแล้ว มีโลหิตโซมตัว จึงหนี
ออกมา เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงรักษาอุโบสถ ขอความปรารถนาอันเลวทราม
อย่าได้กลับมาหาข้าพเจ้าอีกเลย ดังนี้.

มหิจฉตานิทเทส


อธิบาย ความมักมาก หรือความหิวกระหาย


บุคคลใด ปรารถนาวัตถุทั้งหลายเกินประมาณ ก็หรือว่า ความอยาก
ของผู้นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความมักมาก (มี
ความหิวกระหาย). ความเป็นแห่งบุคคลผู้มีความมักมากนั้น ชื่อว่า สภาพ
ความมักมาก. ก็เมื่อว่าโดยลักษณะได้แก่ การไม่รู้จักประมาณในการรับ ใน
การบริโภค ก็เพราะการเจริญคุณอันไม่มีอยู่ นี้ชื่อว่า มีความอยากมากเป็น
ลักษณะ. จริงอยู่ บุคคลผู้อยากมาก (อยากใหญ่) มีความหิวกระหาย เปรียบ
เหมือน พ่อค้าหาบเร่ (กจฺฉปูฏวาณิชฺโช) ถือสินค้า เครื่องประดับด้วยมือ
และห้อยสิ่งที่ควรขายไว้ที่หน้าตัก แล้วกล่าวโฆษณาเชิญชวนมหาชนที่เห็นอยู่
นั่นแหละว่า แม่ จงถือเอาสิ่งชื่อโน้น ชื่อโน้น ดังนี้ ชื่อฉันใด ข้อนี้ก็ฉัน
นั้นนั่นแหละ คุณคือ ศีล หรือการศึกษาพระพุทธพจน์ หรือธุดงค์คุณ โดยที่

สุดแม้สักว่าการอยู่ป่าเป็นวัตรของตน แม้มีประมาณน้อย แต่เป็นผู้ใคร่เพื่อ
ยังมหาชน ผู้รู้อยู่นั้นให้ส่งเสริมตน. ก็แลบุคคลเช่นนี้ ครั้นเมื่อมหาชน
ส่งเสริมตน น้อมปัจจัยทั้งหลายแม้ตั้งเล่มเกวียนมาให้ ก็ไม่พอ ไม่กล่าวห้าม
ว่า อย่าเลย ย่อมถือเอาเทียว. จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อยังสิ่งทั้ง 3 ให้
อิ่ม ให้เต็ม คือ ไฟ ย่อมไม่อิ่มด้วยเชื้อ สมุทร ย่อมไม่อิ่มเต็มด้วยน้ำ
บุคคลผู้มีความอยากใหญ่ ผู้หิวกระหาย ย่อมไม่อิ่มไม่พอด้วยปัจจัยทั้งหลาย
ดังนี้.
อคฺคิกฺขนโธ สมุทฺโท จ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล
พหุเก ปจฺจเย เทนฺเต ตโยเปเต น ปูรเย.

แปลว่า
สิ่งทั้ง 3 เหล่านี้ คือ กองไฟ 1 มหาสมุทร 1
บุคคลผู้มักมาก 1 เมื่อใคร ๆ ให้ปัจจัยทั้งหลายแม้
มากมาย ก็ไม่พึงให้อิ่มให้เต็มได้.

จริงอยู่บุคคลผู้มักมาก แม้แต่มารดาผู้ให้กำเนิด ก็ไม่อาจเพื่อถือ
เอาใจของเขาไว้ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลผู้เป็นอุปัฏฐากเล่า ในข้อนี้ มี
เรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์:-

เรื่องภิกษุหนุ่ม


ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ย่อมติดใจในขนมทำด้วยแป้ง ลำดับนั้น
มารดาของภิกษุนั้น เมื่อจะทดลองข้อปฏิบัติของบุตรดูว่า ถ้าว่า บุตรของเรา
ย่อมรู้ประมาณในการรับไซร้ เราจักบำรุงด้วยขนมทั้งหลายตลอดไตรมาส