เมนู

ว่าด้วยความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า รูปร่างทรวดทรงของ
สัตว์ทั้งหลายที่เหลือ (เว้นเรา) มีรูปร่างแปลก ไม่น่าชม แต่เรามีรูปร่าง
น่าปลื้มใจ น่าเลื่อมใส ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรง
งาม.


ว่าด้วยความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์


มานะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความมัวเมาว่า ร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย
ที่เหลือ (เว้นเรา) มีโทษมาก แต่ของเราไม่มีโทษแม้สักเท่าปลายเส้นผม
ดังนี้ ชื่อว่า ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสมานะ (ความถือตัว) อันเป็นไปกับ
ด้วยวัตถุ (สวัตถุกะ) ด้วยฐานะนี้มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
มานะอันไม่มีวัตถุ (อวัตถุกะ) อันกำลังเกิดขึ้นนั่นแหละ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ตตฺถ กตฺโม มโท (แปลว่า ในคำเหล่านั้น ความมัวเมา เป็นไฉน) คำนั้น
มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

ปมาทนิทเทส


อธิบายความประมาท


คำว่า จิตฺตสฺส โวสฺสคฺโค (แปลว่า การปล่อยจิต) ได้แก่ การ
ปล่อยจิต เพราะความไม่ข่มไว้ด้วยสติ ในฐานะทั้งหลายเหล่านี้ มีประมาณ
เท่านี้ อธิบายว่า เว้นจากสติ. คำว่า โวสฺสคฺคานุปฺปทานํ แปลว่า การ
เพิ่มพูนการปล่อยจิตไป คือ การปล่อยจิตไปบ่อย ๆ. คำว่า อสกฺกจฺจกิริยตา

(แปลว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ) ได้แก่ ชื่อว่า ความกระทำโดยไม่เคารพ
ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำด้วยความเคารพ คือ การเจริญกุศล ธรรมทั้งหลาย มี
การให้ทานเป็นต้น หรือว่า ด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความเคารพต่อบุคคล
หรือว่า ต่อไทยธรรม. ความเป็นแห่งการกระทำโดยติดต่อกันไป ชื่อว่า
สาตัจจะ. ความไม่ทำโดยติดต่อกัน ชื่อว่า อสาตัจจะ. อาการที่ทำโดยไม่
ติดต่อกัน ชื่อว่า อสาตัจจกิริยตา. ความกระทำโดยไม่มั่นคง ชื่อว่า
อนัฏฐิตกิริยตา. ในข้อนี้ เปรียบเหมือนตัวกิ้งก่า วิ่งไปหน่อยหนึ่งแล้ว
หยุดหน่อยหนึ่ง ย่อมไม่วิ่งไปติดต่อกัน ฉันใด ข้อนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ
บุคคลใด ให้ทานครึ่งหนึ่ง (วันหนึ่ง) หรือทำการบุชาครั้งหนึ่ง หรือว่าพึง
ธรรมครั้งหนึ่ง ก็หรือว่าทำสมณธรรมครั้งหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ทำต่อไป ย่อม
ไม่ให้กุศลนั้น ๆ เป็นไปติดต่อกัน การทำนั้นของบุคคลนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้า ตรัสเรียกว่า ความกระทำไม่มั่นคง ดังนี้. คำว่า โอลีนวัตฺติตา (แปล
ว่า ความประพฤติย่อหย่อน) ได้แก่ ชื่อว่า ความประพฤติย่อหย่อน เพราะ
ไม่มีความประพฤติแผ่ออกไป กล่าวคือการกระทำไม่ให้ขาดระยะ. คำว่า
นิกฺขิตฺตฉนฺทตา (แปลว่า ความทอดทิ้งฉันทะ) ได้แก่ ความที่วิริยะฉันทะ
ในการทำกุศลเป็นสภาพอันเขาทิ้งเสียแล้ว. คำว่า นิกฺขิตฺตธุรํ (แปลว่า
ความทอดทิ้งธุระ) ได้แก่ การตัดธุระ คือ ตัดความเพียรออกไป อธิบายว่า
ความที่บุคคลนั้น มีฉันทะอันมีในใจ ทอดทิ้งเสียแล้ว. คำว่า อนธิฏฺฐานํ
(แปลว่า ความไม่ตั้งใจจริง) ได้แก่ ความไม่มีความตั้งใจเฉพาะในการกุศล.
คำว่า อนนุโยโค ได้แก่การไม่ประกอบความเพียรเนือง ๆ. ความ
เผลอสติ ชื่อว่า ความประมาท. ก็คำว่า โย เอวรูโป ปมาโท (แปลว่า ความ
ประมาท .. อันใด มีลักษณะเช่นนี้) นี้ เป็นการแสดงอาการโดยความไม่มี

ขอบเขตแห่งปริยายโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอธิบายไว้ว่า ความประมาทนี้ใด ที่แสดงแล้วแต่ต้น ความประมาทอันใด
แม้อื่นก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ กิริยาที่ประมาทด้วยสามารถแห่งอาการ
ที่มัวเมา (ก็ดี) สภาพที่ประมาทด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ปล่อยปละละเลย
(ก็ดี) ก็มีอาการอย่างนี้ มีชาติอย่างนี้ บุคคลนี้ ชื่อว่า มีความประมาท.
แต่เมื่อว่าโดยลักษณะ ความประมาทนี้ มีการสละสติในเพราะกามคุณ 5 เป็น
ลักษณะ (เป็นเหตุ). บัณฑิต พึงทราบความประมาทนั้นนั้นแหละว่า เป็น
อาการสละสติ ดังนี้.

ถัมภนิทเทส


อธิบายความหัวดื้อ


ชื่อว่า ความหัวดื้อ เพราะอรรถว่า กระด้าง. ความกระด้างของจิต
ราวกะผ้าเนื้อหยาบแข็งกระด้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ อาการแห่ง
ความหัวดื้อ เรียกว่า กิริยาที่หัวดื้อ. ความเป็นสภาพที่ดื้อแล้ว ชื่อว่า สภาพ
หัวดื้อ. ความเป็นแห่งบุคคลผู้กักขฬะ ชื่อว่า กกฺขลิยํ (แปลว่า แข็งกระด้าง).
ความเป็นแห่งบุคคลผู้หยาบช้า ชื่อว่า ผารุสิยํ (แปลว่า ความหยาบคาย)
ความเป็นแห่งจิตอันถือรั้นนั่นแหละด้วยสามารถแห่งการไม่ทำความอ่อนน้อม
นั้น แก่บุคคลผู้ควรอ่อนน้อมมีการอภิวาทเป็นต้น ชื่อว่า อุชุจิตตฺตา ความ
เป็นผู้มีจิตถือรั้น. ความเป็นแห่งความกระด้าง ไม่เป็นธรรมชาติอ่อน ชื่อว่า
อมุทุตา ความเป็นผู้ไม่อ่อนโยน. คำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ถมฺภ ความหัวดื้อ. อธิบายว่า บุคคลประกอบด้วยความหัวดื้อ
อันใด ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือมซึ่งกินเหยื่อแล้วก็นอนงอศีรษะดังงอนไถ ฉะนั้น.